ปุ๋ยยูเรีย:ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย

1.  ปุ๋ยอินทรีย์คือปุ๋ยที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่สลายตัวแล้วจนพืชสามารถนำไปใช้ได้แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ

1.1  ปุ๋ยคอก ได้แก่ขี้วัว ขี้ควาย ขี้ม้า ขี้แพะ แกะ กระต่าย เป็ด ไก่ ห่าน นกกระทา ฯลฯ รวมทั้งอุจจาระและปัสสาวะของคนด้วย

1.2  ปุ๋ยหมัก ได้จากการเอาวัชพืชต่าง ๆ เช่น หญ้า บอน ตลอดจนใบไม้ใบหญ้า ฟางข้าว เปลือกถั่ว กากอ้อย ต้นข้าวโพด ต้นถั่ว เศษผัก มาหมักจนสลายตัว

1.3  ปุ๋ยพืชสด ได้จากการนำเมล็ดถั่วกระด้าง ปอเทือง มาหว่านลงในดินพอเริ่มออกดอกก็ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน

สรุปแล้วปุ๋ยหมักก็คืออินทรีย์วัตถุนั่นเอง  เมื่อนำไปใช้แล้วทำให้ดินร่วนซุย  และเป็นอาหารของพืช  แต่มีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมีมาก  ขอแนะนำให้คุณไปอ่านเรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีอย่างไหนจะดีกว่ากัน  โดย ผศ.ดร.สุรศักดิ์  เสรีพงษ์  ในนิตยสารชาวเกษตร อันดับที่ 22 เดือนมีนาคม 2526

2.  ปุ๋ยยูเรีย(Urea) และแอมโมเนียมซัลเฟต(Ammonium Sulfate)ต่างเป็นปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเหมือนกันแต่ต่างกันที่วิธีการผลิต  และปริมาณธาตุไนโตรเจนปุ๋ย ปุ๋ยยูเรีย ปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% เท่านั้น

ยูเรีย วิธีผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับก๊าซแอมโมเนียม

คุณสมบัติทางกายภาพ

1.  เป็นผลึกสีขาว

2. ดูดความชื้นได้ดีมาก

3.  ละลายน้ำได้ 50%

คุณสมบัติทางเคมี

1.  ใช้ในนาข้าว  หว่านบาง ๆ เป็นปุ๋ยหยอดหน้า มีไนโตรเจน 47-48%

2.  ใช้เป็นอาหารสัตว์พวกวัวควาย

3.  ใช้กับพืชผักสีเขียวช่วยเร่งความเจริญเติบโตใช้เพียงครึ่งเดียวของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะมีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าเท่าตัว ปุ๋ยยูเรียมีราคาแพงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต

แอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium Sulfate)

วิธีผลิตมี 2 แบบ ใหญ่ ๆ คือ

1.  ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริกเอซิด(กรดกำมะถันมีสูตรทางเคมี H2SO4)

2.  ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับยิบซั่มและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

คุณสมบัติทางกายภาพ

1.  เป็นผลึกสีขาวหรือเทา

2.  ดูดความชื้นในอากาศ

คุณสมบัติทางเคมี

สูตรเคมี

มีธาตุไนโตรเจน 20%

มีธาตุกำมะถัน 24 %

อยู่ในระดับปฏิกิริยาเป็นกรด

ประโยชน์ที่ใช้

ใช้กับดินเค็มหรือดินที่เป็นด่าง

ใช้เมื่อต้องการธาตุกำมะถัน

ใช้ในพืชบางชนิดที่ชอบดินเป็นกรด

ใช้กับพืชผักเพื่อเร่งความเจริญเติบโต

ในระหว่างปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตจะใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณน้ำหนักและราคาต่ำกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะปุ๋ยยูเรียมีปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% สูงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตเท่าตัว  ลองเอาไปคำนวณดูว่าควรจะใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอย่างไหนจะได้กำไรกว่า ในเมื่อเสียเงินเท่า ๆ กัน สมมุติว่าไร่หนึ่งใช้ปุ๋ย 16-20-0 จำนวน 20 กิโลกรัมราคากิโลกรัมละ 4.50 บาท เป็นเงิน 90 บาท มีไนโตรเจน 3.2 กก. เงินจำนวนนี้ถ้านำไปซื้อปุ๋ยยูเรียราคากิโลกรัมละ 6.50 บาท จะซื้อได้ 13.8 กิโลกรัม ปุ๋ย 16-20-0 มีไนโตรเจน(N)16/ปุ๋ยจำนวน 20 กิโลกรัมมีธาตุไนโตรเจน 3.2 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรียมีไนโตรเจน (N)46/ปุ๋ยจำนวน 13.8 กิโลกรัมจะมีไนโตรเจน 6.07 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตถึงเท่าตัว สรุปแล้วเงิน 90 บาทเท่ากันจะซื้อปุ๋ยยูเรียได้ถึง 13.8 กิโลกรัมใช้ใส่พืชได้กำไร  กว่าซื้อปุ๋ย สูตร 16-20-0 จำนวน 20 กิโลกรัม ถ้าต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องโปรดอ่านเรื่อง การใช้ปุ๋ยยูเรียในนิตยสารชาวเกษตรฉบับที่ 26 เดือนกุมภาพันธ์ 2526

เขียวเกษตร