ประโยชน์ของไพล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber purpureum Rose.
Syn.    Z. cassumunar Roxb.
ชื่ออื่นๆ ปูลอย ปูเลย (เหนือ) ว่านไฟ (กลาง) มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ เป็นพืชที่มีเหง้าใต้ดินเช่นขมิ้น ต้นบนดินสูง 0.8-1.5 เมตร หน้าแล้งต้นบนดินจะโทรม หน้าฝนจะแทงหน่อใหม่พร้อมทั้งดอก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็น 2 แถว ใบยาวเรียวรูปขอบขนานแกมหอกกว้าง 2-4 ซ.ม. ยาว 18-30 ซ.ม. ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ ก้านช่อดอกยาวโผล่มาจากดิน รูปของช่อดอกเป็นรูปแหลมหัวแหลมท้ายตรงกลางป่อง ใบประดับซ้อนกันแน่น เรียบ สีของใบประดับ เป็นสีเขียวอมม่วง ดอกบานทีละ 2-3 ดอก จากล่างไปบน ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกบาง เนื้อในเหง้าไพลสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ มีไพลอีกชนิดหนึ่ง เป็นไพลม่วง เหง้าจะมีสีม่วงชมพู ส่วนใบจะใหญ่กว่ายาวกว่าไพลธรรมดา ใบออกสลับกัน ต้นบนดินมีกาบใบสีม่วง ใบสีเขียวแก่
ส่วนที่ใช้ เหง้าใต้ดิน
สารสำคัญ มีน้ำมันหอมระเหย 0.8% camphene, ß-phellandrene, zingiberene เป็น ses¬quiterpene มี ketone volatile oil ชื่อ shogaol ซึ่งมีรสเผ็ดร้อน มีสาร 4-(4- hydroxy-1-butenyl) veratrole ออกฤทธิ์ขยายหลอดลม นอกจากนั้นยังมี monoterpene อื่นๆ อีก 6 ชนิด และมีสารที่ให้สีคือ curcumin
ประโยชน์ทางยา แก้บิด ขับลม ใช้แก้หืด ยาภายนอกใช้ผสมในลูกประคบ ประคบแก้ปวดเมื่อย ใช้ทาแผลมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใส่ในหม้อต้มนํ้าสมุนไพรอาบ
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ