นิเวศวิทยาของต้นทุ

(Downy Myrtle, Rose Myrtle)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhodomyrtus tomentosa Wight
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ชื่ออื่น ง้าย ชวด พรวด พรวดผี พรวดกินลูก (ตะวันออกเฉียงใต้), กาทุ โทะ (ใต้), กามูติง (มลายู-ใต้) กาทุ (ชุมพร), ซวด (จันทบุรี),
พรวด (ตราด), พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี), พรวดผี (ระยอง) พรวดใหญ่ (ชลบุรี)
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน สีขาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบ รูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 5-10ซม. กว้าง 3-5 ซม.ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย ปลายใบทู่ โคนใบสอบ มีเส้นใบสามเส้นจากโคนจรดปลายใบ ก้านใบยาว 5 มม.
ดอก สีม่วงแกมชมพู ดอกแก่สีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-4 ซม. ออกดอก 1-2 ดอกตามง่ามใบ ออกดอกตลอดทั้งปี
ผล ผลแก่สีม่วงคล้ำถึงดำ รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. มีขนสีขาวสั้นๆ มีเมล็ดมาก
นิเวศวิทยา พบตามดินทราย และบริเวณป่าพรุ
การใช้ประโยชน์ ผลสุกรสหวานกินได้
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย