ปอบิดมีสรรพคุณอย่างไร


ชื่ออื่น บิด มะปิด (พายัพ) ปอทับ ปอปิด ปอลิงไซ (ภาคเหนือ) ลูกบิด (ภาคกลาง) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ห้วยเสาะมั้ว (แต้จิ๋ว) หั่วสั่วหมา (จีนกลาง) East Indian Screw Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helicteres isora L.
วงศ์ Sterculiaceae
ลักษณะต้น เป็นไม้พุ่มขนาด 2-3 เมตร ใบยาว 10-20 ซม. กว้าง 7-9 ซม. ฐานใบเว้าไม่เท่ากัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบทั้งสองด้านมีขน อ่อนปกคลุม ดอกยาว 2 ซม. เกิดที่ซอกใบ มักเกิดเป็นกระจุก 2-3 ดอก กลีบสีอิฐ ผลยาวปัดเป็นเกลียวคล้ายเชือกควั่น เมื่อแก่จัดมีสีดำ ดอกออกตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม มีผลตั้งแต่เดือนธันวาคม-มกราคม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป


ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น ผล ราก
สรรพคุณ
เปลือกต้นและราก เป็นยาบำรุงธาตุ
ผล แก้ปวดท้อง กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง กระเพาะอาหารเป็นแผล ท้องอืด ท้องเสีย หมอพื้นบ้านใช้แก้บิด แก้ปวดเบ่ง ขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม
ตำรับยาและวิธีใช้
1. ใช้ผลแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน สำหรับอาการที่เกี่ยวกับระบบ ทางเดินอาหาร
2. ปวดข้อเคล็ดบวม ใช้ผลสดตำพอกบริเวณที่เป็น
สารเคมีที่พบ
เปลือกต้น มี cellulose 18.6% , hemicellulose 15.8% , lignin 2.89% , pectin 0.4% ,น้ำมัน 3.11% , phytosterol, hydroxycarboxylic acid, saponins, phobatannin
หมายเหตุ
เส้นใยของปอบิดใช้งานได้เหมือนปอแก้ว ต้นที่มีอายุ 1-1 ½  ปี จะให้เส้นใยดีที่สุด ต้นที่มีอายุมากกว่านี้จะให้เส้นใยที่หยาบและเปราะ
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล