ประโยชน์ของสนหางสิงห์


ชื่ออื่น จันทยี (เชียงใหม่) สนเทศ สนแผง (กรุงเทพฯ) เฉ็กแปะ (แต้จิ๋ว) เช่อป๋อ (จีนกลาง) Oriental Arborvitae, Chinese Arborvitae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Biota orientalis (L.) Endl.
(B. chinensis Hort.)
(Thuja chinesis Hort.)
(T. orientalis L.)
วงศ์ Cupressaceae
ลักษณะต้น เป็นไม้ยืนต้น เขียวตลอดปี เจริญเต็มที่สูง 20 เมตร ลำต้น บิดเป็นเกลียว เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง มีกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นเกล็ด เล็กเรียงติดแน่นกับกิ่ง แผ่เป็นแผง ดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่ต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีก้านสั้น ดอกตัวเมียไม่มีก้าน ขยายพันธุ์โดยเมล็ด นิยมปลูก เป็นไม้ประดับตามสวนหย่อม
ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น ใบ ผล
สรรพคุณ
เปลือกต้น ฝนเป็นยากวาดทวารเบา ยาฝาดสมาน ทำให้ระดูขาว แห้ง
ใบ ลดไข้ แก้ปวดข้อ ห้ามเลือด อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาออก ปัสสาวะเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร ตกเลือด บีบมดลูก-ขับระดู ไอ ขับ เสมหะ ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต แก้บิดไม่มีตัว ฝาดสมาน แก้แผลพุพองจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก ไฟลามทุ่ง คางทูม
ผล เป็นยากล่อมประสาทในพวกที่มีอาการรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ ใช้บรรเทาอาการลำไส้ตีบ
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงท้อง
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล