ประดู่แดง

(Monkey Flower ‘Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllocarpus septentrionalis Donn Sm.
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – CAESALPIMIOIDEAE
ชื่ออื่น วาสุเทพ
ถิ่นกำเนิด อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปทรงแผ่และห้อยย้อยลง เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา มีสะเก็ดขนาดเล็กตามแนวขวาง สีน้ำตาลอมดำ


ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 13-15 ซม.ใบย่อย 3-5 คู่ เรียงตรงข้ามและเรียงจากขนาดเล็กไปใหญ่ จากโคนถึงปลาย รูปไข่หรือรูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง แต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวสดเกลี้ยง


ดอก สีแดงอมส้ม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่น ที่รอยแผลของก้านใบและปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 5-7 ซม. ดอกย่อยรูปดอกหางนกยูง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ สีแดง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 9-10 อัน สีแดง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1.5-2 ซม. ออกดอก เดือน ม.ค.-ก.พ.
ผล ผลแห้ง เป็นฝักทรงแบนแผ่เป็นปีก รูปรีแกมรูปขอบขนาน คล้ายใบ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ฝักเหนียวมีเส้นนูนคล้ายเส้นใบ มีกระเปาะกลมหรือรูปรีนูนเด่น สีเขียวอ่อน เมื่อสุกสีน้ำตาลแดง เมล็ด ค่อนข้างกลมแบน สีน้ำตาลอ่อน ส่วนมากมี 1 เมล็ดต่อฝัก ติดผลเดือน มี.ค.-เม.ย. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณแล้งทางภาคเหนือลงมาจนถึงภาคตะวันตก
การใช้ประโยชน์ ปลูกตามแนวถนน ให้ดอกสีแดงดูงามตา และดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย