ดาวลดา

ดอกรัก

วงศ์แอสเคลบพิเอเดซีอี (ASCLEPIADACEAE)

พืชวงศ์นี้ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย ไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มักมียางขาว ใบออกเป็นคู่ตรงข้าม หรือมีมากกว่า 2 ใบ ออกรอบข้อ ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นและปลายแยกเป็น 5 แฉก รยางค์เกสรตัวผู้ลักษณะคล้ายกลีบหรือเป็นแผ่น 5 แผ่น เกาะกันเป็นแท่น อับเรณูแทรกอยู่ระหว่างแถวของรยางค์ เรณูรวมกัน เป็นกลุ่มหรือเป็นแผ่น เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือชั้นต่างๆ ของดอก ผลเป็นฝักแห้งแล้วแตก เพียงตะเข็บเดียว ในประเทศไทยพืชในวงค์นี้ที่รู้จักกันดี คือรัก (Calotropis gigantea R. Br.) ไฟเดือนห้า (.Asclepias curassavica Linn.) สลิดหรือขจร (Telosma minor Craib)

Hoya engleriana Hosseus

ดาวลดา

ดาวลดา

ดาวลดา เป็นพืชอิงอาศัยบนต้นไม้อื่น ต้นห้อยลง ลำต้นกลม ยาว 10-20 ซม. ใบค่อนข้างเล็กคล้ายพืชอวบนํ้าที่เรียกรวงข้าว (Sedum morganianum Walth.) ช่อดอกเกิดที่ปลายสุดของกิ่ง ก้านช่อดอกสั้น แต่ละช่อมี 4 ดอกบานพร้อมกัน ดอกสีขาว ปลายสุดของกลีบดอกงอเป็นจงอย เกสรตัวผู้ 5 อัน สีม่วง เรียงตัวคล้ายดาว 5 แฉก ออกดอกราวเดือนธันวาคม-มกราคม พบขึ้นที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลขึ้นไป