ประโยชน์ของไคร้หางหมา


เกี๊ยงปลาไหล, ราชาวดีพันธุ์ฟ้า
ชื่อ
จีนเรียก   ตกเฮียะโพเกีย  แชเก้ง  โป้เก้ง Buddleiaasiatica Lous.

ลักษณะ
สมุนไพรชนิดนี้ชอบขึ้นตามทุ่งนาและริมกำแพงบ้านเรือน บางทีก็มีคนนำมาปลูกใช้เป็นยา เป็นพืชประเภทไม้เล็ก มีกลิ่นหอมทั้งต้น ลำต้นมีขนละเอียด สูง 4-5 ฟุต ใบคู่ ก้านใบสั้นมาก รูปใบแคบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ขอบใบมีรูปฟันขึ้นเป็นหยักๆ หน้าใบสีซีดกว่าหลังใบ เอ็นใบขึ้นชัด ออกดอกเป็นช่อ แยกเป็นกลีบเล็กๆ มีเมล็ดติดอยู่เป็นจำนวนมาก

รส
รสเฝื่อน กลิ่นหอม ไม่มีพิษ รากมีรสจืด

สรรพคุณ
กินแก้ลมแก้บวม ใช้พอกไล่ลม ฤทธิ์เข้าถึงปอดและลำไส้

รักษา
แก้หญิงมีครรภ์ปวดหัว บวมนํ้า เด็กบวมน้ำ เจ็บปวดกระเพาะ ปวดเอว ปวดท้องเนื่องจากหวัดร้อน ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คอแห้งหลังคลอดบุตร

ตำราชาวบ้าน
1. ปวดหัวลมขึ้นเบื้องสูงหลังคลอด – รากไคร้หางหมา 1 ตำลึง ตุ๋นเหล้า หรือใช้ไคร้หางหมา 1 ตำลึง ต้มหมูรับประทาน
2. บวมน้ำหลังคลอด – รากไคร้หางหมาครึ่งตำลึง ตุ๋นเหล้ารับประทาน
3. เด็กบวมน้ำ-ใบไคร้หางหมา 7 ใบ ต้มกับแมลงสาบ 7 ตัว (เด็ดหัวปีกและเครื่องในออกหมด) ต้มกิน ห้ามกินเค็ม
4. ปวดกระเพาะเนื่องจากลม – ไคร้หางหมาครึ่งตำลึง ตุ๋นเหล้า
5. ปวดเอวเนื่องจากลมในไต – ไคร้หางหมา 1 ตำลึง ต้มกับเนื้อสันหมู
6. ปวดท้องเนื่องจากหวัดร้อน – รากไคร้หางหมาครึ่งตำลึง ต้มน้ำ
7. ปวดเมื่อยเนื่องจากลม – ไคร้หางหมาทั้งต้นและใบ ต้มอาบ ตำรานี้ใบแก้ผิวหนังผื่นคันด้วย
8. กระหายน้ำหลังคลอด – เม็ดไคร้หางหมา 3 เฉียน ต้มกินต่างน้ำ

ปริมาณใช้
รากหรือใบสดกินไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกิน 3 ถึง 5 เฉียน กิ่งและรากใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช