ดอกกระดาษ(Straw Flower-Helichrysam)


ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ดอกที่ปลูกง่าย ไม่มีเทคนิคยุ่งยาก และไม่มีปัญหาโรคหรือศัตรูพืชที่ร้ายแรง สามารถปลูกได้ทั้งในสภาพมีการให้น้ำ หรือโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว (ซึ่งผลผลิตจะต่ำกว่าเล็กน้อย) ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้เป็นระยะเวลานานในช่วงอากาศแห้งแล้งที่สุด ตลาดยังจำกัด ขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อของบริษัทต่างๆ แต่อนาคตของตลาดค่อนข้างดี เกษตรกรสามารถเสียบตัวดอกกับก้านไม้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวได้ ตัวดอกเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว สามารถเก็บรักษาในสภาพแห้งได้เป็นเวลานาน ดอกไม่มีการเสียหายเมื่อส่งไปจำหน่ายกรุงเทพฯ
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Monstrosa, Monstrosum
ฤดูปลูก ทำการปลูกเดือนกันยายน/ตุลาคม และเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง (ปลูกได้ในฤดูฝนเช่นกันแต่ให้ผลผลิตต่ำกว่า)
ความสูง 800-1400 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 5.5-6.5
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    50×50 ซม. (6,400 ต้น/ไร่)
จำนวนต้น 4-6 ต้น/ตร.ม.
การเตรียมกล้า
ระยะปลูก (ต้นxแถว)    1×10 ซม.
ความลึก 1 เมตร
จำนวนต้น 150 กล้า/ตร.ม. เพียงพอที่จะย้ายปลูกในพื้นที่ 32.5 ตร.ม. (อัตรากล้าเสีย 25%)
อายุพืช
ระยะกล้า    40-60 วัน
ระยะดูแลรักษา    60-70 วัน
ระยะการเก็บเกี่ยว    90-135 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
เป็นพืชไม้ดอกที่เหมาะแก่การปลูกตามหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกแซมระหว่างแถวไม้ผล สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ซึ่งมักปล่อยทิ้งว่างเปล่าในช่วงอากาศร้อนมากในฤดูแล้ง
ผลผลิต
ได้ดอกแห้งน้ำหนักประมาณ 35-50 กรัมต่อต้น (ดอกสด 200 กรัม/ต้น) การปลูกโดยมีการให้น้ำในฤดูแล้ง จะให้ผลผลิตสูงกว่า ถึง 20-40% เปรียบเทียบกับการปลูกโดยไม่มีการให้น้ำ
ราคาขายของเกษตรกร
ราคาจำหน่ายตามคำสั่งซื้อของบริษัทประมาณ 40 บาท/กก. ถ้าเกษตรกรเสียบดอกกับก้านไม้ขายปลีกเป็นกำเล็กๆ อาจได้ประมาณ 3-5 บาท/กำ
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ต้นทุนต่ำ ส่วนใหญ่เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ หรือค่ากล้า (เมล็ดพันธุ์ 5 บาท/กรัม และกล้า 1 บาท/ต้น) การใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีน้อยมาก
การใช้แรงงาน
ต้องหมั่นดูแล คอยเก็บดอกทุกๆ วัน เพื่อให้ดอกมีคุณภาพดีและได้น้ำหนัก ผลผลิตสูง
การตลาด
บริษัทต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้ความสนใจ ถ้าจำหน่ายได้ดีในปีนี้ คำสั่งซื้อปีต่อไปอาจมีมากขึ้น ราคาขายดอกแห้งในตลาด 50-60 บาท/กก. ไม่มีการสูญเสียจากการตลาด
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ไม่มีปัญหาโรคและศัตรูพืช ยกเว้น เพลี้ยอ่อน (Aphids)
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการเตรียมกล้า
เตรียมแปลงเพาะกล้ากว้าง 80-100 ซม. หยอดเมล็ดห่างกันพอประมาณในร่องเมล็ด ตามขวางหน้าแปลง ห่างกันร่องละ 10 ซม. กลบเมล็ดด้วยแกลบ ใช้ เทอร์ราคลอร์ หรือ ไดเทนเอ็ม 45 ละลายน้ำรดแปลงเพื่อป้องกัน โรคเน่าคอดิน (Damping off) เมื่อหยอดเมล็ดได้ 5-7 วัน ใช้ปุ๋ย 21-0-0 ละลายน้ำรด ถอนกล้าไปปลูกเมื่อต้นสูงประมาณ 10-15 ซม. (อายุ 40-45 วัน) ตัดแต่งใบตามความจำเป็น
ช่วงการปลูกและดูแลรักษา
ย้ายปลูกตามระยะปลูกที่แนะนำ โดยขุดหลุมแล้ว นำกล้าลงปลูก ถ้าต้องการใส่ปุ๋ย ละลายปุ๋ย 21-0-0 รดต้นเมื่อย้ายปลูกได้ 10-15 วัน และใส่ซ้ำอีก 2 สัปดาห์ต่อมาถ้าจำเป็น ใช้ปุ๋ยอัตรา 30 กรัม/ตร.ม. แล้วใส่ปุ๋ย 15-15-15 โดยโรยรอบลำต้นเมื่อย้ายปลูก 20-25 วัน ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นยา แต่บางครั้งอาจมีปัญหา เพลี้ยอ่อน(Aphids) บ้าง ไม่มีการตัดแต่งกิ่งใบ ถ้ามีแหล่งน้ำ ให้รดน้ำพืชทุก 4-7 วันในฤดูแล้ง
ช่วงการเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวทุกวันตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน เมื่อเริ่มเข้าฤดูฝนต้นหนึ่งๆ จะให้ดอกประมาณ 35-50 ดอก เก็บเกี่ยวดอกที่บานได้ครึ่งเดียว  โดยใช้มือปลิดเฉพาะตัวดอก เก็บดอกบนที่อยู่กลางต้นก่อนแล้วทยอยเก็บดอกข้างไปเรื่อยๆ เมื่อได้ขนาด ให้ดอกผึ่งแดดประมาณ 5 วัน แล้วเก็บใส่กระสอบตาข่ายพลาสติคสีแดง แขวนผึ่งลมไว้ใต้หลังคาดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน เหลือง ขาว และแดงเข้ม
ที่มา:ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่