นิเวศวิทยาของต้นโปรง

(Prong)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brownlowia peltata Benth.
ชื่อวงศ์ TILIACEAE
ชื่ออื่น เข็ง นานเกรง โบร๋
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 12-30 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปไข่ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา อวบน้ำ แตกเป็นร่องตื้น หลุดล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กว้างหรือรูปไข่กว้างแกมรูปขอบขนาน กว้าง 12-30 ซม. ยาว 18-50 ซม. ปลายใบมนหรือเว้าเข้า โคนใบแบบปิดก้น ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา และเหนียว สีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีนวลมีขนประปราย ก้านใบสีน้ำตาลอมแดงมีขนยาว 0.5-1 ซม.


ดอก สีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง ยาว 30-40 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีม่วงเข้มปนสีเนื้อ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนานปลายกลีบพับกลับไปข้างหลัง เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.6-1 ซม. ออกดอกเดือน ก.พ.-มี.ค.
ผล ผลแห้ง ทรงกลมแป้น มีสองพู เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. เปลือกสีม่วงอมน้ำตาล มีกลีบเลี้ยงคงอยู่ เมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลอ่อน 2 เมล็ดต่อผล ติดผลเดือน เม.ย.-พ.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบเขาริมลำธารที่ความสูง 50-600 ม. จาก ระดับน้ำทะเล
การใช้ประโยชน์ ใช้เป็นอาหารเลี้ยงแมลง ที่มีประโยชน์ในการแพทย์ (stick insects)
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย