บทบาทของครูเกษตร

ครู คือ บุคคลที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดพัฒาการโดยรอบขึ้นในตัวผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรมในระดับที่วิญญูชนจะพึงปฏิบัติได้ และมีลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งในแง่บุคคลิกทั่วไป ความสัมพันธ์ต่อศิษย์และบทบาทต่อสังคม

เมื่อมองในอีกลักษณะหนึ่ง ครูก็คล้าย ๆ กับคนสวนที่จะช่วยรดน้ำพรวนดิน ช่วยใส่ปุ๋ย และเสริมสร้างบรรยากาศให้ต้นไม้แต่ละต้น ได้เจริญเติบโตตามที่เขาถนัดและตามที่เขาพอใจ

ครูเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบการศึกษาทุกระดับ แม้ว่าสถานศึกษาใดจะมีอาคาร ที่ดิน วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ พร้อมเพียงใดก็ตามถ้าองค์ประกอบที่เรียกว่า “ครู”ไม่ดีแล้วก็ย่อมทำให้การสอนการเรียนหย่อนประสิทธิภาพได้ ความสำคัญของครูสามารถจะเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

ครูดี + การสอนดี = โรงเรียนดี

ครูในระดับประถมศึกษาถือได้ว่าเป็นครูที่สำคัญที่สุด เพราะเขาเป็นผู้วางรากฐานและหล่อหลอมเยาวชนไทยให้เป็นคนดีในอนาคฅ เหมือนดังคำขวัญที่ว่า เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง ดังนั้นครูเกษตร หรือครูสามัญและผู้ที่ทำหน้าที่สอนวิชาเกษตร ควรจะมีลักษณะ บทบาทและหน้าที่ต่องานภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาดังนี้

คุณลักษณะของครูเกษตรหรือผู้ที่จะสอนวิชาเกษตร

1. ใจรัก ต้องเป็นผู้ที่ชอบการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ธรรมชาติวิทยา และมีความจริงใจในอาชีพครูเกษตร

2. อดทน เนื่องจากงานเกษตรเห็นผลช้า กรำแดดกรำฝนจึงต้องมีความอดทนมาก

3. เสียสละ งานเกษตรไม่มีวันหยุดราชการ เช่น สัตว์ก็ต้องกินอาหารทุก ๆ วัน ผู้รับผิดชอบจึงต้องอุทิศตนและเสียสละเวลามาดูแลบ่อย ๆ

4. รู้จริง ครูเกษตรและผู้ที่จะสอนวิชาเกษตรต้องรู้จริงทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ และสามารถประสานสัมพันธ์วิชาเกษตรให้เข้ากับวิชาอื่นได้

5. ริเริ่ม ครูเกษตรควรมีความคิดริเริ่ม และทำนำเป็นตัวอย่างแก่คนอื่น ๆ

6. รู้จักเด็ก ต้องเข้าใจระบบการเรียนรู้ของเด็กและความต้องการของเด็กวัยต่าง ๆ สนใจต่อการพัฒนาตัวเด็กไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาสังคม

7. รู้หน้าที่งานครูที่แท้จริง เช่นความมุ่งหมายของการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ ระเบียบต่าง ๆ และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ

8. มีความเชื่อมั่นต่อตนเองในการสอน และเตรียมพร้อมอยู่เสมอด้วยการผูกตนเอง พูดซ้อมหน้ากระจก อัดเทปฟังดู ทำโน๊ฅย่อในบัตรเล็กๆ เหล่านี้เป็นต้น

9. รู้จักเทคนิคและกลวิธีสอนแบบต่าง ๆ เพื่อตัวเองจะได้เลือกใช้ให้เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และนำความรู้ใปใช้ประโยชน์ได้

10. รู้จักกำหนดขอบเขตการสอน มีการวางแผนและการเตรียมการสอน ตลอดจนการวางตน และปรับปรุงบุคคลิกภาพของตนให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ

หน้าที่และบทบาทของครูเกษตร

ครูเกษตรควรจะมีบทบาทและหน้าที่ต่อสังคมเหมือนกับครูสามัญและครูคนอื่น ๆ แต่ในฐานะที่ประเทศของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ครูเกษตรควรจะได้แสดงบทบาทให้มากขึ้น และแสดงบทบาทนำหน้าในหลาย ๆ ด้าน เช่น

1. เป็นครูสอนวิชาการเกษตรและสาขาอื่น ๆ แก่เด็ก

2. เป็นวิทยากรทางวิชาเกษตรสำหรับประชาชนในชนบท

3. จัดหรือร่วมจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นทั้งในและนอกโรงเรียนให้แก่ประชาชน และเกษตรกรในท้องถิ่น

4. จัดหรือร่วมจัดประชุมอภิปรายหรือจัดนิทรรศการเกี่ยวกับปัญหาการเกษตรและการทำมาหากินในท้องถิ่น

5. เป็นผู้นำทางวิชาการและปฏิบัติวิชาเกษตรแผนใหม่ให้เป็นตัวอย่างแก่ประชาชน

6. เป็นนักสังคมสงเคราะห์ เป็นพัฒนากร และเป็นมิตรของประชาชน

7. เป็นนักส่งเสริมการเกษตร หรือเป็นตัวการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเกษตรกร

8. เป็นผู้สะสมและค้นหาวิทยาการแผนใหม่อยู่เสมอ

9. เป็นที่ปรึกษาของชุมนุม สหกรณ์ และกล่มยุวเกษตรกรต่าง ๆ

10. ร่วมมือกับครูคนอื่น ๆ เพื่อจัดหารายได้จากฟาร์มโรงเรียนเพื่อนำเงินมาใช้ เป็นสวัสดิการของครูและนักเรียนในโรงเรียนของคน

11. อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีความรู้ มีความประพฤติดีสามารถเลี้ยงดูตนเอง และทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้

12. รักษาและถ่ายทอคศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติให้คงอยู่ตลอดไป

13. กระตุ้นเตือนให้ประชาชนชอบแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

14. เป็นผู้คอยแนะนำสิ่งที่ดีงามและวิทยาการแผนใหม่ให้เเก่ศิษย์และอนุชนรุ่นหลัง