นิเวศวิทยาของต้นมะขาม

(Tamarind)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น ขาม ตะลูบ มอดเล หมากแกง
ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน และเขตร้อนของแอฟริกา
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 12-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 10-20 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกต้นหนา ขรุขระ สีนํ้าตาลเข้มอมเทา แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว เปลือกที่กั้นสลับร่องลึกแตกเป็นกาบหนา มีรูปร่างไม่แน่นอน


ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 7-15 ซม. ใบย่อย 10-20 คู่ ใบ เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว า.2-2 ซม. ปลายใบมนโคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวเข้มอมเทา
ดอก สีเหลืองมีลายแดง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ด้านข้างของกิ่ง และปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยยาว 5-15 ซม. ดอกย่อย 4-10 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่แกมรูปขอบขนานสีเหลืองอ่อน กลีบดอก 3 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ 3 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1 -1.5 ซม. ออกดอก เดือน มี.ค.-พ.ค.


ผล ผลแห้ง เป็นฝักหนา กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 5-15 ซม. โค้ง หรือตรงแล้วแต่ชนิดพันธุ์และคอดเป็นข้อๆ ต่อกัน เปลือกหนาแข็ง แต่เปราะหักง่าย สีนํ้าตาลอมเทา เมล็ดมีเนื้อนิ่มห่อหุ้ม เมล็ดค่อนข้างกลมแบน สีนํ้าตาลเข้มเป็นมัน 3-12 เมล็ดต่อฝัก ติดผลเดือน มิ.ย.-ก.ย. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือทาบกิ่ง
นิเวศวิทยา พบกระจายทั่วไปในป่าโปร่ง
การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ดอกและฝักของมะขามเป็นผักผลไม้ และเครื่องปรุงรส
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร แก่น กล่อมเสมหะ และโลหิต รักษาฝีในมดลูก ราก แก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม งูสวัด เปลือกต้น รักษาเริม งูสวัด สมานแผล พอกแผล ฝี ทาในปากเพื่อชะล้างแผลเรื้อรังทุกชนิด บดเป็นผงละลายนํ้า ปิดแผลในคนที่เป็นโรคเบาหวาน ต้น แก้ไข้ ตัวร้อน ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) เป็นยาถ่าย ยาระบาย รักษาหวัด หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว ต้มเอาน้ำโกรกศีรษะเด็กในตอนเช้า แก้หวัดคัดจมูก เนื้อผล แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบายยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ เมล็ดแก้ท้องร่วง แก้แผลเบาหวาน
หมายเหตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย