ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn)


ลักษณะทั่วไป
เป็นพืชไร่ที่ปลูกง่าย วิธีการคล้ายกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(ซึ่งเป็นปัญหาเพราะเกษตรกรทำเหมือนกันทุกอย่าง) ใช้ปัจจัยน้อย แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้กำไรน้อยเทียบกับการปลูกพืชชนิดอื่น ปลูกบนพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ ตลาดกว้างขวาง
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Super Sweet KU
ฤดูปลูก ตลอดปี ทุกระดับความสูงของพื้นที่
ความเป็นกรดด่างของดิน 5.5-6.5
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    25×75 ซม.
ความลึก 2-3 ซม.
จำนวนต้น 5.3 ต้น/ตร.ม.
ระยะเวลาเจริญเติบโตเต็มที่ ฤดูหนาว 85-90 วัน ฤดูร้อนและฝน 75-80 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*มักจ้างรถไถ เพราะปลูกบนพื้นที่ขนาดใหญ่
หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ผลผลิตจะสูงกว่าในฤดูหนาวและฤดูร้อน เพราะเกษตรกรปลูกในพื้นที่เล็กกว่า (ต้องให้น้ำ) และต้องเอาใจใส่ดูแล ส่วนในฤดูฝนเป็นการปลูกบนพื้นที่ขนาดใหญ่ อาศัยน้ำฝน ไม่ต้องดูแล
ผลผลิต
ฤดูร้อน 160-180 กก. เป็นเกรด A ประมาณ 60-70% ฤดูฝน 100-120 กก. เป็นพืชปลูกง่าย แต่ราคาไม่สูง ทำให้กำไรต่อไร่ต่ำ
ราคาขายของเกษตรกร
ฤดูร้อน 1.20-1.70 บาท/กก. ฤดูฝน 2.00-2.50 บาท/กก.
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ส่วนใหญ่เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ อาจมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชและเชื้อราในฤดูฝนบ้าง แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะทำให้กำไรลดลง
ผลตอบแทน
รายได้ต่อไร่ต่ำ แต่พื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ ทำให้มีรายได้พอควร
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
เกษตรกรมักปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น เก็บเกี่ยวแล้วห้อยแขวนใต้ถุนบ้านให้แห้ง หรือเก็บเมล็ดเองข้ามปี ซึ่งเมล็ดอาจได้จากการผสมข้ามพันธุ์กับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้คุณภาพความหวานลดลง เกษตรกรควรเก็บเกี่ยวและขนส่งทันทีเพื่อลดปัญหาการสูญเสียความหวาน
การตลาด
ตลาดกว้างขวาง ราคาสูงสุด 7-8 บาท/กก. ในเดือน มิ.ย.-ก.ค. นอกจากนั้นเฉลี่ย 1.50-3.00 บาท
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
เกษตรกรไม่นิยมฉีดพ่นสารเคมี เพราะปลูกพื้นที่กว้างขวางประกอบกับกำไรค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว ต้องประหยัดทุน ถ้ามีโรคระบาดควรใช้ ริโดมิล MZ (Ridomil MZ) ควบคุม
ศัตรูพืช
หนู ทำลายช่วงหยอดเมล็ดและติดฝัก ใช้เหยื่อผสมสารพิษกำจัดจิ้งหรีด ทำลายต้นอ่อน
เพลี้ยอ่อน ทำลายช่วงออกดอกและติดฝัก
โรค
ราน้ำค้าง และ โรคใบแห้ง พบในช่วงก่อนออกดอกและติดฝัก
โรคใบจุด(Target Spot) พบช่วงติดฝัก
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่)


การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการปลูก
เตรียมดิน ตากแดดทิ้งไว้ 7-8 วัน ใช้ไม้กระทุ้งหลุมเป็นแถวห่างกันแถวละ 75 ซม. และหลุมห่างกัน 25 ซม. หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 2-3 เมล็ด ลึก 2-3 ซม. แล้วรดน้ำ ก่อนปลูก ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยแอพรอน 35 (Apron 35 กันโรคราน้ำค้าง) และ เซฟวิน 85 ป้องกันมดและแมลง
ช่วงดูแลรักษา
หลังเมล็ดงอก 10-15 วัน ทำการปลูกซ่อมและถอนแยก เหลือหลุมละต้นที่แข็งแรง ระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน ส่วนต้นที่ถอนออกเอาไปปลูกซ่อมได้ หลังถอนแยก กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย 21-0-0 รอบต้น กลบโคน แล้วรดน้ำ หลังปลูก 30-35 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และช่วงติดดอก ใส่ปุ๋ย 13-21-21 ถ้าฝนทิ้งช่วง ปล่อยน้ำเข้าร่องสัปดาห์ละครั้ง
ข้อควรระวัง
1. หากหยอดเมล็ดลึก หรือกลบเมล็ดหนาไป จะทำให้เมล็ดเน่า หรือไม่งอกดี
2. การปลูกระยะถี่หรือหลายต้นต่อหลุม ทำให้ผลผลิตต่ำ คุณภาพไม่ดี และยากต่อการเข้าไปดูแลรักษา
3. ให้ปลูกเป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพื่อช่วยการผสมเกสร (ไม่ใช่แปลงตามแนวยาว)
ช่วงเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่อเส้นไหมแห้ง เมล็ดมีสีเหลือง ตัดฝักด้วยมีด (ต้นละ 2 ฝัก) เก็บใส่เข่งทันที อย่าทิ้งกลางแดด ควรเก็บเกี่ยวตอนเช้าวันที่จะขนส่ง อย่าทิ้งข้ามคืน ปกติฝักไม่งามในฤดูร้อน และควรบริโภคภายใน 48 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยวก่อนที่จะสูญเสียรสหวาน
อื่นๆ
การปลูกข้าวโพดหวานบริเวณใกล้เคียงกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกิดการผสมข้าม สีของข้าวโพดจะเปลี่ยนและคุณภาพลดลง
ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่