ข้าหลวงหลังลาย

(Bird’s Nest Fern)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Asplenium nidus L.
ชื่อวงศ์ ASPLENIACEAE
ชื่ออื่น เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป เฟิร์นชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ในเขต อบอุ่นที่มีความชื้นสูงถือว่าเป็นลักษณะของกาฝาก


ใบ สีเขียวอ่อน ใบเดี่ยวออกเวียนรอบเหง้า ทำให้เหมือนเป็นตะกร้า สำหรับรองรับเศษใบไม้ หรืออินทรีย์วัตถุมาเก็บไว้ เพื่อเป็นอาหาร นอกจากนี้ใบแก่ที่อยู่รอบนอกเมื่อเหี่ยวแห้งจะห้อยลงมาปิดระบบราก ทั้งนี้ก็เพื่อเก็บรักษาความชื้นเอาไว้ในช่วงฤดูแล้ง ก้านใบมีสีนํ้าตาลเข้ม ใบที่เกิดใหม่จะอ่อนและเปราะหักได้ง่ายใบแก่จะมีความเหนียวและหนามาก ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ขอบใบหยักเป็นคลื่น ผิวใบ ด้านล่างมีกลุ่มของอัปสปอร์เป็นแถบยาวเรียงขนานตามเส้นใบย่อย ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ สปอร์มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วมีปากเปิดด้านเดียว
นิเวศวิทยา เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน อินทรีย์วัตถุสูง ความชื้นสูง ชอบแสงรำไร
การใช้ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้กระถาง ไม้แขวน ประดับในอาคาร
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย