ต้นมันปู


ชื่อวิทยาศาสตร์ Glochidion wallichianum Muell. Arg.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น มันปู ยอดเทะ (ยอดกะทิ) นกนอนทะเล (นราริวาส), มันปู (ตรัง)


ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ สูงเต็มที่ประมาณ 15-20 ม. ปลายกิ่งห้อยลง
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ 2 ข้างของกิ่งแผ่นใบเป็นรูปรีถึงรูปรีไข่กลับ ผิวใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ปลายใบแหลม โคนใบสอบมีเส้นแขนงใบ 5-7 คู่ ใบสีเขียวสดยอดอ่อนมีสีแดง
ดอก ออกดอกเป็นกลุ่มมีขนาดเล็กมากสีเขียวอ่อนหรือเหลืองนวล เป็นช่อกระจุกตามซอกใบมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบไม่มีกลีบดอก ดอกแยกเพศ อยู่ในต้นเดียวกัน ออกดอกตั้งแต่เดือน มี.ค.-ต.ค.


ผล ผลแก่สีชมพูถึงแดง ทรงกลมแป้น กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 1.2-1.5 ซม. ภายในผล 10-12 พู ผลจะแตก เมื่อแห้ง มี 10-12 เมล็ด ต่อผล เมล็ดมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มีเยื่อสีแดงหุ้ม ติดที่ปลายของแกนผล
นิเวศวิทยา พบตามที่น้ำกร่อย บริเวณป่าพรุน้ำกร่อย แต่สามารถ ขึ้นได้ดีตามป่าโปร่ง ป่าดิบ ที่ราบเชิงเขา
การใช้ประโยชน์ ใบอ่อน ใช้กินเป็นผักสดกับขนมจีน แกงเผ็ด น้ำพริก รสชาติหวานมัน
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร รากและลำต้น ต้มดื่ม แก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย