ซุคคินี(Zuccini)

ลักษณะทั่วไป
เพิ่งนำเข้ามาปลูก คนเริ่มรู้จักกันดีแล้ว ปัจจุบันส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ตั้งแต่ขนาด 50-400 ตร.ม. ใช้ระยะปลูกห่าง (1×1 เมตร) เริ่มให้ผลผลิตเร็ว และสามารถทยอยขยายเวลาให้ผลผลิตนานขึ้นถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี โดยปกติเป็นพืชอายุสั้นแต่น้ำหนักผลผลิตต่อพื้นที่ปลูกค่อนข้างสูง เกษตรกรนิยมบริโภค
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Ambassador F 1 (เขียว)
ฤดูปลูก ตลอดปี
ความสูง 600 เมตรขึ้นไป
ระยะปลูก (ต้นxแถว)    1×1 เมตร
ความลึก 10-15 ซม.
จำนวนต้น 1 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของร่อง 50 ซม.
ระยะห่างระหว่างร่อง 50 ซม.
ระยะเวลาเจริญเติบโตเต็มที่ ฤดูหนาว 85-90 วัน ฤดูร้อนและฝน 60-70 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
เหมาะแก่การปลูกฤดูหนาว เพราะยืดเวลาเก็บเกี่ยวออกไปได้ถึง 30-40 วัน เปรียบเทียบกับฤดูอื่นๆ ได้เพียง 10-14 วัน ในการปลูกฤดูร้อน (พ.ค.-มิ.ย.) มักมีปัญหาโรคและแมลงกระทบกระเทือนผลผลิต ส่วนการปลูกฤดูฝน ผลผลิตขึ้นกับปริมาณฝน (เกษตรกรบางคนปลูกโดยอาศัยน้ำฝน) และการจัดการ
ผลผลิต
ฤดูหนาว 100-130 กก. เป็นเกรด A ราว 80-90% ฤดูร้อน 80-100 กก. เป็นเกรด B ราว 50% และฤดูฝน 70-90 กก. เป็นเกรด A ระหว่าง 70-80% แต่ถ้าฝนดี มีการจัดการและประสบการณ์ดีเกษตรกรอาจได้ผลผลิตสูงถึง 100-110 กก.ในฤดูฝน
ราคาขายของเกษตรกร
ขึ้นอยู่กับปริมาณออกสู่ตลาดและอัตราการสูญเสียระหว่างการขนส่งไปกรุงเทพฯ ฤดูหนาว 17-19 บาท/กก. ฤดูร้อน 15-17 บาท/กก. และฤดูฝน 16-18 บาท/กก.
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ส่วนใหญ่เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่ายากำจัดศัตรูพืชจะสูงกว่าในการผลิตฤดูร้อนและค่ายากำจัดเชื้อราจะสูงกว่าในฤดูฝน ต้นทุนต่ำเทียบกับรายได้
ผลตอบแทน
สูงในฤดูหนาว ควรส่งเสริมเป็นอันดับแรก
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ต้องให้น้ำสม่ำเสมอโดยเฉพาะฤดูแล้ง เพราะเป็นพืชชอบน้ำ ถ้าขาดน้ำอาจเป็นโรคใบหงิกซึ่งมักระบาทในฤดูนี้ ส่วนฤดูฝนควรปลูกพื้นที่มีการระบายน้ำดีและแสงแดดเพียงพอ เพื่อลดปัญหาโรคราแป้ง แนะนำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยววันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และทำการห่อผล อย่าทิ้งให้โตเกินไป จะไม่ได้คุณภาพของขนาด การดูแลรักษาที่ดีต่อจากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ช่วยให้เก็บเกี่ยวต่อไปได้อีกนาน สามารถปลูกเป็นพืชแทรกหรือเสริม (ใช้ประโยชน์พื้นที่ชั่วระยะเวลาสั้น) ในฤดูร้อนเพราะมีอายุสั้น (60-65วัน)
การตลาด
กว้างขึ้นเรื่อยๆ การสูญเสียระหว่างทางขนส่งไปกรุงเทพฯ สูงถึง 30-50% มีผลต่อราคารับซื้อจากเกษตรกร ราคาสูงสุดช่วง ธ.ค.-ม.ค. และ ปลาย พ.ค.-ก.ค. (28-30 บาท/กก.) ราคาจะต่ำกว่าในช่วง มี.ค.-พ.ค. (18-20 บาท) และ ส.ค.-ต.ค. (15-18 บาท)
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
แมลงหวี่ขาว (White Fly) ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสของโรคใบหงิก ป้องกันแก้ไขโดยใช้ อโซดริน (Azodrin) หรือ แลนเนท (Lannate) เมื่อพบตัวแมลงหรือหลังปลูก 5 วัน ทุกๆ 5-7 วัน ตามความจำเป็น
ตัวเต่าทอง(Beetle) กัดกินใบเป็นรู ป้องกันแก้ไขโดยใช้แลนเนท หรือเซฟวิน 85 ทุก 5-7 วัน เมื่อพบแมลง
โรค
ราแป้ง (Powdery Mildew) ใช้เบนเลท (Benlate) หรือ อาฟูกาน (Afugan) สลับกับ คาราเทน (Karathane)
โรคใบหงิก (Leaf Curl) เกิดจากเชื้อไวรัสขุดทิ้งหรือทำลายต้นที่เป็นโรค อาจลดโอกาสที่จะเป็นโรคได้ กำจัดแมลงพาหะเพื่อป้องกันแสงแดด
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


การใช้แรงงาน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการปลูก
แช่เมล็ด 4 ชม. แล้วปูบนผ้าหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ โรยดินกลบบางๆ รดน้ำพอเปียก ทิ้งไว้ 1-2 วัน จนรากเริ่มงอก ย้ายกล้าอ่อนลงถุงเพาะขนาด 4×6 นิ้ว บรรจุส่วนผสมของดิน ปุ๋ยคอก ปุ๋ย 15-15-15 และปูนขาว ปลูกลึก 3 ซม. แล้วรดน้ำ ใช้ผ้าหรือตาข่ายพลาสติคคลุมจนกว่ากล้าแตกใบอ่อนประมาณ 15 วันแล้วทำโรงเรือนตาข่าย พลาสติคครอบกันฝนกระแทก และกรองแสงแดด รดน้ำทุกวัน ระวังอย่าให้หนูเข้ากัดกินกล้า
ช่วงการปลูก
ขุดพลิกดิน ตากทิ้งไว้ 5-7 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 50 ซม. ขุดหลุมลึก 10-15 ซม. ระยะห่าง 1 เมตร รองพื้นด้วยส่วนผสมของดิน ปุ๋ยคอก ปูนขาว ปุ๋ย 15-15-15 และโบแรกซ์ (1 ช้อนแกง/ต้น) ให้เหลือหลุมลึกเพียง 10 ซม. ย้ายกล้าอายุ 25-30 วันมาปลูก กลบดินให้เต็มหลุมแล้วรดน้ำ สำหรับฤดูฝนถ้าปลูกลึกไปรากจะเน่า
ช่วงดูแลรักษา
ปลูกซ่อมหลังจาก 7 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7-10 วัน หลังปลูก ใช้ 46-0-0 ผสมกับ 15-15-15 ในอัตราส่วน 1:2 ปริมาณ 15 กรัม/ต้น ครั้งต่อไป ให้ปุ๋ยห่างจากคราวก่อน 15-20 วัน โดยใช้ปุ๋ย 13-13-21 สลับกับ 15-15-15 ปริมาณ 15 กรัม/ต้น ฉีดพ่นยาตามจำเป็นและให้น้ำทุก 3 วัน
ข้อควรระวัง
1. ในช่วงนี้ ประมาณ 20% ของต้นพืช อาจถูกเชื้อไวรัสเข้าทำลาย
2. มักมีศัตรูพืชและโรคต่างๆ ในระยะนี้
ช่วงเก็บเกี่ยว
ตั้งแต่ 40-45 วันหลังปลูก ผลผลิตรุ่นแรกอาจไม่งาม ขายไม่ได้ต้องทิ้งไป เก็บเกี่ยวประมาณ 5-7 วัน หลังติดดอก เมื่อขั้วดอกที่ปลายผลเริ่มเหี่ยวหรือเมื่อผลได้ขนาดตามตลาดต้องการ ใช้มีดตัด คัดขนาดและคุณภาพตามเกรด ห่อด้วยกระดาษแล้วบรรจุลงเข่งลำไย
ข้อควรระวัง
1. ผลเกรด A มีขนาดยาว 6 นิ้ว ลูกตรง มีสีเดียวกันเช่นเขียวหรือเหลือง
2. ห่อผลด้วยกระดาษและบรรจุอย่างระมัดระวังไม่ให้เสียหาย
อื่นๆ
วิธีปลูกแบบหยอดเมล็ดโดยตรง ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะเก็บเกี่ยวได้
ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่