ชมพู่แกมแหม่ม

(Java .ylpple)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium samarangense (Blume)
Merr. & L.M.Perry var. samarangense
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ชื่ออื่น ชมพู่ ชมพู่เขียว ยามูกะลาป๋า
ถิ่นกำเนิด เอเชีย


ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 5-7 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยกว้างหรือทรงกลม หนาทึบ เปลือกต้นมีสีนํ้าตาลเข้มอมเทาแตกหยาบๆ หลุดล่อนเป็นแผ่น
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกเรียวหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-10 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวสด ใบมีต่อมน้ำมันหอม ก้านใบอวบยาว 0.5-0.9 ซม.


ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงที่ด้านข้างของกิ่ง ช่อดอกห้อยยาว 7-10 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวอ่อนเชื่อมติดกับฐานรองดอกรูปกรวย กลีบดอก 4 กลีบ รูปช้อน เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีขาวปลายเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-5 ซม.
ผล ผลสดแบบมีเนื้อ รูปทรงระฆังหรือสามเหลี่ยมฐานกว้าง กว้าง
3-5 ซม. ยาว 4-6 ซม. ผิวเกลี้ยงเป็นมัน สีแดงอมเขียว เมื่อสุกสีแดง อมชมพู เนื้อชุ่มน้ำ เมล็ดค่อนข้างกลม สีเทาอมขาวขนาดใหญ่ 1-2 เมล็ดต่อผล ออกดอกติดผลตลอดปี ออกดอกมากในฤดูหนาว ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและทาบกิ่ง
นิเวศวิทยา พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
การใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่มีวางขายตามตลาดผลสุกมีรสหวานฉํ่า รับประทานเป็นผลไม้แก้กระหายได้
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย