ประโยชน์ของหางนกยูงฝรั่ง

(Mame Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf.
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น นกยูงฝรั่ง ส้มพอหลวง หงอนยูง อินทรี
ถิ่นกำเนิด เกาะมาดากัสการ์ในแอฟริกา
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-12 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปร่ม แผ่กว้างและโปร่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา เรียบ


ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แกนกลางใบ ประกอบยาว 20-40 ซม. แยกแขนงตรงข้าม 12-20 คู่ ยาว 8-15 ซม. ใบย่อย 20-30 คู่ เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปขอบขนานกว้าง 0.2-0.3 ซม. ยาว 0.5-1 ซม. ปลายใบมนโคนใบเบี้ยว แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวเรียบเกลี้ยง


ดอก สีแดงอมส้มหรือเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นขนาดใหญ่ ที่ด้านข้างกิ่งและปลายกิ่ง ดอกรูปดอกหางนกยูง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปขอบขนาน ผิวด้านนอกสีเขียวสด ผิวด้านในสีแดงอมส้มหรือเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ 10 อัน เส้นผ่านศูนย์กลาง ดอก 5-7 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-มิ.ย.
ผล ผลแห้งแตกสองตะเข็บ เป็นฝักทรงแบน กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. เปลือกแข็ง สีเขียว เมื่อสุกสีน้ำตาลอมดำ เมล็ดเรียงตามขวางของฝัก เมล็ดมีเปลือกแข็งรูปรี สีดำ 30-50 เมล็ดต่อฝัก ติดผลเดือน ก.ค.-ต.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
การใช้ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาเนื้อไม้ใช้ทำเชื้อเพลิง เมล็ดใช้เป็นอาหารสัตว์
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร รากอากาศ เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย
หมายเหตุ ต้นที่คล้ายกัน คือ หางนกยูงไทย ต่างกันที่เป็นไม้พุ่ม
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย