ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการปลูกพืชผัก

1.เกษตรกรขาดความรู้ในด้านเขตกรรมและการกำจัดโรคและแมลงที่ ถูกต้อง ส่วนใหญ่ข้อความจากร้านค้าหรือสอบถามกันเอง แทนที่จะปรึกษาเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร จึงทำให้ได้ความรู้ผิดพลาดทางด้านวิชาการ

การปฎิบัติในการเขตกรรมและการกำจัดโรคและแมลงที่ต้องทำได้ดังนี้

1.1มีการปรับปรุงดินด้วยปูนขาวเป็นครั้งคราวในอัตราส่วน 200-300 กก./ไร่ แต่ถ้าจะให้ถูกต้องแน่นอนว่าจะต้องใส่ในอัตราเท่าไร ควรส่งตัวอย่างดินให้กรมวิชาการ เกษตรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจวิเคราะห์หาอัตราที่จะใส่

1.2มีการใส่ปุยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก กากพืช ฯลฯ ในอัตราส่วน 3 ตัน/ไร่ หรือ 25-50 หาบ/ไร่ ควรใช้ทั้งชนิดหยาบและละเอียดเพื่อทำให้ดิน ร่วนซุยมีมีอากาศแทรกซึมเข้าไปในดินได้ ซึ่งพืชทุกชนิดต้องการอากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้แม้จะอยู่ในดินก็ตาม ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุกครั้งที่มีการปลูกผักใหม่

1.3ในระหว่างปลูกควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ช่วยด้วย ในอัตราส่วน 25-50 กก./ไร่

1.4ฉีดยาเคมีป้องกันกำจัดโรคตามคำแนะนำ เมื่อพบโรคปรากฎเป็นครั้งแรกและควรฉีดพ่นยาสำหรับโรคที่ปรากฎระบาดทุกปีตามเวลาและฤดูกาล ก่อนที่จะมีโรคระบาด

1.5ฉีดพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดพวกแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอน เพลี้ยไพ่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว และแมลงชนิดต่าง ๆ เป็นครั้งคราวเมื่อมีศัตรูพวกนี้ ระบาด

1.6ติดต่อหน่วยราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันกำจัดโรค และศัตรูที่อยู่ใกล้ที่อยู่ เช่นเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร ฯลฯ เพื่อขอคำแนะนำหรือส่งตัวอย่างสดไปวิจัย

1.7การทำแปลงกล้าผัก ต้องยกร่องสูง และกลางร่องนูนเป็นหลังเต่า เพื่อป้องกันน้ำขังแฉะและป้องกันโรคเน่าคอดิน ผักที่เป็นโรคจากแปลงกล้าไม่ควรนำไปปลูกเด็ดขาดเพราะจะมีเชื้อโรคติดไประบาดในไร่

1.8มีการปลูกผักสลับกันหรือปลูกแซมกันในแปลง มีการคัดเลือกผัก ที่ไม่ใช่อยู่ในตระกูลเดียวกัน หรือเป็นโรคติดต่อกันได้ การปลูกพืชสลับหรือแซมในแปลงผัก จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้ เพราะแมลงศัตรูพืชไม่ชอบพืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกอยู่ด้วยกันหรือปลูกแทนกัน

1.9เลิกปลูกผักที่มีโรคระบาดรุนแรงชั่วคราวสัก 2-3 ปี โดยหันไปปลูกพืชอื่นที่ไม่เป็นโรคเดียวกันแทน

1.10ใช้วิธีปราบโรคตามธรรมชาติ เช่น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ดินที่ทำลายเชื้อโรคพืชในดินให้ลดลง ปลูกพืชที่ปล่อยสารพิษออกมา ทำให้เชื้อโรคในดินบางชนิดลดน้อยลงหรือหมดไป มีพืชหลายชนิดที่ไข้ป้องกันกำจัด ไส้เดือนฝอย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ดาวเรือง สะระแหน่ โหระพา ฯลฯ

2.แหล่งพันธุ์ เกษตรกรนิยมซื้อพันธุ์จากร้านค้า ซึ่งมีปัญหามีเมล็ดพันธุ์ ปะปนอยู่บ้าง และเมล็ดมีความงอกต่ำ ทำให้ผลผลิตต่ำไม่คุ้มค่าการลงทุนพืชผักประเภท ถั่ว แตง พริก มะเขือ เกษตรกรเก็บพันธุ์ไว้ใช้เองโดยไม่ถูกต้อง การเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ควรดูแลลักษณะต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีลักษณะดีตรงตามความต้องการของตลาด และต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ได้ดี การเก็บเมล็ดพันธุ์มาจากแหล่งที่มีโรคระบาด ควรคลุกด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนนำไปปลูก ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สามารถเก็บเอาไว้เองได้ ให้เลือกใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรค พันธุ์ที่รัฐบาลแนะนำหรือผลิตออกมา แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ตรงผลิตได้น้อยไม่พอกับความต้องการในปัจจุบัน

3.ปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต่อไร่ เกษตรกรแต่ละรายใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์แตกต่างกันมากแม้จะเป็นพืชผักชนิดเดียวกัน เกษตรกรใช้วิธีหว่านเมล็ดแล้วถอนแยก 3 ครั้ง ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์โดยใช่เหตุ และอีกอย่างคือเกษตรกรไม่รู้ว่า อัตราส่วนเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ควรจะใช้ในปริมาณเท่าใด หากมีการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราที่ถูกต้องหรือใกล้เคียง และมีวิธีการหยอดหว่านที่ประหยัดเมล็ดพันธุ์ไม่ต้องถอนแยก ออกมากจะทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตลงไปได้และยังทำให้กล้าผักไม่เป็นโรค ที่เกิดจากมีจำนวนหนาแน่นเกินไป

4.การจัดการหลังเก็บเกี่ยวไม่ดีทำให้ราคาตก และเก็บได้ไม่นาน

5.ราคาซื้อขายไม่มีการตกลงกันก่อน พ่อค้าจะซื้อไปแล้วแจ้งราคาให้ทราบทีหลังประมาณ 1-7 วัน และราคามีการขึ้นลงเร็วมาก ยากแก่การคาดคะเน

6.ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น ชนิดของปุ๋ยไม่ตรงตามความต้องการของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน อายุของพืช ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรมักจะคิดว่า หากใส่ปุ๋ยมาก ๆ ผักจะเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย แต่ความจริง มิได้เป็นเช่นนั้น

7.ใช้สารฆ่าแมลงในอัตราสูง บางครั้งใช้ถี่เกินไปเพราะแมลงมีความต้านทานได้สูงขึ้น หรือบางครั้งใช้รดน้ำด้วยเรือฉีดพ่น ทำให้ชะล้างสารเคมีออกรวดเร็ว ทำให้สิ้นเปลืองในการจะให้สารเคมีจับเกาะใบได้นานมีการผสมน้ำมันจับใบลงไป