ดอกกรรณิการ์

กรรณิการ์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า นิคแทนเธส อาบอร์ – ทริสทิส (Nyctanthes abr-tristis, LinnJ อยู่ในตระกูล เวอร์เบนาซี่ ( Verbenaceae ) ตระกูลเดียวกับผกากรอง กรรณิการ์ให้ดอกที่มีกลิ่นหอมของนํ้ามันหอมระเหยซึ่งใช้เเทนดอกมะลิได้

ใช้แต่งกลิ่นยาเตรียม น้ำหอม เครื่องสำอางค์ และเครื่องดื่มบางชนิดได้ ดอกกรรณิการ์จะบานและมีกลิ่นหอมในเวลาเย็น จึงเรียกว่ามะลิกลางคืน ( Night Jasmine ) และร่วงในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น ดอกที่ร่วงหล่นยังนำไปใช้ประโยชน์ในทางแต่งสี ดอกกรรณิการ์มีลักษณะเป็นหลอดปลายกลีบแยก หลอดของดอกกรรณิการ์จะมีสีส้มหรือสีแสดนำมาแต่งสีขนม หรือย้อมผ้าไหมได้ การย้อมผ้าไหมอาจใช้ดอกกรรณิการ์ชนิดเดียวหรือผสมกับพืชชนิดอื่น โดยนำส่วนของดอกที่มีสีส้มต้มกับน้ำเล็กน้อย คั้นกรองเอากากทิ้งนำน้ำสีที่ได้ใส่ขนมที่ต้องการให้มีสีส้มหรือสีแสด หรือนำไปย้อมผ้าโดยเอาผ้าเบียกนํ้าพอหมาดๆ แช่ลงในน้ำสีที่สกัดได้ ต้องการผ้าสีอ่อนสีแก่ขึ้นอยู่กับเวลาของการแช่ แล้วนำมาตากให้แห้งจะได้ผ้าไหมสีส้ม ถ้าเติมมะนาวหรือสารส้มลงเล็กน้อย จะได้สีคงทน ในกรณีต้องการสีแปลกออกไปอาจผสมขมิ้นหรือครามด้วยก็ได้ตามแต่ความต้องการสี

ต้นกรรณิการ์เป็นพืชพบทั่วๆ ไปในทวีปอาเชียเขตร้อน เช่น ไทย อินเดีย พม่า เป็นไม้พุ่ม เปลือกต้นมีรสฝาดของแทนนิน (Tannin) ใช้แก้โรคท้องร่วงได้ เปลือกต้นชั้นในผสมปูนขาวจะได้ปูนแดงเนื่องจากมีแทนนิน ใบกรรณิการ์หยาบสากมือ เชื่อว่าใช้แก้ไข้ และโรคปวดตามข้อ น้ำคั้นจากใบเชื่อว่าใช้เป็นยาระบาย ขับนํ้าดี และเป็นยาขมเจริญอาหาร นํ้าคั้นใบกรรณิการ์ผสมน้ำตาลเชื่อว่าให้เด็กกินเป็นยาแก้ตานขโมย ปลูกเป็นไม้ประดับให้ดอกสวยงามและกลิ่นหอมทำให้บ้านสดชื่น

สรุปสรรพคุณ

ดอกกรรณิการ์นอกจากให้ความสวยงามและมีกลิ่นหอมแล้วยังนำมากลั่นเอาน้ำมันหอมระเหยใช้แทนน้ำมันดอกมะลิได้

ดอกกรรณิการ์ ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม ใช้แต่งสีอาหารที่ปลอดกัย และย้อมผ้าไหม ตามความเชื่อเปลือกต้นกรรณิการ์มีสารแทนนิน ใช้แก้โรคท้องร่วง

ใบ แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้โรคปวดข้อ และยาเจริญอาหาร