ข้อมูลของมะนาวไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia Swing.
ชื่ออื่นๆ โกรยชะม้า (สุรินทร์) ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากฟ้า (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ชื่ออังกฤษ Lime, Common Lime.
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดเล็ก หรือไม้พุ่ม สูง 1.5-4 เมตร แตกกิ่งก้านสาขา ต้นกิ่งมีหนามแหลมคม ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยใบเดียว (unifoliate) มีครีบ (winged petiole) ขนาดเล็กมากผิดกับมะกรูดที่มีขนาดใหญ่ ใบมีกลิ่นหอมเนื่องจากมีต่อมนํ้ามันเป็นจำนวนมาก ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุกสีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผลกลมมีหลายขนาดแล้วแต่พันธุ์ เส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 3-4.5 ซ.ม. ผลเป็นชนิด hesperidium ภายในผล มีน้ำที่มีรสเปรี้ยวจัด
ส่วนที่ใช้ ผิวผล ผลแก่จัด เมล็ด ใบและราก
สารสำคัญ ผิวของผลมีนํ้ามันหอมระเหย ประกอบด้วย citral, limonene, linalool, linalyl acetate, terpineol และ cymene.
น้ำมะนาวมี citric acid และวิตามินซีสูง
ใบมีน้ำมันหอมระเหย มี coumarin, isopimpinellin
ประโยชน์ทางยา ผิวมะนาวที่ยังไม่สุก ใช้กลั่นให้นํ้ามันใช้แต่งกลิ่น
นํ้ามะนาว ใช้ป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิดและใช้ขับเสมหะ แก้อากา เจ็บคอ
ยาไทย ใบใช้ฟอกเลือด ต้มนํ้าอาบโดยใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เมล็ด คั่วให้เหลืองผสมเป็นยาขับเสมหะ ราก ใช้เป็นยาถอนพิษไข้
อื่นๆ นํ้ามะนาวแต่งรสอาหาร ทำเครื่องดื่ม
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ