ข้อมูลของโมกหลวง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Holarrhena antidysenterica Wall, ex A. DC.
ชื่ออื่นๆ โมกใหญ่ (กลาง) พุด (กาญจนบุรี) พุทธรักษา (เพชรบุรี) มูกมันน้อย มูกมันหลวง มูกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง (เหนือ) ยางพุด (เลย) หนามเนื้อ (เงี้ยว- พายัพ)
ชื่ออังกฤษ Kurchi, Easter Tree, Conessi Bark, Tellicherry Tree.
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 8-15 เมตร เปลือกเรียบ ทุกส่วนมีนํ้ายางสีขาว ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ ตรงข้าม รูปไข่ ปลายใบมน กว้าง 6-10 ซ.ม. ยาว 10-16 ซ.ม. ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ด้านล่างมีขนนุ่ม ดอกสีขาวเป็นช่อเล็กๆ กลิ่นหอม ช่อดอกมีขน กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแผ่ออกเป็น 5 แฉก ผลเป็นฝักออก 2 ฝักคู่ กว้าง 6-7 ม.ม. ยาว 20-30 ซ.ม. แก่จัดแตกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด ยาวประมาณ 15 ม.ม. มีขนสีนวลติดเป็นกระจุกที่ปลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ เปลือกด้น
สารสำคัญ มีอัลคาลอยด์ประมาณ 4.5% ประกอบด้วย conessine, kurchine, kurchicine และอื่นๆ ในใบพบ kurchamine, kurchessine และอื่นๆ
ประโยชน์ทางยา เปลือกแก้บิด ยาขมเจริญอาหาร ยาโบราณใช้ดอกขับพยาธิ kurchicine เป็นอัลคาลอยด์ทำให้สัตว์ทดลองเป็นอัมพาต ถ้าให้ในขนาด lethal dose แต่ถ้าขนาดน้อยจะทำให้ความดันขึ้นสูง เปลือกที่มีตัวยาสูง ต้องลอกจากต้น ที่มีอายุ 8-12 ปี
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ