ข้อแนะนำในการปลูกหญ้าแฝก

ข้อสังเกตทั่วไป

(1) แนวรั้วหญ้าแฝกที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ช่วยลดการไหลบ่าของกระแสนํ้าและทำให้ปริมาณนํ้าในดินเพิ่มขึ้นการไหลบ่าของกระแสนํ้าในหน้าแล้ง ทำให้มีการรักษาความชื้นใต้แนวรั้วแฝกได้ดีขึ้น

(2) มีตัวอย่างจำนวนมากที่แสดงว่า พื้นที่ซึ่งมีความลาดเอียง 5% ดินตะกอนจะถูกพัดพามาทับถมกันไว้ที่ด้านหลังแนวหญ้าแฝกหนาประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นประจำทุกปี

(3) นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและรักษาความชื้น หญ้าแฝกยังใช้เป็นหญ้าแห้งสำหรับเลี้ยงสัตว์ มุงหลังคาบ้าน ปกคลุมต้นไม้ รองนอนให้สัตว์ เป็นแนวต้านลม ป้องกันไหล่ถนน และใช้ทำไม้กวาด

(4) ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการระบายนํ้าให้แก่ การเพาะปลูกพืชบริเวณไหล่เขา อย่างเช่นแนวต้นยาสูบบนพื้นที่ลาดแบบขั้นบันได แนวรั้วหญ้าแฝก จะเป็นเครื่องป้องกันอย่างดีเยี่ยมไม่ให้เกิดการกัดเซาะ หากปลูกไว้ตามแนวระดับที่มีระยะห่างแน่นอนตายตัวตามไหล่เขา

(5) รากของต้นหญ้าแฝกส่วนใหญ่จะหยั่งลึกลงไปในดินอย่างน้อย 3 เมตร และรากส่วนอื่น ๆ จะงอกออกไปตามแนวพื้นที่กว้างไม่เกิน 50 เซน­ติเมตร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะดินตามแนวรั้วหญ้าแฝกมีปริมาณความชื้นสูง

(6) ในสภาวะที่มีฝนตกน้อย แนวรั้วหญ้าแฝก จะใช้เวลาเจริญเติบโตประมาณสามปีก็จะเกิดประสิทธิผลได้เต็มที่ หากปลูกต้นหญ้าแฝกแบบปักชำ ห่างกันต้นละ 10-15 เซนติเมตร แนวรั้วจะผนึกแน่นเร็วยิ่งขึ้น แม้บริเวณที่มีช่องโหว่ การกัดเซาะของน้ำระหว่างแนวต้นหญ้าแฝกจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร เพราะรากจะเกาะยึดในปีแรกเพื่อผนึกแน่นเป็นผนังใต้ผิวดิน

(7) ในกรณีที่หญ้าแฝกปลูกไว้ตามริมขอบที่ราบแบบขั้นบันได ที่ราบขั้นบันไดแบบลาดเอียงลงด้านหน้าจะดีกว่าแบบลาดเอียงไปด้านหลังเพราะว่า นํ้าที่ไหลบ่าออกทางช่องด้านหลังของที่ราบแบบขั้นบันไดจะถูกกันไว้ได้น้อยกว่า อีกทั้งเนื่องจากเราสามารถกระจายนํ้าออกทางช่องด้านหลังได้ และในบางกรณีกระจายออกทางช่องด้านหน้าซึ่งสร้างไว้ได้ทำให้มีพื้นดินเพิ่มขึ้นสำหรับการเพาะปลูก วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดควรเป็นการกระจายนํ้าด้วยการจัดทำพื้นที่ราบเป็นขั้นบันได โดยใช้แนวรั้วหญ้าแฝกในบริเวณที่สามารถทำได้เพื่อให้หน้าดินยังคงอยู่อย่างเดิมโดยไมถูกรบกวน

(8) จากการสังเกตพบว่า หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีปริมาณนํ้าฝนตั้งแต่ 200 ถึง 6,000 มิลลิเมตรต่อปี และที่ระดับพื้นดินซึ่งสูงจากน้ำทะเล ถึง 2,600 เมตร อีกทั้งยังสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ท่ามกลางหิมะและนํ้าค้างแข็ง ตลอดจนเจริญเติบโต ในดินเกือบทุกสภาพ แม้จะปรากฎอย่างชัดเจนว่า หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ดีกว่าในดินชื้นและอุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี แม้แต่ในสภาพที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หญ้าแฝกก็ยังคงเจริญเติบโตได้ดียิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าชนิดอื่น ๆ

(9) หญ้าแฝกในหลายประเทศเป็นโรคจุด สีน้ำตาล อย่างไรก็ตาม โรคชนิดนี้ดูเหมือนจะไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของหญ้าแฝกได้มีการ สังเกตพบโรคสนิมดำสองสามชนิด (Black Rust) แต่ไม่มีความสำคัญนัก ในประเทศอินเดีย โรคสนิม (The Rust) คูคล้ายกับจะเป็นลักษณะเฉพาะของหญ้าแฝก และไม่แพร่ระบาดติดต่อไปยังต้นไม้อื่นในประเทศจีน หญ้าแฝกจะถูกรบกวนจากหนอนเจาะไชลำต้น แต่ส่วนมากหนอนจะตายทันทีที่เจาะเข้าถึงในลำต้น โดยทั่วไปชาวนาไม่รู้สึกกังวลใจและมักจะแก้ปัญหา ด้วยการเลือกหาพืชที่ทนทานต่อโรคและสัตว์ที่มารบกวนได้ดีกว่า

(10) เมื่อไม่นานมานี้ผลทดลองบางประการที่ทำขึ้นทั้งบนดินอัลฟิซอลส์และดินเวอร์ติซอลส์ในประเทศอินเดีย (Alfisols & Vertisols) ชี้ให้เห็นว่าการ ไหลบ่าของปริมาณนํ้าฝนลดลง (Rainfall Runoff) จากร้อยละ 40 เหลือเพียงร้อยละ 15 (เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุม) และการสูญเสียดินตะกอนก็ลดลงจาก 25 ตันต่อพื้นที่ 1 เฮคตาร์ เหลือเพียง 6 ตันต่อหนึ่งเฮคตาร์ (สำหรับแนวรั้วหญ้าแฝกที่มีอายุสองปี บนพื้นที่ลาดเอียง 2%) จากการสาธิตครั้งหนึ่งพบว่า ระยะเวลาการเหี่ยวแห้งของหญ้าแฝกในดินอัลฟิซอลส์ เพิ่มขึ้นจากเจ็ดวันเป็นยี่สิบวัน เมื่อใช้มาตรการรักษาความชื้นในบริเวณแหล่งที่ปลูกนั้น

(11) ในประเทศจีน ได้มีการสังเกตพบวิธีการที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง คือ การถักกันหรือเชื่อมโยงใบหญ้าแฝกกับลำต้นของพืชที่อยู่ใกล้เคียงแม้จะแยกกันอยู่ เพื่อสร้างแนวป้องกันชั่วคราวจนกว่าแนวรั้วหญ้าแฝก จะก่อตัวแน่นหนาสมบูรณ์เต็มที่

(12) ค่าใช้จ่ายในการปลูกแนวรั้วหญ้าแฝกขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดหาต้นกล้าหญ้าแฝกสำหรับปลูกตลอดจนราคาของต้นกล้าดังกล่าวใน ประเทศอินเดีย ค่าใช้จ่ายแรกเริ่มของการสร้างแนวรั้วหญ้าแฝกประมาณ 8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อแนวรั้วยาว 100 เมตร ซึ่งจำนวน 6 เหรียญสหรัฐฯ จาก 8เหรียญ สหรัฐฯ นี้ ใช้สำหรับจัดหาต้นกล้าเพื่อการปลูกและอุปกรณ์อื่น ๆ แต่ทันทีที่ต้นกล้าเจริญเติบโตก่อตัวเป็นแนวรั้วหญ้าแฝกอยู่ในไร่นาได้ดีแล้ว ค่าใช้จ่ายใน การปลูกแนวรั้วแนวใหม่ก็ค่อนข้างต่ำ ซึ่งอาจลงเหลือเพียง 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อความยาวแนวรั้ว 100 เมตร ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะมีอัตราสูงมากกว่า 100% บริเวณใดก็ตาม ที่พื้นดินลาดเอียงน้อยกว่า 5% และแนวรั้วหญ้าแฝก แต่ละแนวเว้นระยะห่างกันประมาณ 40 เมตร จะสามารถปลูกสร้างแนวรั้วหญ้าแฝกได้ความยาว 250 เมตรต่อพื้นที่หนึ่งเฮคตาร์ โดยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 5 เหรียญสหรัฐฯ ถึง 20 เหรียญสหรัฐฯ

ในปัจจุบันที่เมืองการ์นาตากา ประเทศอินเดีย ได้มีการค้นพบสายพันธุ์หญ้าแฝกแล้วจำนวนหกชนิด ซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่ชนิดหนึ่งที่เกษตรกรเลือกใช้มาเป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว เนื่องจากมีลักษณะพิเศษที่เหนือกว่าในการปลูกเป็นแนวรั้ว รวมทั้งใช้เป็นหญ้าแห้งสำหรับเป็นอาหารสัตว์ และมีความทนทานต่อแมลงรบกวน โรคพืชต่าง ๆ และความแห้งแล้ง

เมื่อจะคัดเลือกต้นกล้า ให้เลือกต้นกล้าที่ทนทานต่อสัตว์หรือแมลงรบกวนและโรค อีกทั้งควรแตกกอได้ดีด้วย

บริเวณใดที่มีอากาศหนาวจัดให้เลือก ต้นกล้าชนิดที่ทนต่ออากาศหนาวได้ดีกว่าต้นอื่น

การเพาะเลี้ยงกล้าหญ้าแฝก

หญ้าแฝกที่เพาะไว้อย่างหนาแน่นใน บริเวณลำห้วยขนาดใหญ่ อาจย้ายไปปลูกใหม่ที่ไหนได้ ลำห้วยเป็นที่เพาะเลี้ยงที่พิเศษ เพราะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา และมีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต

การคลุมลำต้นและรากที่ถูกตัดออกมาด้วยพลาสติก เป็นวิธีการแพร่พันธุ์ที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำ

เพื่อให้มีการแตกหน่อได้ดีที่สุด ต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงไว้ควรให้ปุ๋ย (โดยใช้สารไนโตรเจน 150 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 เฮคตาร์) และควรมีการรดนํ้าด้วย (โดยเฉพาะในบริเวณที่แห้งแล้งมาก ๆ)

ต้นกล้าที่เพาะไว้ ควรตัดออกให้เหลือความสูงเพียง 30-50 เซนติเมตร เพื่อช่วยเร่งให้แตกหน่อเร็วขึ้น

สถานเพาะชำที่ดีที่สุด ดูเหมือนจะเป็นบริเวณที่ดินมีปุ๋ยพืชสดมากจนถึงดินเหนียวปนทราย ซึ่งมีการระบายนํ้าที่ดีและง่ายต่อการขุดต้นกล้าที่เพาะไว้ เพื่อย้ายไปปลูกที่ใหม่ เราได้พบว่าสถานที่เพาะเลี้ยงที่ดีเยี่ยมก็คือ (เมื่อมีการรดนํ้าอย่างดี) ในดินทรายที่อยู่ใกล้กับแม่นํ้าที่มีนํ้าตลอดปี

การปลูกพืชในไร่นา

ตราบใดที่หญ้าแฝกปลูกไว้ในบริเวณพื้นดินที่เปียกชื้น มันสามารถทนช่วงเวลาแห้งแล้ง ได้นานหลังจากที่ปลูกแล้ว

ในไร่นาหรือทุ่งหญ้าที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งมีพื้นที่ดินน้อย และซึ่งเกษตรกรไม่ค่อยอยากที่จะเพาะปลูกหญ้าแฝกขวางพื้นที่ไร่นาของตน ก็ควร ปลูกหญ้าแฝกไว้ตามแนวเขตของไร่นา

บนพื้นดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะมีการกัดเซาะอย่างรุนแรง ควรปลูกหญ้าแฝก ในบริเวณทางน้ำไหล (ลำห้วย) และรอบ ๆ ต้นน้ำก่อน แล้วจึงนำต้นกล้าที่ได้จากบริเวณนั้นไปปลูก ขวางพื้นดินที่ลาดในปีอื่นต่อไป

การปลูกเสริมตามช่องว่างเป็นสิ่งจำเป็น และควรทำตั้งแต่ต้นฤดูฝนความเป็นไปได้ในการปลูกเสริมต้นกล้าตามแนวช่องว่าง ควรใช้เป็นมาตรการ ในการทดแทนให้เต็มพื้นที่ว่าง

เพื่อเร่งให้แตกหน่อและขึ้นเป็นแนวรั้ว แน่นหนา ควรตัดหญ้าแฝกให้เหลือความสูงเพียง 30-50 เซนติเมตร หลังจากปีแรกเป็นต้นไป เพราะการตัดในปีแรกดูเหมือนจะไม่ช่วยกระตุ้นการแตกหน่อเลย

ปลวกที่เข้าไปยุ่มย่ามอาศัยอยู่และทำลายต้นกล้าที่ตายแล้ว อาจควบคุมได้โดยใช้บีเอชซี (BHC) 1 กิโลกรัมโรยตลอดแนวรั้วหญ้าแฝกทุก ๆ 150 เมตร

ในทันทีที่หญ้าแฝกได้เจริญเติบโตขึ้น เป็นแนวรั้ว (หลังจากปลูกเป็นเวลา 1 เดือน)ให้ทำการไถร่องดินเล็ก ๆ ทันทีด้านหลังแนวรั้วหญ้าแฝก เพื่อช่วยสกัดกั้นการไหลบ่าของนํ้าและทำให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตดีขึ้น