ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหูกวาง

(Singapore Almond, Tropical almond)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa L.
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น โคน ดัดมือ ตัดมือ
ถิ่นกำเนิด อิดิสตะวันออก เอเชียเขตร้อน และออสเตรเลีย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มค่อนข้างกลม หรือรูปพีระมิดหนาทึบ แตกกิ่ง ตั้งฉากกับลำต้น เมื่อต้นโตเต็มที่ปลายกิ่งจะลู่ลง เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 8- 15 ซม. ยาว 12-25 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบแคบ เว้า และมี ต่อม 1 คู่ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นและห่อลง แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวสดเรียบเป็นมันผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มที่เส้นแขนงใบ ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้มและแดง ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.


ดอก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะเป็นแท่ง ยาว 8-12 ซม.โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน เป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอก สมบูรณ์เพศอยู่บริเวณโคนช่อ เกสรเพศผู้ 10 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.5-0.6 ซม. ออกดอกเดือน ก.พ.-เม.ย.
ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวรูปไข่หรือรูปรี ป้อมและแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. สีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียวมีเนื้อ และชั้นหุ้มเมล็ดค่อนข้างแข็งและเหนียวเมล็ดรูปรี สีนํ้าตาลติดผลเดือน พ.ค.-ก.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
การใช้ประโยชน์ ปลูกให้ร่มเงา หรือเป็นไม้ประดับได้
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใบ ขับเหงื่อ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้โรคไขข้ออักเสบ ใบแก่สีแดงขับพยาธิ ตำผสมกับนํ้ามันจากเมล็ด ทารักษาโรคเรื้อน ผล รสเปรี้ยวเฝื่อน เป็นยาถ่าย เปลือกต้น ขับลม แก้ท้องเสีย ทั้งต้น สมานแผล แก้ไข้ แก้โรคบิด
หมายเหตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย