ประโยชน์ของระย่อมน้อย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Rauvolfia serpentina Benth. ex Kurz
ชื่ออื่นๆ ระย่อม (กลาง) กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กะย่อม (ใต้) เข็มแดง (เหนือ)คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที่ สะมอสู (กาญจนบุรี) ระย่อมตีนหมา ขะย่อม กะย่อม เข็ม ย่อม
ชื่ออังกฤษ Indian Snake Root, Rauwolfia.
ลักษณะ ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 1 เมตร มีนํ้ายางใสสีขาว ใบเดี่ยวออกรอบๆ ข้อ ข้อละสามใบ รูปหอก ความกว้างสุดของใบอยู่ทางปลายใบ ใบกว้าง 3-6 ซ.ม. ยาว 5-15 ซ.ม. ปลายใบแหลม โคนใบแคบลงจนเป็นหางยาว แผ่นใบบาง ดอกช่อสีแดง เมื่อบานกลีบดอกด้านในขาว ออกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ก้านช่อ ดอกยาว 5-10 ซ.ม. สีแดง กลีบรองกลีบดอกขนาดเล็กสีขาวแกมเขียวและเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบดอกเป็นหลอดสีแดงติดกันตอนกลางหลอดจะมีลักษณะเป็นกระพุ้ง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลอุ้มนํ้ามีทั้งผลเดี่ยว และแฝด 2 ผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีดำ
ส่วนที่ใช้ ราก
สารสำคัญ มีอัลคาลอยด์ที่แยกออกมาได้ไม่น้อยกว่า 50 ชนิด แต่ที่สำคัญและมีฤทธิ์ในการบำบัดรักษาโรคได้แก่ reserpine, rescinnamine และ deserpidine ส่วนอัลคาลอยด์ชนิดอื่นๆ ได้แก่ reserpinine, ajmaline, isoajmaline, rauwolfinine และ rauhimbine
ประโยชน์ทางยา
ยาแผนปัจจุบัน อินเดียใช้บดรากระย่อมและเตรียมเป็นยาเม็ด ทางยุโรปและอเมริกาเตรียมจากสารสกัดของระย่อม ทำเป็นยาเม็ด ยาฉีด ใช้เป็นยาลดความดัน และกล่อมประสาท สารสำคัญที่ออกฤทธิ์นี้คือ reserpine, rescinna¬mine และ deserpidine
ยาโบราณ ใส่ในพวกยาบำรุง ทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร รับประทานแล้วจะเจริญอาหารและสมบูรณ์
ยาภายนอก ใช้รากตำผสมนํ้ามันพืช เช่น นํ้ามันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด

ยาสัตว์ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในม้า
อาการข้างเคียง รับประทานยาเข้าระย่อมจะทำให้คัดจมูกอาจมีอาการซึมเศร้า ควรรับประทานนํ้ามากๆ จะทำให้อาการข้างเคียงลดลง
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ