ประโยชน์ของชอบชะนาง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Pouzolzia pentandra Benn.
ชื่ออื่นๆ หญ้าหนอนตาย (เหนือ) ตอสีเพาะเกล ตาสียาเก้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เปลือกมึนดิน (แม่ฮ่องสอน) หญ้ามูกมาย (สระบุรี)


ลักษณะ ไม้ล้มลุกขนาดเล็กเนื้ออ่อน เลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดจะตั้งขึ้น มี 2 ชนิดคือ ขอบชะนางแดง กับขอบชะนางขาว ใบเดี่ยวออกสลับกัน จะมีข้อแตกต่างกันคือ ใบขอบชะนางแดงรูปใบเป็นรูปใบหอก ส่วนรูปใบของขอบชะนางขาวเป็นรูปค่อนข้างมนกลม เส้นใบของทั้งสองชนิดจะเห็นเด่นชัดเป็น 3 เส้น สีใบและต้นของขอบชะนางแดงเป็นสีม่วงอมแดง โดยเฉพาะแผ่นใบสีจะเด่นชัดคือหลังใบมีเส้นสีเขยวเข้มอมแดง ท้องใบสีแดงคลํ้า ส่วนสีใบสีต้นของขอบชะนางขาว เป็นสีเขียวอ่อนๆ ทั้ง 2 ชนิดมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ ดอกช่อขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบกับกิ่งเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ดอกของขอบชะนางแดงมีสีแดง ส่วนดอกของขอบชะนางขาวเป็นสีเขียวอมเหลือง ผลแห้ง ไม่แตกแบบ achene
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นบนดิน
ประโยชน์ทางยา นํ้าจากใบสดขับนํ้านม ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ทั้งต้นปิ้งไฟแล้วชงด้วยนํ้าเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก ในฟิลิปปินส์ ใช้ใบขับระดูขาว ใบสดตำพอกฝีและแก้อาการอักเสบ ต้นสดตำใช้เป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลงในวัวควายที่เป็นแผลเน่าขนาดใหญ่ ตำใบสดของขอบชะนางเติมปูนขาวลงไป ยัดลงในแผลเน่าที่มีหนอน หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย ใบสดตำวางไว้บนไหปลาร้าที่มีหนอน หนอนจะตาย
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ