ประโยชน์ของสะเดาช้าง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
ชื่ออื่นๆ ไม้เทียม ต้นเทียม (ใต้)
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 30-40 เมตร ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบรูปขนนก ใบยาว 20-60 ซ.ม. ใบออกเป็นพุ่มที่ปลายกิ่ง ก้านใบตรงโคนมีร่องเล็กๆ 1 ร่อง ใบย่อยก้านใบสั้นมาก รูปหอกแกมมน ปลายใบแหลม ฐานใบไม่เท่ากัน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบย่อยมี 7-11 คู่ แผ่นใบกว้าง 2-3.5 ซ.ม. ยาว 4-12 ซ.ม. ใบสีเขียวเป็นมัน ดอกช่อ ออกตามง่ามใบ ดอกย่อยสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผลรูปไข่รี เมื่อยังอ่อนสีเขียวแก่จัดสีเหลือง เนื้อภายในนุ่มรับประทานได้ ค้างคาวชอบกินผล ผลอ่อนกรีดดูจะมียางสีขาว มี 1 เมล็ด เมล็ดมีกลิ่นแรง
ส่วนที่ใช้ เนื้อไม้ ใบ ยอดอ่อน เมล็ด
สารสำคัญ พบสาร azadirachtin 0.4 0.5% ในเมล็ดแก่ของต้นเทียม
ประโยชน์ ยอดอ่อน อาหาร
เนื้อไม้อ่อน สามารถไสกบตกแต่งได้ง่าย และพบว่า ปลวก มอด และแมลงไม่ค่อยรบกวน นิยมใช้ทำฝาบ้านและเฟอร์นิเจอร์
ผลแก่ ใช้ปราบศัตรูพืช สามารถกำจัดแมลงได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยชนิดต่างๆ แมลงศัตรูในยุ้งฉาง (มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวเปลือก) หนอนชอนใบ หนอนใยผัก เกษตรกรนิยมใช้ใบและเมล็ดแก่ตำ แช่น้ำ กรอง นำไปใช้พ่นฆ่าแมลงได้ผลดี เทียมนี้จะพบขึ้นเองในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ของไทยตั้งแต่สุราษฎร์ธานี ลงไปจนถึงสุมาตรา ส่วนทางเหนือ ตะวันออกไม่ค่อยพบ
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ