ดินและการปรับปรุงดินสำหรับไม้ดอก

เมื่อจะปลูกไม้ดอก ผู้ปลูกมักได้รับคำแนะนำว่าให้ปลูกในดินที่ร่วนซุย มีอินทรียวัตถุมาก มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ คำแนะนำดังกล่าวทำให้ผู้ปลูกท้อใจ หมดกำลังใจจะปลูกต้นไม้กันมามากแล้ว เนื่องจากดินที่บ้านแสนจะเหนียวและแข็งปลูกอะไรไม่เคยงามเลย

ดินดีมีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของพืช ผู้ปลูกควรทำความเข้าใจและเห็นจริงเสียก่อน ดินที่มีปัญหานั้นแก้ไขได้โดยไม่ยากเย็นอะไรนัก แต่ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานและความตั้งใจจริง บางครั้งอาจต้องการเวลาสักระยะหนึ่ง

การที่ต้นไม้เจริญเติบโตได้เป็นปกตินั้น ต้องการปัจจัย 4 ประการคือ

1. นํ้าหรือความชื้นที่สม่ำเสมอ

2. อากาศ อากาศบริเวณเหนือดินมีคาร์บอนไดออกไซด์ให้พืชใช้ในการสร้างอาหาร อากาศในดินมีออกซิเจนที่รากพืชใช้ในการเติบโต

3. แร่ธาตุอาหารที่พอเพียง พืชต้องการธาตุอาหารอย่างน้อยที่สุด 16 ธาตุ หากขาดไปเพียงธาตุใดธาตุหนึ่งจะมีอาการผิดปกติและอาจถึงตายได้

4. สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชชนิดนั้นๆ ความเข้มแสงที่พอเหมาะเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง และจำนวนชั่วโมงแสงต่อวัน (วันสั้นหรือวันยาว) ที่ควบคุมการออกดอกของพืช

ถ้าพิจารณาดูปัจจัยสี่ที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า สามประการแรกนั้นพืชได้รับจากดิน

ต้นไม้มีลำต้น กิ่งก้าน ใบและดอกอยู่เหนือดิน มีรากช่วยยึดลำต้นและดูดนํ้าดูดอาหารจากดิน การเจริญเติบโตของรากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเจริญเติบโตของลำต้น กล่าวคือ ถ้ารากแผ่ไปได้ กว้างขวางและหยั่งลึกก็จะหาอาหารได้มากนำไปเลี้ยงส่วนที่อยู่เหนือดินให้เติบโตได้ดี รากจะเติบโตดีได้ ก็เมื่อดินที่ปลูกนั้นดี คือ ร่วนโปร่ง อุ้มน้ำอุ้มอาหารไว้สมบูรณ์ โดยเฉพาะไม้ดอกเป็นพืชที่ใช้เวลาจากการเป็นต้นกล้าถึงช่วงที่ออกดอกค่อนข้างสั้น เช่น ไม้ดอกล้มลุกใช้เวลาเพียง 2-3 เดือนเป็นส่วนมาก ไม้ดอกยืนต้น เช่น กุหลาบ คาร์เนชั่น ใช้เวลาจากต้นเล็กถึงให้ดอกประมาณ 4 เดือนขึ้นไป ดินที่ปลูกไม้ดอกจึงต้องเป็นดินที่เตรียมอย่างดี เพื่อต้นจะเติบโตได้ตลอดโดยไม่มีการชะงักงัน เมื่อมีดอกก็ให้ดอกที่มีคุณภาพดีด้วย

ดินเกิดมาจากการแปรสภาพของหินและแร่ที่ผุพังคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุจนเป็นเนื้อเดียวกัน ปกคลุมผิวโลกอยู่บาง ๆ ในลักษณะเดียวกับผิวส้มหุ้มห่อผลส้ม หินและแร่ที่ให้กำเนิดดินแตกสลายและผุพังเนื่องมาจากการหดตัวและขยายตัวเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงหรือด้วยการพัดพาของกระแสน้ำ ภูเขา นํ้าแข็ง และแรงลม หรือด้วยแรงของรากต้นไม้ใหญ่ นอกจากนี้การที่นํ้าละลายหินแร่อย่างช้าๆ และการที่จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายก็ทำให้เกิดการผุพังเพิ่มขึ้นด้วย หินที่ผุพังแล้วมีอินทรียวัตถุทับถมอยู่ข้างบนเปลี่ยนแปลงมาเป็นดินด้วยการกระทำของจุลินทรีย์ พืช และมนุษย์

เราเรียกสิ่งนั้นว่าดินก็เมื่อต้นพืชขึ้นอยู่ได้ รากของพืชสามารถหาน้ำและอาหารจากดินมาเลี้ยงลำต้น ดินมีส่วนประกอบ 4 อย่างคือ แร่ธาตุ อินทรียวัตถุ น้ำในดิน และอากาศในดิน

แร่ธาตุในดินคือชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่แตกมาจากหินชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วยอนุภาคของกรวดกับทรายขนาดต่าง ๆ ซึ่งเมื่อขยี้ดูจะรู้สึกหยาบและสากมือ และอนุภาคของดินตะกอนกับดินเหนียวซึ่งเมื่อขยี้ดูจะรู้สึกลื่นและเหนียว สัดส่วนของอนุภาคดินชนิดต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดว่าดินนั้นเป็นดินทราย ดินเหนียว หรือดินร่วน

อินทรียวัตถุในดินประกอบด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กและใหญ่ ซากของใบ ต้น ผล และรากพืช ซากของสัตว์และสิ่งขับถ่าย ซึ่งต่อไปจะสลายตัวเป็นฮิวมัสที่มีขนาดเล็กมากและเป็นตัวดูดซับธาตุอาหารพืชและนํ้า ดินเหนียวมีอินทรียวัตถุมากกว่าดินทรายแต่ระบายน้ำไม่ดีเท่าดินทราย

น้ำในดินถูกดูดยึดไว้ในช่องว่างระหว่างดินในสักษณะฟิล์มบางๆ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชละลายอยู่ในน้ำในดิน

อากาศในดินประกอบด้วย ไนโตรเจน ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ บักเตรีบางชนิด สามารถใช้ไนโตรเจนในอากาศได้อินทรียวัตถุที่ซับซ้อน ส่วนออกซิเจนจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อรวมตัวกับนํ้าในดินจะได้กรดคาร์บอนิก ซึ่งช่วยให้แร่ธาตุในดินปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา

ดินดีควรประกอบด้วยอินทรียวัตถุประมาณ 5℅ อนินทรียสารคือ หินและแร่ประมาณ 45℅ น้ำและอากาศในดินควรมีปริมาณอย่างละ 25℅ เท่าๆ กันจึงจะได้ดินที่โปร่งและร่วนซุย ในขณะเดียวกันก็มีความชื้นพอเพียง ดินที่หนึ่งแตกต่างจากดินอีกที่หนึ่งเพราะองค์ประกอบดังกล่าวมาแล้วต่างกัน มีหินและแร่ต่างชนิดกันเป็นแหล่งกำเนิดดินผุพังมาด้วยความรุนแรงต่างกัน มีขนาดต่างกัน ผุพังและประกอบมาเป็นดินด้วยวิธีการต่างกัน

ส่วนประกอบทั้ง 4 อย่างนี้มีอยู่ในดินในอัตราส่วนต่างๆ กันไป นอกจากนี้ ยังมีสัตว์เล็กๆ เช่นแมลงต่างๆ และไส้เดือนดิน ซึ่งกินดินเข้าไปแล้วย่อยผ่านระบบการย่อยอาหาร ถ่ายมูลเป็นฮิวมัสไว้บนดินชั้นบน จุลินทรียในดินมีเป็นร้อย ๆ ชนิดช่วยเปลี่ยนโปรตีนเป็นแอมโมเนียมและเปลี่ยนแอมโมเนียมเป็นไนเตรต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ดีมากให้กับดิน บางชนิดออกซิไดส์ธาตุเหล็ก และกำมะถันให้มีประโยชน์กับพืชบางชนิดจับไนโตรเจนในอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นไนเตรต

การปรับปรุงดิน

ถ้าตัดดินในแนวดิ่งเช่นการขุดหลุมลึกมาก ๆ หรือการตัดถนนจะเห็นว่าดินแบ่งเป็น 3 ชั้นคือ

1. ชั้นบน เรียกว่า ดินชั้นบนซึ่งเป็นชั้นที่ปลูกพืช มีอินทรียวัตถุสะสมอยู่กับอนุภาคของแร่ธาตุ มีสีนํ้าตาลเข้มถึงสีเกือบดำ มีความลึกตั้งแต่ผิวดินลงไปประมาณ 6-12 นิ้ว ยิ่งลึกไปจากผิวดินมากเท่าใดดินยิ่งดีน้อยลง

2. ชั้นกลาง เรียกว่า ดินชั้นกลาง เป็นชั้นของดินที่ผุพังมาจากดินชั้นล่างเป็นเวลานับล้านปีภายใต้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ มีสีจางกว่าดินชั้นบน เป็นชั้นที่รองรับการชะล้างจากดินชั้นบนและมีอินทรียวัตถุอยู่น้อย

3. ชั้นล่าง เรียกว่า ดินชั้นล่าง เป็นชั้นของหินและแร่ที่ยังไม่ผุพังและเป็นต้นกำเนิดของดินชั้นกลางถัดขึ้นมา

การถมที่ปลูกบ้าน ดินที่นำมาถม มักเป็นส่วนล่างของดินชั้นบน หรือเป็นดินชั้นกลาง ต้องใช้เวลารอให้อินทรียวัตถุมาทับถม และสลายตัวปรับปรุงให้ดินดีขึ้นเสียก่อน ถ้าได้ดินชั้นบนมาถมที่จะดีมากเพราะเป็นส่วนของดินที่ดีที่สุด

เนื้อดิน (Soil texture)

ความร่วนเหนียว หรือความหยาบละเอียดของดิน หรือที่เรียกว่าเนื้อดิน เกิดจากขนาดและสัดส่วนของเม็ดดิน 3 ขนาดคือ

เม็ดทราย คือ อนุภาคที่หยาบที่สุดมีขนาดโตกว่า 0.02 มม.

เม็ดดินตะกอน คือ อนุภาคขนาด 0.02 – 0.002 มม.

เม็ดดินเหนียว คือ อนุภาคที่เล็กกว่า 0.002 มม.

ดินที่มีเม็ดทรายมากจะพรุน อุ้มนํ้าได้น้อยแต่ระบายนํ้าดี มีอากาศในดินมากและไถพรวนง่าย

เม็ดดินตะกอนมีขนาดเล็กมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าช่องว่างเล็กๆ ระหว่างอนุภาคจะทำให้นํ้าและอากาศเคลื่อนที่ได้ยาก ทำให้อุ้มน้ำไว้ได้มาก

เม็ดดินเหนียวมีขนาดเล็กมากจึงมีพื้นที่ผิวมากถ้าเทียบกับเม็ดทรายที่มีนํ้าหนักเท่ากัน อนุภาคดินเหนียวเป็นที่เก็บรักษาธาตุอาหารพืช และเป็นตัวกำหนดการยืดและหดตัวของดิน ดินที่มีเม็ดดินเหนียวมากจะอุ้มนํ้าได้มาก แต่ระบายนํ้าได้ช้าและไถพรวนยาก

เม็ดดินทั้งสามชนิดนี้ผสมกันในสัดส่วนต่าง ๆ เป็นดินชนิดต่าง ๆ 3 ชนิดคือ ดินทราย ดินร่วน และดินเหนียว

โครงสร้างดิน (Soil structure)

อนุภาคดินทั้งทราย ดินตะกอน และดินเหนียวไม่ได้อยู่เป็นอนุภาคเดี่ยว แต่เกาะรวมกันเป็นเม็ดเป็นก้อนดิน มีอินทรียวัตถุเป็นตัวเชื่อมเกิดเป็นโครงสร้างต่างๆ กัน ดินที่มีโครงสร้างดีคือแบบกลมและพรุนจะมีการอุ้มน้ำและระบายน้ำระบายอากาศได้ดี รากพืชสามารถชอนไชไปได้สะดวก ทำให้สามารถแผ่ขยายในดินได้กว้างและลึก การใส่อินทรียวัตถุลงในดินให้มากและต่อเนื่องจะช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีอยู่ได้ตลอด

ดินปลูกไม้ดอก

ช่องว่างระหว่างอนุภาคดินชนิดต่าง ๆ มีความสำคัญมาก เป็นที่อยู่ของน้ำและอากาศในดิน นํ้าซึมอยู่ในช่องว่างและถูกดูดยึดไว้ด้วยแรงตึงผิว ถ้าดินมีเนื้อละเอียดจะมีแรงยึดนํ้าอยู่มาก น้ำระบายออกได้ช้า ถ้าดินมีเนื้อหยาบจะมีแรงยึดต่ำเพราะพื้นที่ผิวของดินหยาบมีน้อยเช่น ดินเหนียว สามารถเก็บน้ำได้ 3 เท่าของดินทรายเมื่อมีปริมาตรเท่าๆ กัน

ดินทราย

มีอนุภาคของเม็ดทรายเป็นส่วนใหญ่คือ มากกว่า 50℅ มีอนุภาคของดินตะกอนและดินเหนียว ต่ำกว่าชนิดละ 15% เมื่อจับดูจะรู้สึกสากมือ อนุภาคของดินชนิดนี้เกาะกันอยู่อย่างหลวมๆ ไม่มีสารที่ช่วยให้อนุภาคของดินเกาะกัน แม้เมื่อเปียกน้ำแล้วถูกบีบหรือปั้นก็แตกออกจากกันได้ง่าย ดินทรายมีคุณสมบัติโปร่งมากไม่อุ้มนํ้าและอาหารทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อากาศในดินชนิดนี้มีมากเกินพอ การระบายน้ำดีมาก ถ้าปลูกพืชในดินทรายต้องให้น้ำบ่อยๆ และให้ปุ๋ยบ่อยกว่าดินชนิดอื่นด้วย การปรับปรุงดินทรายทำได้โดยเติมดินเหนียวลงไปแล้วเพิ่มปุ๋ยคอกให้บ่อยๆ เพื่อให้เกิดการสะสมฮิวมัสมากขึ้นในดิน ดินจะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น และดูดยึดธาตุอาหารไว้ไม่ให้ถูกชะล้างไปได้ง่าย โดยที่การระบายนํ้าและอากาศยังดีเหมือนเดิม

ดินเหนียว

อนุภาคดินเหนียวมีลักษณะแบนยาว และมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องร้อยธุลีรวมอยู่ด้วยกันจึงจะมองเห็นได้ ในดินชนิดนี้มีปริมาณอนุภาคดินเหนียวมากกว่า 30℅ และมีปริมาณดินตะกอนและทรายอีกอย่างละเท่าๆ กัน เมื่อเปียกจะมีความเหนียวและลื่นจัด การที่มีขนาดเล็กมาก เมื่ออนุภาคอยู่รวมกันจะเกาะกันแน่นไม่แตกออกจากกันได้ง่าย เวลาฝนตกจะดูดซึมน้ำอย่างช้าๆ ทำให้เกิดน้ำขังได้ง่าย เมื่อดินดูดน้ำแล้วอนุภาคของดินจะดูดยึดน้ำไว้แน่นทำให้ระบายน้ำช้าและจำกัดการถ่ายเทอากาศ รากพืชเติบโตช้าและมีระบบรากตื้น เมื่อดินแห้งน้ำและอากาศจะซึมผ่านได้ยากทำให้แข็ง และจับกันเป็นขอบ รากพืชชอนไชไปได้ยาก

ข้อดีของดินเหนียวคือ มีธาตุอาหารสูงกว่าดินชนิดอื่น ๆ และอุ้มน้ำได้ดี ทำให้ไม่ต้องรดนํ้าบ่อยๆ การปรับปรุงดินเหนียวทำได้โดยการเติมดินทรายและอินทรียวัตถุลงไปเพื่อช่วยให้ดินโปร่งขึ้น เมื่อจะปลูกพืชควรยกร่องให้สูงขึ้นจากพื้นราว 2 คืบแล้วปลูกพืชบนร่องนั้น

ดินร่วน

มีอนุภาคของดินทรายและดินตะกอนอย่างละ 30 – 50% และอนุภาคของดินเหนียวประมาณ 20% เมื่อสัมผัสด้วยมือจะรู้สึกสากเล็กน้อย ถ้าเปียกจะลื่นเล็กน้อยและเกาะกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันง่ายนักเนื่องจากอนุภาคของดินร่วนเกาะกันไม่แน่นเท่าดินเหนียวแต่ก็ไม่ร่วนมากเท่าดินทราย ดินร่วนสามารถอุ้มความชื้นได้ดีกว่าและมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าดินทราย เมื่อฝนตกน้ำไม่ขังมากเหมือนดินเหนียว คือสามารถระบายน้ำและอากาศได้เหมาะสม รากพืชสามารถชอนไชได้สะดวกจึงแผ่ขยายไปในดินได้กว้างและลึก นับว่าเป็นดินที่เหมาะสำหรับปลูกไม้ดอก และนำมาปลูกไม้กระถางได้ดี ถ้าเติมอินทรียวัตถุลงในดินชนิดนี้ให้เพียงพอและต่อเนื่องรวมทั้งให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วยจะใช้ปลูกพืชได้ดีมาก

การปรับปรุงดินที่มีปัญหา

ถ้าเติมอินทรียวัตถุที่สลายตัวดีแล้วจะได้ผลเร็ว ปริมาณที่ใช้ควรเป็นหนึ่งในสี่ถึงครึ่งหนึ่งของปริมาตรดินที่ใช้ปลูกพืช เช่น ดินมีปริมาตร 5 ลูกบาศก์เมตร ควรเติมอินทรียวัตถุ 1-2.5 ลูกบาศก์เมตร แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน

อินทรียวัตถุเป็นคำที่มีความหมายกว้างของสิ่งทั้งหลายที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ซากพืชและสัตว์ ลำต้น ใบ รากพืช ขี้เลื่อย รวมทั้งจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในดินและอื่นๆ ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือตายแล้วและอยู่ในขั้นต่าง ๆ ของการสลายตัวก็นับว่าเป็นอินทรียวัตถุในดินทั้งนั้น อินทรียวัตถุจะเน่าเปื่อยผุพังได้ก็ด้วยจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย เวลาที่ใช้ในการสลายตัวอาจเป็น 2- 3 เดือนจนถึง 1 ปี เมื่ออินทรียวัตถุสลายตัวแล้วจะได้ฮิวมัสสีดำซึ่งมือนุภาคเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายเยลลี่ช่วยทำให้อนุภาคของดินเกาะกัน ฮิวมัสจะช่วยอุ้มน้ำและปลดปล่อยธาตุอาหารสำคัญให้แก่พืช การที่เราใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินก็เพราะปุ๋ยคอกเป็นอินทรียวัตถุอย่างหนึ่ง เมื่อสลายตัวดีแล้วจะกลายเป็นฮิวมัสจึงเท่ากับเป็นการเพิ่มฮิวมัสให้กับดินนั้นเอง

คุณสมบัติทางเคมีของดิน

ดินเป็นสารประกอบที่ซับซ้อนของหินและแร่หลายชนิดที่รวมตัวกับอินทรีย์และอนินทรียวัตถุ ความรู้พื้นฐานทางเคมีของดินจะทำให้เข้าใจถึงกระบวนการดูดซับธาตุอาหารของพืช

นํ้าประกอบด้วย

1. อะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนรวมตัวกันทางเคมีเป็นโมเลกุล HOH

2. ไฮโดรเจนไอออนที่มีฤทธิ์เป็นกรดคือ H+

3. ไฮดรอกซิลไอออนที่มีฤทธิ์เป็นด่างคือ 0H

ความเข้มข้นของ H+ และ OH เป็นตัวกำหนดความเป็นกรดหรือด่างของสารละลาย เมื่อมี H+ มากกว่าสารละลายนั้นก็มีสภาพเป็นกรด ถ้ามี OH มากกว่าก็จะเป็นด่าง และถ้าสารละลายนั้นมีความเข้มข้นของ H+ เท่ากับความเข้มข้นของ 0H จะมีสภาพเป็นกลาง

ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

ในดินมีน้ำแทรกซึมอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคของดิน นํ้าในดินไมไช่น้ำบริสุทธิ์แต่เป็นสารละลายของธาตุอาหารในดิน ซึ่งวัดความเป็นกรดเป็นด่างได้ด้วย pH ซึ่งมีหน่วยเป็น 1 ถึง 14

ที่ pH 7 จะมีความเข้มข้นของ H+ เท่ากับ OH และสารละลายนั้นเป็นกลาง

ที่ pH ต่ำกว่า 7 แสดงว่ามีความเข้มข้นของ H+ มากกว่า OH สารละลายนั้นมีสภาพเป็นกรด

ที่ pH สูงกว่า 7 แสดงว่ามีความเข้มข้นของ 0H มากกว่า H+ และสารละลายนั้นมีสภาพเป็นด่าง

โดยทั่วไปดินมี pH 4 – 8.5 และดินที่เหมาะในการปลูกไม้ดอกคือประมาณ 6 – 6.5

ความเป็นกรดของดินอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งต่อไปนี้

1. สภาพธรรมชาติที่ดินมีกำเนิดจากหินแร่ที่เป็นกรด หรือหินแร่ที่มีความเป็นด่างน้อย

2. ความเป็นด่างในดินถูกน้ำชะล้างไปหรือพืชดูดขึ้นไปใช้

3. การสลายตัวของอินทรียวัตถุที่ให้กรดอินทรีย์ซึ่งเป็นที่มาของ H+ เช่น หญ้าหมัก

4. การให้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีสภาพเป็นกรดตามธรรมชาติและสลายตัวให้สารที่เป็นกรด เช่น ปุ๋ย แอมโมเนียมซัลเฟต แอมโมเนียมฟอสเฟต และยูเรียบ่อยๆ พืชดูดแอมโมเนียมไปใช้ แล้วทิ้งอนุมูล ซัลเฟตหรือฟอสเฟตไว้ในดินทำให้ดินเป็นกรด

pH ของดินมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ

1. มีผลต่อการนำธาตุอาหารที่จำเป็นไปใช้คือ ถ้าดินเป็นกรดอ่อนๆ ธาตุบางอย่าง เช่น สังกะสี เหล็ก โบรอน แมงกานีส ทองแดง จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดี และถ้าเป็นด่างอ่อนๆ โมลิบดีนัมจะเป็นประโยชน์ต่อพืช ถ้า pH เป็นกรดจัด หรือด่างอย่างแรงธาตุอาหารจะเปลี่ยนสภาพเป็นรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ โดยปกติแล้วดินที่มี pH ในช่วงเป็นกรดอ่อนๆ ถึงปานกลางเหมาะสำหรับปลูกพืชทั่วไป

2. มีผลต่อการทำงานของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ในดินช่วยในการย่อยสลายของอินทรียวัตถุ จุลินทรีย์จะทำงานได้ดีเมื่อมี pH ประมาณ 6-7 ถ้าดินเป็นกรดมากจุลินทรีย์จะทำงานได้ช้าลง

3. มีผลต่อการดูดอาหารและน้ำฃองรากพืชคือ ถ้าดินเป็นกรดหรือต่างมาก จะเป็นอันตรายต่อเชลล์ของราก ทำให้รากพืชดูดน้ำและอาหารไม่ได้

4. มีผลต่อการละลายของสารพิษในดิน ถ้าดินเป็นกรดมากจะทำให้ธาตุอะลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาจากหินและแร่มากเกินไปจนเป็นพิษแก่พืช เช่น ดินที่มี pH ต่ำกว่า 4.5 จะมีปัญหานี้

ดินเปรี้ยว คือดินที่เป็นกรด มักพบในบริเวณที่มีฝนตกหนัก ฝนชะแร่ธาตุที่มีสภาพเป็นด่างตามธรรมชาติ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม และโพแทสเซียมจากดินเหลือไว้แต่แร่ธาตุที่ให้ความเป็นกรด ถ้าวัด pH ของดินชนิดนี้จะพบว่ามี pH ต่ำกว่า 6

การแก้ไขความเป็นกรดของดินต้องใส่ปูนขาว ปูนขาวที่เรารู้จักกันดีคือแคลเซียมคาร์บอเนต แต่อาจใช้ปูนโดโลไมท์บดละเอียดได้ด้วย ปูนโดโลไมท์คือ แมกนีเซียมคาร์บอเนต และแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งให้ทั้งธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญของพืช

การใส่ปูนเป็นปริมาณเท่าใดนํ้นไม่มีกฎตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับชนิดดินและอินทรียวัตถุ ดินยิ่งแน่นคือ เป็นดินเหนียวมากเท่าใดก็ยิ่งต้องการปูนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามถ้าต้องการเพิ่ม pH ขึ้น 1 หน่วยต่อพื้นที่ 300 ตารางเมตร ควรใส่ปูนตามชนิดดินดังนี้

ดินทรายมากๆ ใช้ปูนที่บดละเอียดปริมาณ 15 กิโลกรัม

ดินทราย ใช้ปูนที่บดละเอียดปริมาณ 20 กิโลกรัม

ดินร่วน ใช้ปูนที่บดละเอียดปริมาณ 30 กิโลกรัม

ดินเหนียว ใช้ปูนที่บดละเอียดปริมาณ 40 กิโลกรัม

ดินหวาน คือ ดินที่เป็นด่าง พบในบริเวณที่แห้งแล้ง หรือเป็นทะเลทรายที่มีแคลเซียมและโซเดียมสะสมอยู่มาก การแก้ดินด่างใช้ผงกำมะถัน หรือใช้อินทรียวัตถุที่ให้ความเป็นกรด เช่นใบสนหมัก ขี้เลื่อย หรือพีทใสในดิน การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตก็ช่วยเพิ่มความเป็นกรดแก่ดินได้

ดินเค็ม คือ ดินที่มีกำเนิดมาจากหินแร่ที่มีเกลืออยู่ผุพังมา หรือเกลือของแร่ธาตุมีอยู่มากในนํ้าที่ใช้รดแล้วขังอยู่ในดินที่ปลูกพืช พอน้ำระเหยไปจึงเหลืออยู่ เกลือจะลดความสามารถของพืชในการดูดนํ้าจากดินและทำลายเซลล์ของพืช อาการผิดปกติคือ ปลายและขอบนอกของใบแก่มีสีนํ้าตาลและแห้งตายไป การแก้ไขทำได้โดยใช้นํ้าจืดจำนวนมากชะล้างเกลือออกจากดิน

ไม้ดอกที่ทนต่อการมีเกลือในดินได้น้อยมากคือ แอฟริกันไวโอเล็ต บีโกเนีย และ รักเร่ เป็นต้น

ไม้ดอกที่ทนได้ปานกลางคือ แกลดิโอลัส บานชื่น กุหลาบ แอสเตอร์ ต้นคริสต์มาส เป็นต้น

ไม้ดอกที่ทนทานต่อเกลือในดินคือ เบญจมาศ คาร์เนชั่น ชบา ยี่โถ เฟื่องฟ้า พังพวย แพรเซียงไฮ้ เป็นต้น

การวัด pH ของดินและการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหาร

ผู้ปลูกอาจไม่สะดวกที่จะทำเอง ท่านสามารถเก็บตัวอย่างดินแล้วส่งไปวิเคราะห์ตามหน่วยราชการที่มีบริการในด้านนี้ เช่น ในกรุงเทพฯให้ส่งไปที่กองเกษตรเคมี ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน อีกแห่งหนึ่งคือ กองบริรักษ์ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน บางเขน ในเชียงใหม่ให้ส่งไปที่ภาควิชาปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร แม่โจ้

การเก็บตัวอย่างดินควรขุดดินจากพื้นที่ที่ต้องการทดสอบไว้เป็นจำนวน 15 – 20 จุด โดยขุดกระจายให้ทั่วพื้นที่ ไม่ควรเก็บดินในบริเวณที่เป็นกองปุ๋ยเก่าหรือทางเดิน

วิธีขุดดินในแต่ละจุด ให้ขุดเป็นรูปตัววีลึก 6 นิ้ว เอาดินในหลุมออกให้หมด แล้วใช้พลั่วหรือจอบเฉือนด้านข้างของหลุมห่างจากขอบหลุมครึ่งนิ้วงัดดินขึ้นมา แบ่งดินที่ติดขึ้นมากับพลั่วหรือจอบออกเป็น 3 ส่วนตามความยาว เก็บเอาเฉพาะตรงส่วนกลางใส่ลงในถังคลุกดินที่ขุดได้จากทุกๆ จุดในแต่ละพื้นที่เข้าด้วยกัน แบ่งดินหนักครึ่งกิโลกรัมใส่ถุงพลาสติกส่งไปเป็นตัวอย่างดิน เสร็จแล้ว บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างดินส่งไปด้วยดังนี้

ชื่อเจ้าของที่ดิน……………….. ตำบลที่อยู่………………………………..

ตัวอย่างดินที่…………………..พื้นที่เก็บตัวอย่างดิน…………ไร่

ลักษณะของพื้นที่ที่เก็บตัวอย่างดิน

ภูเขา

ลูกคลื่น

ราบเรียบ

ที่ลุ่ม

การระบายนํ้า

เลว

ปานกลาง

ดี

มากเกินไป

ประวัติการปลูกพืช

พืชที่ปลูก                   ผลผลิต

ประวัติการใส่ปุ๋ยและปูน

ชนิดปุ๋ย

อัตราปุ๋ย

อัตราปูนที่ใช้

พืชที่จะปลูกต่อไป

ปัญหาพิเศษ (ถ้ามี)

สรุป ดินดีควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. ร่วนและโปร่ง รากพืชสามารถชอนไชได้ดีในดินและยึดลำต้นได้แน่น

2. มีการระบายนํ้าดี แต่ในขณะเดียวกันก็อุ้มความชื้นได้พอควร

3. มีธาตุอาหารสมบูรณ์

E.W. Hilgard กล่าวไว้ตั้งแต่ ค.ศ.1906 ว่า เราต้องพิจารณาคุณสมบัติทางกายภาพของดินก่อนที่จะพิจารณาว่ามีธาตุอาหารสมบูรณ์หรือไม่ เพราะถ้าดินแน่นทึบ แม้จะมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ รากก็เจริญไม่ได้ดี การที่รากเจริญไม่ได้ดี ต้นพืชก็เจริญไม่ดีด้วย ถ้าดินที่บ้านของท่านเหนียวและแข็งควรเติมอินทรียวัตถุลงไปเพื่อปรับปรุงให้ดินร่วนขึ้นการเติมอินทรียวัตถุที่สลายตัวดีแล้วจะได้ผลเร็ว ถ้ายังไม่สลายตัวก็ต้องใช้เวลานานหน่อย และถ้าท่านไม่สนใจจะปรับปรุงดินและขืนปลูกต้นไม้ลงไปในดินที่ไม่ดีนั้นต้นไม้ก็ขึ้นอยู่ได้ แต่อาจจะแคระแกร็น ให้ดอกเล็กและน้อยมากหรือไม่ออกดอกเลย