ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ดอกคำ คำยอง

ชื่ออังกฤษ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle, American Saffron

ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctonus Linn.

วงศ์ Compositae

คำฝอยเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 50-150 ชม. ลำต้นเป็น สันเกลี้ยง ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ไม่มีก้านใบ ใบหนา ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันแหลมคม ดอกมีลักษณะคล้ายดอกบานชื่น กลีบดอกแรกๆ สีเหลือง ต่อไปเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ดอกคำฝอยมักใช้ปนปลอมในหญ้าฝรั่น เนื่องจากมีสีและลักษณะคล้ายกัน แต่ราคาถูกกว่าหญ้าฝรั่นมาก

ส่วนที่ใช้เตรียมสี ดอก

สารสำคัญ

กลีบดอก ประกอบด้วยสารสีแดงชื่อ คาร์ทามิน

(carthamin) และสารสีเหลืองชื่อ แซฟฟลาวเวอร์ เยียลโลว์(safflower yellow)

เมล็ด มีนํ้ามันประมาณร้อยละ 20-30 ซึ่งในนํ้ามันประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิด เช่นกรดเมอริสติก (myristic acid) กรดปาล์มติก (palmitic acid) และกรดไลโนเลอิก (linoleic acid) เป็นต้น

ประโยชน์

1. กลีบดอกใช้แต่งสีอาหารให้มีสีเหลือง-ส้ม เช่น แต่งสีข้าวหมกไก่ ยานัตถุ์ สารคารทามินเคยใช้ย้อมไหมและฝ้ายให้มีสีแดงสด สีจากดอกคำฝอยเป็นสีที่ไม่คงทน ซีดง่าย

2. นํ้ามันดอกคำฝอยที่บีบจากเมล็ด โดยไม่ใช้ความร้อนใช้เป็นอาหาร ส่วนชนิดที่บีบโดยใช้ความร้อนใช้เคลือบหนังเพื่อไม่ให้เปียกนํ้า และใช้ผสมสีทาบ้าน กากที่เหลือจากการบีบนํ้ามันใช้เป็นอาหาร ของเป็ด-ไก่ และใช้ทำปุ๋ยหมัก

3. ในตำรายาไทยดอกคำฝอยใช้เป็นยาขับเหงื่อ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยนิยมชงนํ้าดื่มเช่นเดียวกับน้ำชา นํ้ามันจากเมล็ดช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด และช่วยป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด เนื่องจากในนํ้ามันมีกรดไลโนเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมีอยู่ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยงมีฤทธิ์ช่วยลดนํ้าตาลในเลือดด้วย

วิธีเตรียมสีเหลือง-ส้มจากดอกคำฝอย

นำกลีบดอกคำฝอยแห้งมาชงกับนํ้าร้อน เหลือง-ส้ม ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการ