ตลาดนมพร้อมดื่ม


ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มในตลาดปัจจุบันมีอยู่ 3 ประเภท คือ นมพาสเจอร์ไรซ์ นมสเตอริไรส์ และนมยูเอชที ผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้มีการแข่งขันทางการตลาดสูงมาก แต่ยังคงมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าทางการตลาดขยายตัวสูงมากและโอกาสขยายตัวทางการตลาดก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง กล่าวคือ ก่อนปี 2529 มูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันคาดว่ามูลค่าทางการตลาดสูงกว่า 3,000 ล้านบาท และอาจจะถึง 5,000 ล้านบาทแล้ว สำหรับฐานการบริโภคขยายจากเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเดิมมาเป็นการเน้นว่าอาหารนมเหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัยโดยอาศัยโครงการรณรงค์บริโภคนม ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกว่า ขณะนี้มักจะพบนมพร้อมดื่มเครื่องหมายการค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ ประมาณว่าปัจจุบันทั่วทั้งประเทศมีนมพร้อมดื่มจำหน่ายไม่น้อยกว่า 30 ยี่ห้อ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม สืบเนื่องมาจากความสำเร็จอย่างมากของโครงการรณรงค์บริโภคนม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน ทำให้อัตราการขยายตัวของการบริโภคนมเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 20 ต่อปีในช่วงปี 2529-2531 และแม้ว่าตั้งแต่ปี 2532 นั้นอัตราการขยายตัวของการบริโภคลดลงเหลือร้อยละ 8 ก็เป็นเพราะการขยายตัวที่สูงในอดีต เป้าหมายของรัฐบาลมุ่งที่จะกระตุ้นให้อัตราการบริโภคนมของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 3 ลิตร/คน/ปี หรือประมาณ 70 ล้านลิตรต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 7 ลิตร/คน/ปี ในปี 2534 หรือประมาณ 400 ล้านลิตรต่อปี
กลุ่มนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในกิจการนมพร้อมดื่มแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การร่วมทุนกับกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม หรือการดึงตัวผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์นม และอีกลักษณะหนึ่ง คือ การร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศที่เชี่ยวชาญในเรื่องของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม เช่น การร่วมทุนระหว่างบริษัท ซีพีเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด กับบริษัท เมจิมิลล์ จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่น่าติดตามก็คือ แนวโน้มของบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มเริ่มที่จะขยายการดำเนินงานเป็นธุรกิจครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่มีฟาร์มเลี้ยงโคนม หรือมีข้อตกลงกับกลุ่มเกษตรกรเพื่อที่จะส่งนํ้านมดิบให้ ทั้งนี้เพื่อให้มีปริมาณน้ำนมดิบป้อนโรงงานอย่างเพียงพอ โดยลดการพึ่งพิงนํ้านมดิบจาก ฟาร์มโคนมอื่นๆ ให้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังสามารทที่จะควบคุมคุณภาพของนํ้านมดิบได้ ซึ่งเป็นหัวใจในการผลิตนมพร้อมดื่ม การตั้งศูนย์รวบรวมนํ้านมดิบในเขตที่มีการเลี้ยงโคนมมากเพื่อที่จะให้โรงงานมีนํ้านมดิบเพียงพอในระยะเวลาอันสั้นด้วยการลงทุนที่ไม่สูงนัก มีโรงงานผลิตซึ่งพยายามขยายประเภทสินค้าให้ครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมยูเอชทีและนมพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อที่จะขยายสัดส่วนทางการตลาดให้มากที่สุด ส่วนในทางด้านการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการจัดจำหน่ายเอง ซึ่งส่วนมากจะเป็นนมพาสเจอร์ไรซ์ หรือผ่านตัวแทนจำหน่าย ก็จะมีการส่งเสริมการขายกันอย่างมาก เพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน
ตลาดนมยูเอชที
ตลาดนมยูเอชทีนับเป็นตลาดผลิตกัณฑ์นมพร้อมดื่มอย่างรวดเร็ว มูลค่าทางการตลาดในปี 2533 สูงถึงกว่า 2,500 ล้านบาท อัตราการขยายตัวในช่วงปี 2527-2531 อยู่ในระหว่างร้อยละ 20-40 และอัตราการขยายตัวตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมาเฉลี่ยร้อยละ 10-15 ทั้งนี้เนื่องจากประสบกับปัญหาราคาของวัตถุดิบสูงขึ้นถึงร้อยละ 27 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัสดุหีบห่อ (ร้อยละ 20) และที่เหลือเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับตัวของราคานํ้ามันดิบ ราคาหางนมผงและค่าแรงงาน
แต่เดิมนั้นตลาดนมผูเอชทีเป็นการแข่งขันกันระหว่างค่ายใหญ่ 4 ค่าย คือ ไทย- เดนมาร์ค โฟร์โมสต์ หนองโพ และมะลิ แม้ว่าตลาดเกือบร้อยละ 40 จะอยู่ในมือของไทย-เดนมาร์ค แต่ค่ายโฟร์โมสต์ก็มาแรงมาก โดยอาศัยฐานเดิมอันแข็งแกร่งจากการผลิตไอศกรีมเป็นตัวนำร่องให้ผู้บริโภครู้จักสินค้า โดยยึดกลุ่มเป้าหมายเดิมคือกลุ่มวัยรุ่นเป็นหลัก จะสังเกตเห็นได้จากสีสันและรูปแบบกล่อง ในปี 2533 สถานการณ์แข่งขันเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น จากการที่ค่ายใหญ่ในตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ขยับขยายมาผลิตนมยูเอชทีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายโชคชัย ทำให้ตลาดนมยูเอชทีในปัจจุบันมีจำหน่ายถึง 8 ยี่ห้อ ได้แก่ โฟร์โมสต์ หนองโพ มะลิ แลคต้า เรือใบ เนสท์เล่ และโชคชัย ซึ่งแต่ละยี่ห้อ
เริ่มเพิ่มกลยุทธ์ด้านการแข่งขันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะการส่งเสริมการขายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างตลาดใหม่ในต่างจังหวัด เนื่องจากการขยายตัวของการบริโภคสำหรับเขตกรุงเทพฯ เริ่มช้าลง และเมื่อคิดมูลค่าตลาดแล้วตลาดในกรุงเทพฯ ยังเล็กกว่าในต่างจังหวัดมาก นอกจากนี้ ยังหันมาเน้นกลยุทธ์ขายตรงโดยเจาะตลาดในโรงเรียน นับเป็นการสร้างฐานให้เด็กจดจำยี่ห้อต่อไปในอนาคต จุดหลักของการแข่งขันในตลาดนมยูเอซทียังเป็นเงื่อนไขของการกระจายสินค้า การโฆษณายํ้าให้ผู้บริโภครู้จักและจดจำยี่ห้อ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อตัวสินค้า บริษัทผู้ผลิต
และผู้จำหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดในยุคของนํ้าอัดลมขึ้นราคาการเข้าไปดึงส่วนแบ่งตลาดมาจากตลาดนํ้าอัดลม โดยเน้นว่านมให้คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าในราคาที่ใกล้เคียงกัน
อนาคตของตลาดนมผูเอชทีนับว่าแจ่มใสมาก การขยายตัวของมูลค่าตลาดยังคงเพิ่มต่อไป ทั้งจากการขยายการผลิตของบริษัทเดิมและการเข้ามาลงทุนของยี่ห้อใหม่ๆ ในระยะต่อไปจะมีการเพิ่มขนาด รสชาติ ทั้งนี้เพื่อให้มีสินค้าครบชนิดที่คู่แข่งมี รวมทั้งเป็นการช่วงชิงเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดและยึดครองพื้นที่วางของในร้านค้า
ตลอดจนเพื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีโอกาสได้เลือกสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดบรรจุ 250 ซี.ซี. ซึ่งเป็นขนาดที่ขายดีมาก มีสัดส่วนถึงร้อยละ 90 ของยอดขายทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 จะเป็นยอดขายของขนาด 200 มิลลิลิตร และ 1 ลิตร นอกจากนี้
มีแนวโน้มว่าบริษัทผู้ผลิตนมยูเอชทีรายใหญ่จะขยับฐานขยายตลาดมาเพิ่มการผลิตเพื่อการส่งออกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็นตลาดในอินโดจีนซึ่งกำลังหันมาพัฒนาเศรษฐกิจ คาดว่ากำลังซื้อจะเพิ่มขึ้นและจะเป็นแหล่งส่งออกที่สำคัญต่อไป
ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์
นมพาสเจอร์ไรซ์เป็นนมพร้อมดื่มประเภทแรกที่วางจำหน่ายในตลาดนับเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว แม้ว่ามูลค่าทางการตลาดจะมีประมาณ 960 ล้านบาทต่อปี อัตราการเจริญเติบโตในปี 2532 ที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโตของตลาดสูงถึงร้อยละ 30 คาดว่าในระยะต่อไปอัตราการเจริญเติบโตของตลาดจะยังสูงถึงร้อยละ 15 ต่อปี สภาพการตลาดในปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายแห่เข้าตลาดมากมายทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เนื่องจากการลงทุนไม่สูงมากนัก ทั้งในด้านเครื่องจักรและฟาร์มโคนม เป็นผลให้เกิดยี่ห้อใหม่ๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม มีหลายรายที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการจัดจำหน่าย ต้องเลิก กิจการไป ทิศทางการแข่งขันในทางการตลาดของนมพาสเจอร์ไรซ์ค่อนข้างจะรุนแรงกว่านมยูเอชที และสเตอริไลส์ ข้อจำกัดในทางการตลาดของนมพาสเจอร์ไรซ์ซึ่งมีผลทำให้การขยายตลาดไม่รวดเร็วก็คือ ข้อจำกัดที่ตัวสินค้าที่จะต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิตํ่า และอายุการเก็บสั้น เป็นผลให้ทำตลาดยาก การขายต้องอาศัยตู้เย็นควบคุมอุณหภูมิ ไม่เหมือนนมผูเอชทีและสเตอร์ริไลส์ ซึ่งสามารถจะเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิห้อง ผู้ผลิตส่วนใหญ่มุ่งจะขายเฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ ไม่บุกตลาดใหม่ๆ เป็นผลให้ต้องแย่งตลาดกันเอง และไม่สามารถสร้างตลาดเองได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์จะยังค่อยๆ โตขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตจะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบยึดครองพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ใกล้แหล่งผลิตเป็นสำคัญ รวมทั้งการเร่งขยายเครือข่ายการผลิต และการตลาดเพื่อแย่งชิงสัดส่วนทางการตลาด
การแข่งขันของนมพาสเจอร์ไรซ์ในปัจจุบันเน้นถึงการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ให้รู้ถึงคุณประโยชน์ของนมพาสเจอร์ไรซ์ที่มีมากกว่านมพร้อมดื่มประเภทอื่นๆ รวมทั้ง การเน้นการขายตรงในรูปของสมาชิกที่มีบริการจัดส่งถึงที่ ในด้านการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่เปลี่ยนจากการบรรจุถุงมาใช้ภาชนะขวดพลาสติก แม้ว่าต้นทุนในการผลิตจะสูงกว่า แต่มีข้อได้เปรียบอย่างมากในการขนส่งและภาพพจน์ของสินค้า แนวโน้มของการแข่งขันในอนาคต คือ การแข่งขันกันในด้านรสชาติ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การขยายเครือข่ายการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขายเพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจดจำชื่อยี่ห้อของสินค้าได้ เนื่องจากการตัดสินใจของผู้บริโภคจะขึ้นอยู่กับคุณภาพความใหม่สดของนมและตรายี่ห้อเป็นหลัก
ตารางคุณค่าทางอาหารของนมพาสเจอร์ไรซ์ 1 ควอร์ต*
ต่อความต้องการของหญิงมีครรภ์


ที่มา : ทองยศ อเนกะเวียง
หมายเหต : 1. A = คือตัวอย่างนมพาสเจอร์ไรซ์ตัวอย่างที่ 1
2. B = คือตัวอย่างนมพาสเจอร์ไรซ์ตัวอย่างที่ 2
3. * 4 ควอร์ต = 1 แกลลอน
ผู้นำตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์อย่างเด่นชัดในปัจจุบันคือ โชคชัย ซึ่งมีการทำตลาดอย่างครบวงจร สามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ได้ถึงร้อยละ 85 โดยที่โชคชัยประสบความสำเร็จอย่างมากจากการขายตรงในระบบสมาชิก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์มีมากมายกว่า 30 ยี่ห้อ ทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกเข้ามาขยายตลาดของค่ายยักษ์ใหญ่ เช่น เมจิ ฟาร์มเฟรซ อิมพีเรียล เป็นต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคยังมีความจงรักภักดีในยี่ห้อไม่เหนียวแน่นเป็นพิเศษ ดังนั้นจุดสำคัญที่จะเข้าตลาดไม่เพียงจะต้องมีความพร้อมด้านการผลิตเท่านั้น จะต้องมีความพร้อมในด้านเครือข่ายการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุน ในจุดขายในทำเลที่สำคัญ เช่น ตามห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชน ตลอดจนความพร้อมที่จะลงไปลงทุนการขายในระบบสมาชิกขายตรง โดยจัดส่งถึงสถานที่ที่ต้องการ พร้อมทั้งกล้าที่จะทุ่มโฆษณาให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทดลองบริโภค ในขณะที่จะต้องกระจายสินค้าให้เข้าถึงทำเลที่จะขายได้อย่างทั่วถึงเพียงพอ
ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์สามารถแบ่งซอยแยกตลาดออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ตลาดนมกล่อง นมขวด และนมถุง ในส่วนของนมถุงมีสินค้าอยู่ในตลาด 2 ยี่ห้อใหญ่ๆ คือ ไทย-เดนมาร์ค และหนองโพ ซึ่งทั้งสองยี่ห้อต่างครองตลาดส่วนใหญ่ไว้ในกำมือได้ในต่างสถานที่กัน กล่าวคือ ค่ายไทย-เดนมาร์คสามารถครองส่วนแบ่งตลาดในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ เช่น ภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนหนองโพจะครองตลาดในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดที่ใกล้เคียงกับแหล่งผลิตที่จังหวัดราชบุรี ส่วนนมถุงยี่ห้ออื่นๆ จะเป็นรายย่อยที่ครองตลาดในจังหวัดต่างๆ ซึ่งผลิตเพื่อจำหน่ายเฉพาะในท้องถิ่น ในขณะที่นมพาสเจอร์ไรซ์ชนิดกล่องมีเพียงบลูซีลของค่ายโฟร์โมสต์เพียงยี่ห้อเดียว
ส่วนตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ขวด ปัจจุบันโชคชัยเป็นเจ้าตลาดอยู่ สามารถครอบ¬ครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้ถึงร้อยละ 35 ส่วนค่ายมะลิซึ่งส่งนมออร์คิดลงแข่งขันในตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ สามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึงร้อยละ 30 ส่วนฟาร์มเฟรซของค่ายโฟร์โมสต์คาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20 จุดเด่น คือ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ในลักษณะพัฒนามีความสวยงามดึงดูดกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงได้เป็นอย่างดี ส่วนแบ่งตลาดอีกร้อยละ 15 จะเป็นของผู้ผลิตยี่ห้อเล็กๆ ทั้งหลาย และผู้ผลิตรายใหม่ที่เพิ่งจะเข้าตลาดซึ่งรวมทั้งค่ายเมจิด้วย ซึ่งในกรณีของค่ายเมจิมีเป้าหมายการตลาดที่จะแย่งชิงสัดส่วนการตลาดให้ได้ถึงร้อยละ 10 การเข้าสู่ตลาดของค่ายเมจิทำให้วงการค้านมพาสเจอร์ไรซ์ ที่เคยเงียบเหงามานานมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง ทุกค่ายเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ ทั้งเพื่อขยายและปกป้องส่วนแบ่งตลาดของตนเอาไว้
ตลาดนมสเตอริไลส์
นมพร้อมดื่มสเตอริไลส์เข้าตลาดมานานกว่า 15 ปีแล้ว ผู้บุกเบิกตลาดรายแรกในเมืองไทย คือ บริษัทเนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้ชื่อยี่ห้อตราหมี ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างตลาดจนมีมูลค่าถึงปีละ 200-300 ล้านบาท หรือประมาณ 6-7 ล้านลิตรต่อปี นับเป็นการฉีกตลาดออกไป วางตำแหน่งสินค้าไว้สูง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง กลุ่มผู้สูงอายุ และคนเจ็บป่วย โดยเป็นสินค้ายอดนิยมสำหรับซื้อไปเยี่ยมไข้ นับว่าเป็นกลยุทธ์ในการสร้างตลาดให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นและศรัทธาในยี่ห้อของสินค้าอย่างมาก
ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะบางประการของนมสดพาสเจอร์ไรซ์ นมสดสเตอริไลส์ และนมยูเอชที


ที่มา:ทองยศ  อเนกะเวียง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมูลค่าทางการตลาดของนมพร้อมดื่มประเภทนี้เพิ่มขึ้นเป็น 600-700 ล้านบาท ทำให้บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด เห็นว่าตลาดนี้น่าสนใจ กอปรกับมีความพร้อมทั้งอุปกรณ์การผลิตวัตถุดิบ ตลอดจนบุคลากรทางการตลาด จึงผลิตนมสเตอริไลส์ตราออร์คิดออกวางจำหน่าย โดยอาศัยฐานชื่อเสียงจากเนยออร์คิดซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับสินค้า กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะดึงลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันก็คือ รูปแบบของหีบห่อซึ่งคล้ายคลึงกัน ทั้งรูปแบบกระป๋องและกระดาษห่อ แต่ปริมาณบรรจุของออร์คิดจะมากกว่า โดยบรรจุกระป๋องละ 160 มิลลิลิตร ขณะที่ตราหมีบรรจุเพียงกระป๋องละ 140 มิลลิลิตร ในขณะที่ราคาจำหน่ายเท่ากัน นอกจากนี้ ยังจัดให้มีพนักงานขายตรงเข้าถึงร้านค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้า ตามโรงพยาบาล
แนวโน้มของการที่จะเข้ามาตลาดแข่งขันของผู้ผลิตรายใหม่ ซึ่งมีข่าวว่าโฟร์โมสต์กำลังศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แม้ว่าขณะนี้มูลค่าทางการตลาดจะยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับนมพร้อมดื่มประเภทอื่นๆ แต่ก็มีอนาคตอยู่ในเกณฑ์แจ่มใส และการแข่งขันก็ดำเนินไปอย่างเข้มข้น มูลค่าทางการตลาดขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี แต่สิ่งที่คู่แข่งหน้าใหม่ควรจะเตรียมพร้อมก่อนจะลงสนามแข่งขันก็คือ การเข้ามาในตลาดจะเป็นการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของผู้ที่อยู่ในตลาดอยู่แล้ว พร้อมที่จะทุ่มงบประมาณในการแนะนำสินค้า ตลอดจนการส่งเสริมการขายเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าและเปลี่ยนมานิยมสินค้าใหม่ ประสานกับการต่อสู้กับคู่แข่งในช่องทางการจัดจำหน่ายพิเศษซึ่งเป็นแหล่งทำยอดขายที่สำคัญ นั่นคือ โรงพยาบาลและสถานเสริมสุขภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการผลิตและเครือข่ายทางการตลาด
ที่มา:ส่วนวิจัยเกษตรกรรม ฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย