ข้อมูลของบุนนาค


ชื่อวิทยาศาสตร์ Mcsua ferrea Linn.
ชื่ออื่นๆ ก๊าก่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กํ้าก่อ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ปะนาคอ (ปัตตานี) นาคบุตร (ใต้) สารภีดอย (เชียงใหม่)
ชื่ออังกฤษ Iron Wood, Indian Rose Chestnut.
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตรง ยอดอ่อนสีแดงรูปทรงพุ่มของต้นเป็นรูปสามเหลี่ยม โคนกว้าง ปลายยอดเป็นรูปแหลม ใบ เดี่ยวหนาทึบ ใบยาวเรียวแคบ เป็นรูปหอก ท้องใบมีสีนวลอมเทาเป็นมัน ใบ กว้าง 3-4 ซ.ม. ยาว 7-12 ซ.ม. ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 2-3 ดอก ดอกใหญ่ กลีบดอก สีขาวนวลบาง มีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้สีเหลืองมีเป็นจำนวนมาก กลีบรองดอกหนาแข็งและจะคงทนอยู่จนเป็นผล ผลรูปไข่ แข็ง
ส่วนที่ใช้ ดอกที่เริ่มบาน ผล เมล็ด
สารสำคัญ นํ้ามันหอมระเหย มีชื่อว่า “Oil of Nagkeshar” และมีสารที่ให้ความขม 2 ชนิด ชนิดหนึ่งมีชื่อว่า mesuol มีจำนวน 1% อีกชนิดหนึ่งชื่อ mesuone
ประโยชน์ทางยา ยาไทยใช้ดอก เข้าเกสรทั้ง 5 ทั้ง 7 ทั้ง 9 ดอกมีกลิ่นหอม มีรสฝาด ฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานบำรุงธาตุ เข้ายาลมบำรุงหัวใจ เข้าเครื่องหอม ยาแก้ไอขับเสมหะ และใช้ขับลม
ผล มีฤทธิ์ขับเหงื่อ และฝาดสมาน
เมล็ด บีบให้น้ำมัน ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง และโรคปวดข้อ
อื่นๆ นํ้ามันที่กลั่นจากดอก ใช้แต่งกลิ่นสบู่ มักใช้รวมกับน้ำมันจันทน์ (Sandal wood oil)
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ