นกยูงไทย

ชื่อสามัญ Green Peafowl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pavo muticus

นกยูงชอบอาศัยอยูในป่าดงดิบทึบที่ระดับความสูง 3,000-4,000 ฟุต อยู่รวมกันเป็นฝูง ตัวผู้คุมตัวเมียได้หลายตัว จะส่งเสียงร้องในเวลาเช้าและเย็น บินเก่ง ชอบนอนตามต้นไม้สูง ๆ แต่จะทำรังตามพื้นดิน ตัวผู้จะทำลานไว้สำหรับรำแพน ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมิถุนายน-กันยายน วางไข่ครั้งละ 5-8 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 28 วัน ตัวผู้จะมีสีเต็มเมื่ออายุ 3 ปี มี 3 ชนิดย่อย

1. นกยูงอินโดหรือนกยูงไทยภาคใต้ (Javanese green peafowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า p.m. muticus มีถิ่นกำเนิดอยูในเกาะชวา มาเลเซีย และไทยตั้งแต่ใต้คอคอดกระลงไป นกยูงพันธุ์นี้มีสีคลํ้ากว่านกยูงที่อยู่เหนือคอคอดกระ มีขนคลุม หัวปีกออกเป็นสีฟ้าอมเขียวสวยงามกว่าชนิดอื่น ๆ

2. นกยูงไทยเหนือคอคอดกระ (Indo-Chinese green peafowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า p.m. imperator มีถิ่นกำเนิดและการกระจายถิ่นอยู่เหนือคอคอดกระขึ้นไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ภาคตะวันออกของแม่นํ้าอิระวดี ประเทศพม่า ตอนบนของมณฑลยูนนาน ลาว เขมร และเวียดนาม เป็นนกยูงที่มีขนาดใหญ่และรูปทรงสูงกว่าชนิดอื่นๆ สีไม่เข้มเท่าชนิดแรก ขนคลุมหัว

ปีกออกเป็นสีฟ้า

3. นกยูงพันธุ์พม่า (Burmese green peafowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า p.m. spicifer พบทางฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าอิระวดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและบังคลาเทศ เป็นนกยูงที่มีสีคลํ้าทึบ ขนคลุมหัวปีกสีดำมีขอบเป็นสีฟ้าเข้ม มีความแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ เห็นได้ชัดเจน