ถั่วพุ่ม(Bush Bean)


ลักษณะทั่วไป
มักปลูกปลายฤดูฝนและเก็บเกี่ยวปลายฤดูหนาว เจริญเติบโตดี ผลผลิตไม่เสียหายมากระหว่างขนส่ง มีคุณสมบัติในการตรึงธาตุไนโตรเจนแก่ดิน เหมาะแก่การปลูกพืชระบบหมุนเวียน สามารถปลูกได้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ มีคุณค่าวิตามินแก่ผู้บริโภค
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Strike, Simillo
ฤดูปลูก ตลอดปี แต่เหมาะสมตั้งแต่กลางฤดูฝนเข้าฤดูหนาว
ระดับความสูง ต่ำกว่า 1000 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 6.0-7.0
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    15×75 ซม.(แถวเดี่ยว)
ความลึก 5 ซม.
จำนวนต้น 16 ต้น/ตร.ม.
อายุพืช 90-100 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุนผลตอบแทน และราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ผลผลิตต่ำในฤดูร้อน ต้องให้น้ำมาก ถ้าขาดน้ำระยะติดดอกจะไม่สร้างฝัก
ผลผลิต
ฤดูฝนและฤดูหนาว 100-110 กก. เป็นเกรด A ระหว่าง 80-90% และฤดูร้อน ประมาณ 80-90 กก. โดยต้องมีน้ำเพียงพอ
ราคาขายของเกษตรกร
ประมาณ 5.5-7.5 บาท ตลอดปี
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ต้นทุนต่ำ ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ยเคมี อาจใช้สารเคมีชนิดสเปรย์ในฤดูฝน
ผลตอบแทน
รายได้ต่อไรดีพอสมควร
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ต้องให้น้ำสม่ำเสมอเป็นประจำในช่วงติดดอก ไม่ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่หรืออ่อนเกินไป ไม่ตรงตามความต้องการของตลาด เกษตรกรมักเก็บเกี่ยวเมื่อฝักแก่เกินไป ทำให้คุณภาพต่ำ
การตลาด
มีแนวโน้มกว้างขวาง ราคาที่ตลาดกรุงเทพฯ 10-12 บาท/กก. การเสียหายระหว่างขนส่งต่ำ (10%)
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
หนอนกระทู้ดำ (Black Cut Worm) ป้องกันแก้ไขโดยใช้ ลอร์สแบน (Lorsban) ผสมน้ำรดเมื่อทำการปลูก
หนอนเจาะกินถั่ว (Bean Fly) เข้าทำลายระยะต้นอ่อน ป้องกันโดยใส่ฟูราดาน ก่อนหยอดเมล็ด
เพลี้ยอ่อน(Aphids) พบตลอดปี มักเข้าทำลายระยะติดฝัก วิธีป้องกันแก้ไข ใช้เซฟวิน 85 (Sevin 85) สลับกับ อโซดริน (Azodrin) หรือ แลนเนท (Lannate) สัปดาห์ละครั้ง ตามความจำเป็น
โรค
ใบจุดและใบไหม้ (Leaf Spot and Leaf Blight) เกิดจากเชื้อรา ในช่วงฤดูฝนป้องกันแก้ไขโดยใช้ โลนาโคล (Lonacol) หรือ แอนทราโคล (Antracol) หรือ ไดเทนเอ็ม45 (Dithane M 45) โรคเหี่ยว (Wilt) พบในช่วงฤดูฝนสังเกตจากอาการรากและโคนเน่า ใช้ เทอร์ราคลอร์ (Terraclor) หรือบราสซิคอล (Brassicol) ป้องกันแก้ไข
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงเพาะกล้า
ขุดพลิกดิน ทิ้งตากแดด 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน ขุดหลุมปลูกลึก 10 ซม. ห่างกัน 25 ซม. รองพื้นด้วยปุ๋ย 15-15-15 กลบดินบางๆ หยอดทีละเมล็ด พร้อมใส่ฟูราดาน กลบดินแล้วรดน้ำ
ช่วงดูแลรักษา
ปลูกซ่อม 7-10 วันต่อมา ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หลังปลูกแล้ว 25-30 วัน ระยะติดดอก (ประมาณ 45-50 วันหลังปลูก) ขุดร่องเล็กๆ ระหว่างแถว โรยปุ๋ย 13-13-21 กลบดินแล้วรดน้ำ กำจัดวัชพืชพร้อมกับการใส่ปุ๋ย ควรให้น้ำทุกวัน ใน 30 วันแรก ต่อไป 2-3 วัน 1 ครั้ง แล้วแต่ความชื้นในดิน
ข้อควรระวัง
จำเป็นต้องมีความชื้นในดินเพียงพอในระยะติดดอก มิฉะนั้นพืชจะไม่สร้างฝัก
ช่วงเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยว 2-3 ครั้ง/ฤดู เมื่อฝักเริ่มโตจัด ขณะที่เป็นสีเขียวอ่อน ถ้าถั่วแก่เกินไป จะมีสีเขียวเข้มและสร้างเมล็ดในฝัก ควรเก็บเกี่ยวถั่วขณะที่มีเมล็ดอ่อน จึงได้คุณภาพดี และเก็บในวันที่ขนส่งไปตลาด
ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่