ประโยชน์ของตะไคร้


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Slapf.
ชื่ออื่นๆ ตะไคร้แกง (กลาง) คาหอม (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ไคร (ใต้) จะไคร (เหนือ) เชิดเกรย เหลอะเกรย (สุรินทร์) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (ปราจีนบุรี) เฮียงเม้า (จีน)
ชื่ออังกฤษ Lemon Grass, Lapine, Sweet Rush, Ginger Grass.
ลักษณะ พืชล้มลุกรวมกันอยู่เป็นกอ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบยาวแคบและคายมือ กว้าง 1-2 ซ.ม. ยาว 70-120 ซ.ม. ใบต้นเหง้ามีกลิ่นหอม มีเหง้าแข็งใต้ดิน ขยายพันธุ์ โดยการแตกหน่อ ใบต้นเป็นสีเขียวอมเทาขาว ตะไคร้แกงไม่พบดอกบ่อยนัก
ส่วนที่ใช้ ต้นใบ เหง้า
สารสำคัญ มีนํ้ามันหอมระเหย ชื่อว่า Lemon grass oil หรือ Verbena oil หรือ Indian Molissa oil ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น citral ประมาณ 80%
ประโยชน์ทางยา ใช้ขับลม ขับเหงื่อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ในอินเดียใช้แก้อาเจียน ในคนเป็นอหิวาตกโรค โดยใช้รับประทานยาชงของตะไคร้หนัก 120 กรัม ด้วยน้ำเดือด ประมาณครึ่งลิตร และดื่มเป็นยาขับเหงื่อ เมื่อมีอาการไข้ เหง้าตะไคร้ผสมกับพริกไทยดำป่น รับประทานแก้ประจำเดือนไม่ปกติ ยาภายนอกใช้นํ้ามันตะไคร้ทาแก้ปวดเมื่อย เนื่องจากจะช่วยทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ทามากขึ้น
พบว่านํ้ามันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย
อื่นๆ นํ้ามันตะไคร้ ใช้เข้าเครื่องสำอางพวกโอเดอโคโลญ สบู่ และไปสังเคราะห์ ทำ ionone ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของนํ้าหอม
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ