ลักษณะทั่วไปของต้นทำมัง

(Thamrnang)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litsea Petiolata Hook.f.
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น ชะมัง แมงดาต้น
ถิ่นกำเนิด มาลายูและคาคใต้ของไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 4-6 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยกว้างหรือรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตก เป็นสะเก็ดเล็กบางๆ และมีรอยด่างสีขาวกระจายทั่วไป


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบ เรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบเรียบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียวและย่นเป็นลอน สีเขียวสดเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเขียวนวล ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ใบอ่อนสีน้ำตาล อมชมพู มีขนสีเทาละเอียดปกคลุมทั้งสองด้าน


ดอก สีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ที่กิ่งแก่ขนาดเล็ก กระจุกละ 6-8 ดอก ดอกตูมทรงกลม กลีบรวมเรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบสีเขียวรูปช้อนสั้นๆ เกสรเพศผู้12 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.5-0.8 ซม. ก้านดอกยาว 0.8-1 ซม. ออกดอกเดือน ก.พ.-มี.ค.
ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรีหรือรูปไข่ กว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. สีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีน้ำเงินเข้ม มีคราบสีขาวฐานรองรับผลเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 แฉก เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาล ติดผลเดือน เม.ย.-มิ.ย. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามป่าโปร่ง ที่ราบเชิงเขาที่มีความชื้นสูง
การใช้ประโยชน์ ใบใส่แกงเผ็ด ใบ เปลือกต้นและผลแก่ใช้ตำน้ำพริก ใบอ่อนและดอกอ่อน เป็นผักเหนาะ ยอดอ่อน ลวกจิ้มกินกับน้ำพริก
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือก ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และจุกเสียด
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย