ตะไคร้

ตะไคร้

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับปัสสาวะ

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ จะไคร ไคร คาหอม หัวสิงไค

ชื่ออังกฤษ Lemon grass

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citmtus Stapf

วงศ์ Graminae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตะไคร้เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ขึ้นเป็นกอ สูงได้ถึงหนึ่งเมตร ต้นและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบและคม ก้านใบมีสีขาวนวลหรือสีม่วงอ่อนแผ่ออกเป็นกาบหุ้มซ้อนๆ กันแน่นดูคล้ายลำต้น ดอกออกเป็นช่อยาว มีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก แต่ออกดอกยาก ผลมีขนาดเล็ก

การปลูก

ตะไคร้ปลูกง่าย เจริญงอกงามได้ดีในดินร่วนซุย ปลูก

โดยใช้ส่วนเหง้าหรือลำต้นปักชำ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนยาวพอสมควร ปักเอียงลงดิน ตะไคร้ไม่ชอบน้ำขัง ปลูกได้ตลอดปี ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้น และโคนใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา

เก็บลำต้นและโคนใบที่แก่

สารสำคัญ ใบและลำต้น ประกอบด้วยนํ้ามันหอมระเหยใน

ปริมาณสูง สารสำคัญในนํ้ามันได้แก่ ซิทราล (citral), ไลนาลูออล (linalool), เจอรานิออล (geraniol) และ การบูร เป็นต้น

ประโยชน์ในการรักษา

1. ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด

วิธีใช้ ใช้ลำต้นและโคนใบแก่สด ทุบพอแตก ประมาณ 1 กำ

มือ (ประมาณ 40-60 กรัม) ต้มเอานาดื่ม หรือใช้ประกอบเป็นอาหาร

2. ใช้แก้อาการขัดเบา (ที่ไม่มีอาการบวม)

วิธีใช้

2.1 ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (น้ำหนักสด 40-60 กรัม น้ำหนักแห้ง 20-30 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร

2.2 ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชา ดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชา พอปัสสาวะสะดวกแล้งจึงหยุดยา