น้ำผึ้ง

(Honey)

น้ำผึ้งได้มาจากสัตว์ปีกมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เอพิต สบีซี่ (Apis spp)

จากพุทธประวัติก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ มีความตอนหนึ่งกล่าวว่า นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาส ซึ่งมีความหมายว่า ข้าวอันเกิดจากน้ำผึ้งมาถวาย พระพุทธเจ้า ทำให้พระองค์มีพระวรกายแข็งแรงขึ้นหลังจากที่ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยา แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อว่าน้ำผึ้งเป็นยาวิเศษที่ใช้บำรุงร่างกาย

น้ำผึ้งคือของเหลวที่มีรสหวาน มีความหนืดสูง เป็นผลผลิตที่ได้จากผึ้ง โดยผึ้งจะได้ความหวานมาจากเกษรดอกไม้

ผึ้งมีวิธีในการผลิตน้ำผึ้งคือ ผึ้งจะดูดเอาน้ำหวานเข้าเก็บในกะเพาะน้ำหวาน เมื่อบินกลับสู่รังจะคายน้ำหวานนี้ให้กับผึ้งที่ทำหน้าที่ผลิตนํ้าผึ้งอีกกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะพวกนี้จะดูดน้ำหวานเข้าสู่กระเพาะน้ำหวาน และขับนํ้าย่อยหรือเอ็นไซม์ออกมาคลุกเคล้าน้ำหวาน เพื่อช่วยย่อยน้ำตาลและสร้างสารต่างๆ ขณะเดียวกันก็จะกระพือปีกเพื่อให้เกิดความร้อนภายใน นํ้าระเหยออกจากน้ำหวานไปเสียบ้าง หลังจากนั้นก็จะคายเอาน้ำหวานนั้นมาเก็บไว้ที่ปากเพื่อให้เปลี่ยนเป็นน้ำผึ้งในขั้นต่อไป และในขณะเดียวกันก็ไล่น้ำออกไปด้วยการกระพือปีกเช่นเดียวกัน ขบวนการผลิตน้ำผึ้งนี้จะใช้เวลาประมาณ ๒๔ ชั่วโมง จึงจะเสร็จเป็นน้ำผึ้ง

ปกตินํ้าหวานจากดอกไม้จะมีน้ำอยู่ประมาณ ๕๐ – ๖๐% และหลังจากนั้นที่ผลิตน้ำผึ้งแล้วจะมีนํ้าไม่เกิน ๒๐% นํ้าผึ้งที่ผลิตได้จะถ่ายไปเก็บในหลอดรังต่อไป เมื่อเต็มแล้ว ผึ้งอีกพวกหนึ่งก็จะสร้างฝาขี้ผึ้งไปปิดหลอดรังเก็บเป็นอาหารต่อไป นํ้าผึ้งที่เก็บไว้อย่างนี้ นานเท่าไรก็ไม่เสีย นับว่าเป็นการถนอมอาหารที่ดีเลิศอย่างหนึ่งของธรรมชาติ

สรุปความหมายของน้ำผึ้งก็คือ น้ำหวานจากรวงผึ้งที่ได้จากผึ้งซึ่งเก็บรวบรวมมาจากเกสรดอกไม้นานาชนิดนั่นเอง

ส่วนประกอบของนํ้าผึ้งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ

๑. ส่วนประกอบส่วนใหญ่

๒. ส่วนประกอบส่วนย่อย

ขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์โดยเฉลี่ยของน้ำผึ้งมาให้ท่านดังนี้

ส่วนประกอบส่วนใหญ่

๑. น้ำตาลฟรุคโตส   ๔๑.๐ %

๒. น้ำตาลกลูโคส     ๓๕.๐ %

๓. น้ำตาลซูโคลส์     ๑.๙ %

๔.    น้ำตาลเด็กตริน        ๑.๕%

๕.    น้ำ                    ๑๗.๐%

ส่วนประกอบส่วนย่อย ได้แก่

แร่ธาตุต่างๆ

สี (รงควัตถุ)

โปรตีน

น้ำย่อย (เอ็นไซม์) ไวตามินบีต่างๆ เช่น วิตามินบีหนึ่งและบี ๒ ไพริด๊อกซิน, นีโคตินิค ซึ่งปริมาณของส่วนประกอบต่างๆ ขึ้นกับชนิดของดอกไม้

อาจมีวิธีการปนปลอมของพ่อค้าเพื่อหวังผลกำไรมากๆ ซึ่งมีหลายวิธี คือ

๑. เคี่ยวฝักฉำฉาผสมกับน้ำผึ้ง

๒. ใช้น้ำตาลทรายเคี่ยวผสมกับนํ้าผึ้ง

๓. ละลายแบะแซในนํ้ากลั่นผสมกับน้ำผึ้ง

ซึ่งน้ำผึ้งเหล่านี้ผู้ซื้อไม่ค่อยชำนาญในการสังเกตจะไม่ทราบ เลยว่าเป็นนํ้าผึ้งที่มีการปนปลอม

ในกรณีผักฉำฉาผสมในน้ำผึ้งนั้น จากความเชื่อถือนั้นผักฉำฉาเป็นยาระบาย แต่ก็ยังไม่มีการวิจัยเป็นที่แน่ชัดว่า ภายในผักฉำฉามีสารอะไรอยู่บ้าง มีสารพิษหรือไม่ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

นํ้าเชื่อมที่ผสมในน้ำผึ้งปลอมกับนํ้าตาลที่มีอยู่ในน้ำผึ้งแท้ มีคุเนค่าทางอาหารแตกต่างกันหรือไม่

จากส่วนประกอบของนํ้าผึ้ง จะเห็นว่าส่วนใหญ่คือน้ำตาล ส่วน ๗๘% เป็นน้ำตาล ที่เรียกว่าโมโนแซคคาไรด์ ซึ่งดูดซึมได้เร็ว สามารถให้พลังงานได้เร็วกว่าน้ำตาลธรรมดา และน้ำตาลในน้ำผึ้งจะมีรสกลมกล่อมกว่านํ้าเชื่อมธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นยังมีสารอินทรีย์ ถึงแม้ว่าเป็นส่วนประกอบย่อยทำให้รสและกลิ่นดีขึ้นอย่างมาก

ส่วนน้ำผึ้งผสมแบะแซ แบะแซนั้นทราบมาว่าได้จากข้าวโอ๊ตหมัก ซึ่งไม่มีพิษภัยอะไรแต่อาจให้คุณค่าทางยาน้อยลง

วิธีตรวจการปนปลอมของน้ำผึ้ง

๑. วิธีการตรวจการปนปลอมของน้ำผึ้งตามพื้นบ้าน มีวีธีง่ายๆ คือ ประการแรก ใช้กระดาษซับ กระดาษฟางหรือกระดาษทิสชูเช็ดหน้านี้เอง โดยหยดน้ำผึ้งลงบนกระดาษนั้น ถ้าเป็นน้ำผึ้งที่ปนปลอมมันจะซึมขยายวงกว้างออกไป วิธีนี้ตรวจยากถ้าน้ำผึ้งนั้นผสมแบะแซ เพราะจะไม่ซึม วิธีที่สองคือ ใช้ความชำนาญในการชิมรสและดมกลิ่น และวิธีสุดท้ายคือ ถ้าเป็นน้ำผึ้งที่ปนปลอมเวลาเปิดฝาจะมีแก๊สพุ่งออกมา

๒. การตรวจการปนปลอมของนํ้าผึ้งโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ คือ

๑. ใช้กล้องส่องที่เรียกว่า โปลาริมิเตอร์ (polarimeter) น้ำผึ้งแท้จะหมุนแสงไปทางซ้าย ถ้าเติมน้ำตาลหรือแบะแซ จะทำให้การหมุนแสงไปทางขวามือ ซึ่งทำให้เราทราบได้ว่ามีการปนปลอมนํ้าตาลชนิดอื่นๆ ลงไปไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทรายหรือแบะแซ การ หมุนของแสงจะผิดกัน

๒. เรียกว่า เรซอซินอลเทสต์ resorcinotest คือบางคนปลอมโดยเอานํ้าตาลมาสลายด้วยกรด ผลที่ได้ทำให้ผลึกของนํ้าตาลใกล้เคียงกับน้ำผึ้ง ถ้าเอานํ้าผึ้งที่สงสัยมาสกัดด้วยอีเธอร์และเติมสารละลายเรซอซินอลลงไป ถ้าเป็นน้ำผึ้งปลอมจะได้สีแดงทันที ส่วนนํ้าผึ้งแท้จะไม่มีสี

๓. วัดหาปริมาณของขี้เถ้าและไนโตรเจนของน้ำผึ้ง นํ้าผึ้งแท้เมื่อนำมาเผาจนเป็นเถ้าถ่าน จะมีเถ้าถ่านเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง แต่ถ้าน้ำผึ้งปนปลอมนั้นมักจะได้มาจากน้ำตาลที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ ขี้เถ้าและไนโตรเจนจะน้อยกว่าน้ำผึ้งแท้มาก คือน้ำผึ้งจะมีเถ้าประมาณ ๐.๒% ไนโตรเจนประมาณ ๐.๐๕ % ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสหรัฐอเมริกา

๔. ปริมาณของน้ำหรือความชื้น ถ้าเกิน ๒๐% ก็น่าจะเชื่อว่าเป็นน้ำผึ้งที่ปนน้ำลงไป

นํ้าผึ้งนั้นสีแตกต่างกันได้มาก เท่าที่ทราบจะมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม สีของน้ำผึ้งจะบอกอะไรเราได้ไม่มาก สีของมันนั้นขึ้นกับชนิดของเกสรดอกไม้ที่นำมาบ้าง ท่านอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าถ้าสีขาวใสละก็ปลอม สีเข้มก็นํ้าผึ้งแท้ จะปลอมหรือไม่ก็ต้องดูที่ส่วนประกอบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สีของน้ำผึ้งมีได้ตั้งแต่ใส เหลือง น้ำตาล จนถึงสีดำ เช่น สีนํ้าผึ้งที่ใด้จากดอกมะพร้าวมีสีนํ้าตาล

ทำไมน้ำผึ้งเดือน ๕ จึงถือว่าเป็นน้ำผึ้งที่ดีที่สุดนั้น คือ

เดือน ๕ ก็จะเป็นเดือนประมาณ กุมภาพนธ์ -มีนาคม ช่วงนี้จะเป็นที่มีดอกไม้มาก น้ำผึ้งในรังก็มีปริมาณสูง และมีสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม เป็นช่วงที่ไม่มีฝน ทำให้น้ำในน้ำผึ้งมีปริมาณต่ำได้ตามมาตรฐาน ส่วนช่วงเดือนอื่นๆ แม้ว่าจะมีดอกไม้มากก็มักจะมีฝนตกหรือช่วงที่ปลอดฝนก็มักจะมีดอกไม้ต่ำ เพราะฉะนั้นช่วง เดือน ๕ จึงเป็นเดือนที่พอเหมาะทั้ง ๒ ประการ คือที่มีดอกไม้มาก นํ้าผึ้งสูงและปลอดฝนด้วย

การเก็บรักษาน้ำผึ้ง

ประการแรก คือ ถ้าเป็นนํ้าผึ้งแท้ที่ได้มาตรฐาน คำว่าได้มาตรฐานคือมีเปอร์เซ็นต์ของน้ำไม่เกิน ๑๘% แล้วละก็ สามารถจะเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น เพราะน้ำผึ้งแท้ นั้นเป็นอาหารที่สามารถจะเก็บไว้ได้เป็นปีๆ โดยไม่เปลี่ยนแปลง ในที่นี้น้ำผึ้งแท้ในบ้านเรา ก็พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นน้ำผึ้งเดือน ๕ ก็พอจะถือว่าเป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพดีได้

ประการที่สอง นํ้าผึ้งในบ้านเราที่นำมาวิเคราะห์กันนั้น แม้ว่าจะเป็นน้ำผึ้งที่ไม่ปนปลอมมักจะมีเปอร์เซ็นต์ของน้ำสูง ทำให้การเก็บไว้นานไม่ได้ จะทำให้มีรสเปรี้ยว สีสรรเปลี่ยนไป ถ้ามีปัญหาอย่างนี้ขอแนะนำว่า เมื่อท่านได้น้ำผึ้งมานั้นควรจะนำไปตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวเพื่อให้นํ้าระเหยออกไปเสียบ้าง ตรวจดูว่านํ้าผึ้งมีความเหนียวพอสมควรแล้วก็ยกลงเก็บไว้ จะสามารถเก็บไว้ได้นาน ข้อควรระวังคือ อย่าใช้ไฟแรงหรือต้มให้เดือด สารบางอย่างในน้ำผึ้งจะถูกทำลาย ทำให้คุณภาพของน้ำผึ้งลดลงได้ อย่าต้มให้ถึงกับเดือด ต้องการน้ำผึ้งชนิดดีก็ต้องใจเย็นๆ

ประการที่สาม ควรจะเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำๆ เพราะบ้านเราจัดเป็นประเทศร้อน ทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้น้ำผึ้งเปลี่ยนสี และทำให้คุณภาพลดลงได้บ้าง ถ้าเป็นไปได้ก็เก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดาปิดฝาให้สนิทจะดีที่สุด

ประโยชน์ของน้ำผึ้งในแง่สมุนไพร

ตามตำรายาจีนน้ำผึ้งเป็นยาทำให้ชุ่มชื่น ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ เป็นยาแก้พิษโดยใช้ร่วมกับยาสมุนไพรได้เเทบทุกชนิด เช่น ผสมในยาแก้ไอทำให้รับประทานง่ายขึ้น เป็นอาหารแก้หิวกระหายได้ และคนจีนเอาหัวไชเท้าผสมน้ำผึ้งแก้โรคบิด ส่วนความเชื่อถือของตำรายาไทยก็คล้ายกับยาจีนคือ ใช้เป็นกระสายในยาแทบทุกชนิดเพื่อให้รับประทานง่าย ผู้มีอายุนำผลยอสุกจิ้มน้ำผึ้งรับประทานบำรุงธาตุ ขับลม แก้โรคเบาหวาน แก้ไอ

คุณประโยชน์ทางยาของน้ำผึ้งตามหลักวิทยาศาสตร์ที่อธิบายอย่างมีเหตุผล คือ

๑. เป็นตัวทำให้กลิ่นและรสที่ดี นิยมใช้ผสมยาน้ำเกือบทุกชนิด นอกจากจะได้กลิ่นและรสแล้ว นํ้าตาลในนํ้าผึ้งจะช่วยทำให้ชุ่มคอ ลดการระคายเคืองลง จึงมักจะพบว่านำไปผสมกับยาแก้ไอ

๒. มีความเชื่อกันว่าใช้รักษาเบาหวานได้ ซึ่งเรื่องนี้มีเขียนไว้ในหนังสือทั้งไทยและเทศว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกี่ยวกับการขาดสมดุลย์ของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้มีการเผาผลาญสารอาหารผิดปกติไป ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อรับประทานนึ้งซึ่งมีน้ำตาลฟรุค-

โตสอยู่ จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกดีขึ้นเท่านั้น น้ำผึ้งเองยังไม่มีหลักฐานว่าจะใช้รักษาเบาหวานได้ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และการรับประทานน้ำผึ้งมากๆ จะกลายเป็นข้อโทษเสียอีกด้วยซ้ำไป

๓. น้ำผึ้งใช้ในการรักษาแผลติดเชื้อต่างๆ ในที่นี้ จะรวมไปถึงการดองจากสัตว์ต่างๆ ของน้ำผึ้งไปเสียด้วยกันเลยคือ เขาใช้น้ำผึ้งรักษาแผล ทั้งนี้เพราะน้ำผึ้งมีปริมาณน้ำตาลสูง จึงสามารถดูดเอาความชื้นจากบริเวณข้างเคียงตลอดจนในตัวของเชื้อโรคเข้าไปไว้ในตัวของมัน ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้

กลไกในการรักษาแผลอีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่าในน้ำผึ้งมีสารที่ยับยั้งการเจริญเติบโต คือมีสารที่เรียกว่า “อินธิมิน” ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ เชื่อว่า อินธิมิน คือไฮโดรเย่นเปอร์ออกไซด์ ที่เราใช้ล้างแผลนั่นแหละ

๔. นํ้าผึ้งใช้เป็นยาบำรุง ก็เนื่องจากน้ำผึ้งเป็นทั้งอาหาร คือ นํ้าตาล เกลือแร่ และไวตามินบางอย่าง เพราะฉะนั้นน้ำผึ้งจึงเป็นยาบำรุง หรือยาอายุวัฒนะได้

๕. น้ำผึ้งเป็นสารที่ให้พลังงานสูง ดูดซึมได้ง่ายกว่านํ้าตาลธรรมดา น้ำผึ้งใช้ในทางยา นายแพทย์ลูดตทิงเกร์ ได้เเนะว่าถ้าต้องการเพิ่มน้ำตาลในนมควรจะใช้น้ำผึ้งแทน เพราะน้ำตาลในน้ำผึ้งถูกดูดซึมได้เร็วกว่านํ้าตาลธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นน้ำผึ้งยังมีเกลือแร่ที่สำคัญคือแร่เหล็กที่จะช่วยในการสร้างเฮโมโกลบิน ในการพบเช่นนี้เขาวิเคราะห์ดูแล้วปรากฏว่าน้ำผึ้งสีเข้มจะมีแร่เหล็กสูงกว่าพวกสีจาง และบางรายใช้รักษาท้องผูก เพิ่มน้ำหนักของเด็กได้อีกด้วย

๖. นํ้าตาลในน้ำผึ้งสามารถจะดูดซึมแล้วให้พลังงานได้ทันที พวกนักกีฬาต่างๆ ชอบใช้น้ำผึ้ง

๗. ใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้ เพราะมีน้ำตาลสูงจึงคอยดูดนํ้าออกจากแผลพุพองได้

ในทางเภสัชกรรมใช้เป็นตัวแต่งกลิ่นให้หวานหอม ในยาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยาแก้ไอจะช่วยให้รสดีและชุ่มคอหรือผสมในยาพวกไวตามิน

รอยัลเยลลี่ เป็นสารอาหารที่ผึ้งงานขับออกจากตัวมันสำหรับเร่งการเจริญเติบโตของตัวหนอนอ่อนของผึ้ง และช่วยบำรุงให้นางพญาผึ้งอายุยืนกว่าผึ้งชนิดอื่น และสามารถออกไข่ได้ตลอดเวลาวันละประมาณ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ฟอง รอยัลเยลลี่เป็นสิ่งที่หายากเพราะผลิตได้ทีละน้อยและมีคุณค่าทางอาหารและยามาก จึงเป็นที่ต้องการของเภสัชอุตสาหกรรม ราคาแพงมากถึง ก.ก. ละ ๖,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง ยังมีการนำรอยัลเยลลี่มาเป็นอาหารเพาะตัวอ่อนและพญาผึ้งอีกด้วย

ผู้ทดลองเรื่องนี้ได้พยายามหาวิธีการที่จะเตรียมสารผสมเคมีที่มีราคาถูก มาเป็นสารกระตุ้นให้ผึ้งงานผลิตรอยัลเยลลี่ในรังให้ได้ปริมาณมากขึ้น แทนที่จะใช้รอยัลเยลลี่จริงๆ ซึ่งสิ้นเปลืองกว่ามากมาย จึงได้เตรียมสารผสมซึ่งประกอบด้วยสารเคมีที่ท่านซื้อได้จากร้านขายยา ดังต่อไปนี้ วิตามินเอ, บีหนึ่ง, บีสอง, บีหก, บีสิบสอง, ดี และซี เกลือของธาตุเหล็กและคัลเซี่ยม ละลายในน้ำกลั่น และปรับ PH ให้เป็นกรดด้วยกรดซิตริก นำสารผสมนี้ ประมาณ ๑o ไมโครลิตรไปหยดใส่ในถ้วยเพาะ ซึ่งเป็นพลาสติกรูปถ้วยชาขนาดเล็กๆ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปากถ้วย ประมาณ๑.๐ ซม. และลึก ๑.๓ ซม. แลวนำหนอนของผึ้งงานซึ่งมีอายุ ๒ วันจากรังผึ้ง โดยใช้เข็มควักที่สะอาดและฆ่าเชื้อแล้วตักตัวหนอนมาวางบนหยดสารผสมในถ้วยเพาะนั้น นำถ้วยเพาะไปไว้ในรังผึ้ง จัดสภาพของการเพาะให้เหมาะสม ผึ้งงานจะปล่อยรอยัลเยลลี่ลงในถ้วยนั้นเมื่อครบ ๗๒ ชั่วโมงแล้ว จึงตรวจดูลักษณะของตัวหนอนที่โตขึ้นมาและดูปริมาณของรอยัลเยลลี่ในถ้วยเพาะ ปรากฏว่าสารเคมีผสมสารทำใหหนอนเติบโตได้เต็มที่ และเพาะพญาผึ้งได้ถึง ๙๘- ๑๐๐% เท่าๆ กับผลที่ใช้สารรอแยลเยลลี่จริง สรุปได้ว่า การใช้สารผสมเคมีจำพวกวิตามินและเกลือแร่บางอย่างสามารถกระตุ้นการผลิตรอยัลเยลลี่และการเพาะพญาผึ้งได้เป็นอย่างดี และราคาถูกกว่าวิธีเดิมมากมาย

รอยัลเยลลี่ ๑ กรัม ประกอบด้วยวิตามินต่างๆ คือ

ไทอามีน (วิตามินบี ๑)             ๕             ไมโครกรัม

ไทโมฟลาริน (วิตามินบี ๒)       ๙             „

ไพริด๊อกซิน (วิตามินบี ๖)         ๓-๕๐       „

ไนอาซิน (วิตามินบี ๕)             ๑๐๐        „

ไบโอดิน                                   ๑.๗           „

อินนอซิตอล                             ๑๐๐        „

โฟลิคเอซิด                               ๐.๒           „

แพนไทธินิคเอซิด                     ๒.๐๐        „

เมื่อทราบถึงคุณค่าของสิ่งที่ได้จากผึ้งแล้ว ก็ควรจะทราบถึงที่มาและความเป็นอยู่ของผึ้งบ้างเล็กน้อย

ในผึ้งรังหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นผึ้งชนิดใด จะประกอบด้วยผึ้ง ๓ ชนิดคือ

๑. แม่รัง หรือนางพญา หรือควีน ขนาดของมันจะโตกว่าชนิดอื่นๆ มองเห็นได้อย่างชัดเจน ปกติใน ๑ รังจะมีเพียงตัวเดียว หน้าที่คือทำหน้าที่วางไข่

๒. ผํ้งตัวผู้ (โดรน) พวกนี้ตัวเล็กกว่าควีน มีจำนวนน้อยกว่า ๑ เปอร์เซ็นต์ มีหน้าที่คอยผสมกับควีน นอกจากนั้นก็ยังไม่ทราบว่าทำหน้าที่สำคัญอะไร

๓. ผึ้งงาน (เวิร์คเกอร์) เป็นผึ้งตัวเมีย ทำงานทุกอย่างในรัง เช่น ทำรัง ผลิตขี้ผึ้ง เก็บน้ำหวาน ผลิตน้ำผึ้ง และทำหน้าที่เป็นทหารรักษารัง ตัวเล็กแต่ขยัน

ผึ้งมีวัฎจักรของชีวิต ดังนี้

ควีน นับจากวางไข่วันแรก จะออกมาเป็นควีนเมื่อครบ ๑๖ วัน

ผึ้งงาน ใช้เวลา ๒๑ วัน

ผึ้งตัวผู้ ใช้เวลา ๒๔ วัน

สำหรับควีนจะได้รับรอแยลเยลลี่ตั้งแต่เป็นตัวหนอนวันแรก จนกระทั่งเข้าดักแด้ ส่วนผึ้งงานและผึ้งตัวผู้จะได้รับ ๓ วันแรก หลังจากนั้นจะได้รับน้ำผึ้งผสมเกสรป้อนจนกระทั่งเข้าดักแด้

เมื่อออกมาเป็นตัวแล้ว จะสามารถบินขึ้นไปผสมพันธุ์บนอากาศได้เมื่ออายุตั้งแต่ ๔ วันเป็นต้นไป ซึ่งจะปล่อยกลิ่นที่เรียกว่า “sex attractant ” ซึ่งตัวผู้ได้กลิ่นนี้จะพากันบินตามขึ้นไปผสมพันธุ์ ตัวใดแข็งแรงที่สุดที่บินตามถึงก่อนจะได้ผสมพันธุ์แล้วถุงน้ำเชื้อของตัวผู้ก็จะขาดติดไปกับควีน แล้วผึ้งตัวผู้ก็จะตกลงมาตาย ส่วนควีนก็จะบินกลับรัง ต่อไปอีก สัก ๒-๓ วันก็จะไข่ ซึ่งสามารถจะไข่ได้วันละประมาณ ๒,๐๐๐ ฟอง และจะไข่ไปได้ถึง ๒- ๓ ปี

เมื่อไข่ออกมาถ้าต้องการให้เป็นผึ้งงานหรือควีน ก็จะฉีดน้ำเชื้อตัวผู้ลงไปกับไข่ ถ้าต้องการให้เป็นตัวผู้ก็จะไม่ฉีดน้ำเชื้อลงไปผสมด้วย อีกกลิ่นหนึ่งเรียกกันว่า “ Queen substance ” มีหน้าที่สำหรับรวมฝูงผึ้งภายในรังให้อยู่ร่วมกัน และทำให้ผึ้งคอยป้อนอาหารให้ควีนอยู่ตลอดไป อีกอย่างหนึ่งควีนจะบังคับรังไข่ของผึ้งงานซึ่งก็เป็นผึ้งตัวเมียเหมือนกัน ให้ฝ่อ แต่ถ้าควีนสูญหายไปกลิ่นี้จะสลายตัว ผึ้งงานตัวใดตัวหนึ่งจะได้รับการป้อนอาหารจากผึ้งงานด้วยกัน จนกระทั่งรังไข่ค่อยเจริญเติบโตขึ้นจนสามารถไข่ได้ แต่เป็นไข่ที่ไม่มีเชื้อตัวผู้ ฉะนั้นเมื่อไข่ออกมาจึงเป็นตัวผู้หมด สำหรับผึ้งงานมีชีวิตสลับซับซ้อนมาก

วันที่สำคัญที่สุดของผึ้งงานคือเมื่ออายุได้ ๗ วันเป็นต้นไป และรอบวงมาเมื่อมีอายุได้ ๑๒- ๑๘ วัน เมื่ออายุ ๗ วัน ต่อมผลิตรอแยลเยลลี่ซึ่งอยู่เหนือกราม ๒ ต่อมจะเริ่มทำงานได้ แล้วขับออกทางปากสำหรับป้อนควีนและป้อนหนอนอ่อน ซึ่งผลที่ได้รับจะทำให้ควีนไข่เก่ง แข็งแรง ส่วนตัวหนอนก็จะเจริญขึ้นตามขั้นตอน

อย่างรวดเร็ว เมื่ออายุได้ ๑๒- ๑๘ วัน ต่อมผลิตขี้ผึ้ง (wax gland) จะสามารถทำงานได้ โดยผึ้งงานจะกลืนน้ำผึ้งลงไป แล้วกลั่นเป็นขี้ผึ้งด้วยต่อมนี้       แล้วจะขับออกมาตามช่องอกเป็นเกล็ดเล็กๆ และผึ้งงานจะบรรจงซ่อมสร้างรวงรังต่อไป เมื่ออายุได้ ๒๑ วันเป็นต้นไปจะเริ่มออกหาอาหารเช่นน้ำหวานมากลั่นเป็นน้ำผึ้ง และเกสรมาป้อนควีนและลูกอ่อน เมื่อพบแหล่งอาหารแล้วจะมาบอกพวก ผึ้งงานภายในรังโดยการเต้นเป็นวง และลื่นตัวไปตามแต่ระยะทางใกล้ไกล และความมากน้อยของอาหารนั้นๆ

ผึ้งงานจะมีชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณ ๓๐- ๓๕ วัน แต่ก็เป็นไปได้ในบางฤดูที่อากาศเย็นสบาย อาจจะมีอายุได้ ๕๕ วันเป็นอย่างสูงสุด สำหรับผึ้งตัวผู้อาภัพมาก เพราะธรรมชาติไม่ได้สร้างเครื่องมือหาอาหารและเหล็กในไว้ต่อสู้กับศัตรู จึงหากินเองไม่ได้และจะสู้กับใครก็ไม่ได้ เมื่อควีนผสมพันธุ์แล้วจะหมดความหมายลง ถ้าผึ้งงานไม่ให้เข้ารังเมื่ออยู่ภายนอกหาอาหารกินเองไม่ได้ก็จะอดตายไปในที่สุด

ความจริงแล้วผึ้งมีหลายชนิด แต่เพื่อให้แคบเข้าเอาเฉพาะที่เรารู้จักในไทย ผึ้งที่รู้จักกันแบ่งเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ ๓ ชนิด คือ

๑. ผึ้งหลวง (เอพิส ดอร์ซาต้า) พวกนี้ตัวโต ดุร้าย หรือเรียกว่าผึ้งป่า ไม่นิยมเลี้ยง เพราะเลี้ยงไม่เชื่อง ชอบทำรังขนาดใหญ่ตามต้นไม้ใหญ่ๆ ในป่า

๒. ผึ้งโพรง (เอพิส อินดิก้า) เป็นผึ้งที่เลี้ยงกันตามบ้านโดยทั่วไป ตัวค่อนข้างเล็ก และสามารถเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมได้ โดยเฉพาะทางภาคใต้

๓. ผึ้งมิ้ม (เอพิส ฟลอเรีย) เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็ก ชอบทำรังตามพุ่มไม้ต่างๆ

จะมีผึ้งอีกชนิดหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการเลี้ยงในประเทศไทยเราคือ ผึ้งพันธุ์อิตาเลียน หรืออิตาเลียนบี ทีเลี้ยงพันธุ์อิตาเลี่ยนเพราะผึ้งพันธุ์อิตาเลี่ยนเป็นผึ้งที่เชื่อง ไม่ตื่นตกใจง่าย สามารถอยู่รวมกันได้ขนาด ๕๐,๐๐๐ – ๘๐,๐๐๐ ตัว ไม่แยกรัง (swarm) และที่สำคัญมีความต้านทานโรคได้ดี อีกทั้งยังมีความสามารถในการหาเกสรและน้ำหวานได้อย่างดี

หลักการในการเลี้ยงผึ้งมีหลายจุดประสงค์คือ เลี้ยงเพื่องานอดิเรก หรือต้องการให้ผึ้งช่วยผสมเกสรให้พืชผลภายในบ้านสวน เพื่อได้ติดดอกออกผลและได้น้ำผึ้งไว้ใช้และขายตามสมควร หรือเลี้ยงเป็นอาชีพ

เลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อขายน้ำผึ้ง, พันธุ์ผึ้ง, ขี้ผึ้ง โดยตรง เมื่อจะเลี้ยงเป็นอาชีพ นอกจากความรู้และประสบการณ์แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ

๑. เงินทุนหมุนเวียน

๒. ปริมาณและแหล่งของดอกไม้

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็เริ่มได้ ซึ่งการดำเนินงานก็ย่อมขึ้นอยู่กับฤดูกาล เช่น หนาว ฝน หรือร้อน

โดยเหตุที่เมีองไทยเรายังไม่อาจที่จะตั้งอยู่ประจำที่หนึ่งที่ใดได้ เพราะดอกไม้มีไม่เพียงพอ เมื่อผึ้งผสมเกสรจนติดดอกออกผลแล้วจึงจำเป็นต้องย้ายหาที่ใหม่ต่อไป

ถ้าเป็นฤดูฝนหรือร้อน ควรต้องอาศัยร่มเงาของพุ่มไม้บ้าง เพื่อบังสายฝนและแสงแดดในตอนบ่าย

ส่วนฤดูหนาวไม่มีปัญหาเรื่องร่มเงานัก จะตั้งในที่โล่งแจ้งก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นที่เนินลงเพราะอาจมีกระแสลมแรง ทำให้ผึ้งถึงที่หมายช้า และเหนื่อยหน่ายในการบินฝ่าสายลมด้วย

สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ นอกจากปริมาณของดอกไม้แล้วก็คือน้ำสะอาด จะต้องมีอยู่ใกล้ๆ ยิ่งเป็นฤดูร้อนจะต้องจัดหาไว้ให้ตลอดเวลา อย่าให้มีนํ้าเน่าเสียอยู่ใกล้ๆ ได้เป็นอันขาด เพราะเมื่อผึ้งไปกินจะทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารได้ เช่น ท้องร่วง ท้องเดิน และบิด เป็นต้น

การเลี้ยงผึ้งนอกจากจะให้ประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงโดยตรงแล้ว ผึ้งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่จำเป็นสำหรับเกษตรกร คือผึ้งจะทำหน้าที่ช่วยผสมพันธุ์ของเกสรต่างๆ ทำให้ผลไม้ต่างๆ มีผลเพิ่มขึ้นกว่าการผสมโดยไม่ใช้ผึ้ง เรื่องนี้มีการทดลองในมหาวิทยาลัยเกษตร พบว่าเมื่อเลี้ยงผึ้งในไร่แล้วทำให้ส้มโอ มะพร้าว และผลไม้ในบริเวณใกล้เคียงเพิ่มผลผลิตขึ้นอีกตั้งแต่ ๑๐๐- ๓๐๐% ยังมีบางท่านที่เข้าใจผิดเห็นผึ้งตอมดอกไม้ก็คิดว่าไปทำลายผลไม้ จึงใคร่ขอเรียนยํ้าว่า ผึ้งทำประโยชน์ให้เเก่ผลิตภัณฑ์ของท่านอย่างแน่นอน หรือมีความเชื่อว่าผึ้งไม่ดูดนํ้าหวาน ออกไปทำให้ความหวานของผลไม้ลดลง ความจริงแล้วจะมีผึ้งหรือไม่ ความหวานในดอกไม้จะสลายไปเองไม่เกี่ยวกับผึ้ง หากมีการเลี้ยงผึ้งใกล้กับเรือกสวนของท่าน ท่านจะได้ผึ้งมาช่วยเพิ่มผลผลิตของท่านโดยไม่รู้สึกตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ใคร่ขอเรียนให้ท่านทราบว่า หากจะมีการใช้ยาฆ่าแมลงก็ขอความกรุณาได้บอกกล่าวผู้เลี้ยงผึ้งด้วย

เพื่อที่จะป้องกันให้ผึ้งออกไปสัมผัสกับยาฆ่าแมลงได้ มิฉะนั้นผึ้งจะถูกทำลายและผลิตภัณฑ์ของท่านก็จะลดลง

การเลี้ยงผึ้งหากสามารถคุมเรื่องโรค เช่น โรครังเน่า, โรคตัวอ่อนเน่า และแมลงที่มารบกวน เช่น ไร (mite) หรือเหาผึ้ง (Bee louse ) ได้แล้ว ก็แน่ใจว่าจะต้องคุ้มต่อการลงทุนอย่างแน่นอน

สิ่งที่ต้องลงทุน

๑. พันธุ์ผึ้ง

๒. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้ง เช่น เครื่องพ่นควัน, เหล็กงัด, เฟรม, แปรงปัดตัวผึ้ง, แปรงปัดพื้นรังผึ้ง เหล็กขูดขี้ผึ้ง, หมวกตาข่าย, ถุงมือ, รองเท้าบู๊ต, มีดตัดปุ่มและปาดขี้ผึ้ง, กล่องใส่ควัน, ถังปั่นนํ้าผึ้ง, กับใส่นํ้าผึ้ง

๓. ยาในการป้องกันและรักษาโรคผึ้งขนิดต่างๆ ผลิตผลที่ขายได้เป็นหลัก คือ

๑. น้ำผึ้ง

๒. ขี้ผึ้ง

๓. รอแยลเยลลี่

๔. พันธุผึ้ง

ทั้งสี่อย่างนี้ยังเป็นสิ่งที่ต้องการของตลาดอย่างสูง เพราะต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ในอัตราสูงต่อปี ส่วนเรื่องราคาก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำผึ้งนั้นๆ ว่าเป็นนํ้าผึ้งของดอกไม้อะไร กลิ่น รส และสีเป็นอย่างไร ความเข้มข้นอยู่ในมาตรฐานมากน้อยเพียงใด ผู้รับซื้อคือบริษทผู้ผลิตยาใหญ่ๆ หลายแห่ง

ราคาน้ำผึ้งก็ตั้งแต่ ก.ก. ละ ๕๐ – ๑๒๐ บาท

ขี้ผึ้งตั้งแต่ ก.ก. ละประมาณ ๘๐ – ๑๐๐ บาท

รอแยลเยลลี่ ก.ก. ละ ๖,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ บาท

เมื่อนํ้าผึ้งเต็มแน่นสมควรที่จะเอาออกได้ ก็ทำการคัดออกโดยทำเครื่องหมายเลขที่ของรังและเลขที่ของแผ่นเสียก่อน เพื่อกันการสับเปลี่ยนแผ่นกัน ส่วนแผ่นใดที่ผึ้งใช้ขี้ผึ้ง ปิดน้ำหวานไว้ ก็ใช้มีดซึ่งมีความร้อนปาดออกใส่ถังปั่น เมื่อนํ้าผึ้งออกหมดแล้วจึงเรียงเข้าไปใหม่ตามหมายเลขของรังและตามเบอร์ของแผ่นตำแหน่ง

เมื่ออยู่กับผึ้งเป็นประจำ การถูกผึ้งต่อยนั้นก็มีบ้างเป็นธรรมดา หากเผลอไปจับ หรือไปบีบตัวผึ้งเข้า แต่ก็ยังดีกว่ายุงกัด เพราะยุงกัดจะเป็นตุ่มคันอยู่นาน บางทีก็มีเชื้อโรคบางอย่างอยู่ด้วย แต่ผึ้งต่อยเมื่อถอนเหล็กในออกแล้วสักครู่ก็หายเจ็บ ผลพลอยได้จากถูกผึ้งต่อยก็ยังเป็นภูมิต้านทานทำให้ไม่บวมในภายหลัง และโรคปวดข้อปวดกระดูกเช่นรูมาติซั่มจะหายไปได้

ส่วนการที่จะป้องกันไม่ให้ผึ้งต่อยนั้น

๑. ต้องตั้งใจให้มันคงอย่ากลัว เมื่อผึ้งตอมหรือเกาะอย่าปัดป้อง อยู่นิ่งๆ สักครู่ เมื่อเขาเห็นว่าไม่เป็นอันตรายต่อเขาๆ ก็จะเลิกสนใจเราแล้วบินหายไป

๒. เมื่อเข้าหาผึ้งต้องนิ่มนวล อย่าพรวดพราดจะทำให้ผึ้งตกใจแล้วยกพวกเข้าโจมตีเอาได้ เมื่อตรวจผึ้งอย่าบีบหรือทับผึ้งให้บาดเจ็บหรือตายได้ เพราะยังจะปล่อยกลิ่นออกไป เมื่อผึ้งข้างเคียงได้กลิ่นนั้นจะรู้ว่าพวกถูกทำร้ายก็จะช่วยกันยกพวกเข้าต่อยเราได้

๓. เมื่อเราใช้สบู่ นํ้าหอม หรือน้ำมันใส่ผมชนิดใดก็ควรใช้ชนิดนั้นต่อไป ถ้าเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นเมื่อผิดกลิ่นออกไปผึ้งจำกลิ่นไม่ได้ก็จะโดนต่อยเอาได้

๔. เสื้อผ้าที่ใช้ควรเป็นสีอ่อนๆ เช่น ขาว เทา หรือเหลืองอ่อน ฟ้าอ่อน อย่าใส่สีดำเพราะผึ้งจะตอมไม่ค่อยทิ้งไปง่ายๆ รวมความแลวจะต้องมีสมาธิ มีความนิ่มนวลเป็นสำคัญ

ถ้าผึ้งต่อยมีวิธีแนะนำคือ ต้องค่อยๆ จับเหล็กในทางปลายแล้วดึงออก อย่าจับตรงโคนของมัน เพราะจะยิ่งทำให้พิษมันไหลออกมามากขึ้น

สรุปสรรพคุณ

น้ำผึ้ง คือน้ำหวานจากรวงผึ้งที่ได้จากผึ้งเก็บรวบรวมมาจากเกสรดอกไม้นานาชนิด ประกอบด้วยน้ำตาลที่ย่อยง่าย แร่ธาตุสีจากธรรมชาติ โปรตีน แร่ธาตุ น้ำย่อย วิตามินบี ๑ และ ๒ วิตามินชนิดอื่นๆ สีธรรมชาติ สิ่งที่กล่าวมานี้มีความจำเป็นต่อร่างกายมาก น้ำผึ้งที่ดีขึ้นอยู่กับฤดูของเกสรดอกไม้ น้ำผึ้งที่ดีที่สุดคือน้ำผึ้งเดือนห้า เนื่องจากมีดอกไม้มาก น้ำผึ้งสูงปลอดฝน

น้ำผึ้งช่วยหล่อเลี้ยงลำไส้ ขับปัสสาวะ ผสมหัวไชเท้าแก้บิด เป็นกระสายยาได้ เกือบทุกชนิด น้ำตาลในน้ำผึ้งย่อยง่ายและดูดซึมได้ง่าย เป็นน้ำตาลที่ผู้เป็นโรคเบาหวานรับประทานได้เพื่อให้รู้สึกดีขึ้นเท่านั้น แต่มิได้แก้โรคเบาหวาน

น้ำผึ้งรักษาแผลติดเชื้อต่างๆ ได้

รอยัลเยลลี่ประกอบด้วยวิตามินต่างๆ เกลือแร่ ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ

น้ำผึ้งเป็นเครื่องดื่มจากสมุนไพรที่มีคุณค่าสูง อาจชงกับน้ำดื่มหรือบีบมะนาวผสมลงไป ช่วยระบายท้องได้ดีอีกด้วย