ตำราชาวบ้านเกี่ยวกับหญ้าฉมวก (จีน)


ชื่อ
จีนเรียก    ฮี่เกาเช่า  ตี่เต็งเช่า  Viola inconspicua Bl.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามเนินดิน ริมทาง ริมคูนํ้า เป็นพืชยืนต้นหลายปี ไม่มีชื่อไทย
สูงประมาณ 2-3 นิ้ว ลำต้นเรียบ ใบขึ้นตรงจากรากในดิน ก้านใบยาวมาก โคนก้านใบสีแดง ใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณนิ้วเศษๆ เป็นรูปหลายหอกสามเหลี่ยม ฐานบานปลาย เป็นเหลี่ยม ปลายแหลม หลังใบสีเขียวอ่อน ออกดอกหน้าหนาวถึงหน้าร้อน ดอกรูปยาวหนึ่งถึงสี่ดอก มีกลิ่นดอกห้ากลีบ ออกลูกเป็นเม็ดเล็กๆ

รส
ขมและเฝื่อนนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานเป็นยาประสะโลหิตให้เย็น แก้พิษ ใช้ภายนอกดับพิษแก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงตับ

รักษา
ตาแดงร้อนใน ใช้พอกฝีตุ่มพิษ บวม ผู้หญิงเจ็บนม เด็กเจ็บในหู

ตำราชาวบ้าน
1. ตาแดงร้อนใน – หญ้าฉมวก ตำแหลกเอานํ้าพอกตา เว้นเฉพาะลูกตา วันละ 2-3 ครั้ง หรือใช้หญ้าฉมวก 1 ตำลึงต้มกับหญ้าดีมังกร  ครึ่งตำลึงรับประทาน
2. แก้ฝีตุ่มพิษ – หญ้าฉมวก ตำแหลกกับนํ้าตาลแดง แล้วพอก หรือตำกับดอกเบญจมาศ พร้อมนํ้าตาลแดงแล้วพอก พร้อมทั้งต้มหญ้าฉมวก   สายนํ้าผึ้ง ดอกเบญจมาศขาวหญ้าไก่นกคุ่ม อย่างละครึ่งถึง 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
3. เป็นฝีตุ่มพุพองเจ็บร้อน – หญ้าฉมวก ตำกับน้ำผึ้ง พอก
4. ฝ่าเท้าเป็นตุ่มเจ็บปวด – หญ้าฉมวก ตำกับนํ้าตาลแดง พอก
5. ผู้หญิงนมเจ็บ – หญ้าฉมวก 1 ตำลึง ต้มรับประทาน ส่วนกากใช้พอกนม
6. เด็กเจ็บที่ในหู    หญ้าฉมวก ตำกับน้ำตาลแดง พอก

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
ผู้ที่ไฟธาตุกระเพาะลำไส้อ่อน ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช