ผักกาดนอสรรพคุณทางยา


ชื่อ
จีนเรียก     เล็งเต่าเช่า เทียงไก่ไฉ่  เทียงกั๊วะเช่า แกไช่เกี๊ย Nasturtium montanum Wall.

ลักษณะ
พืชประเภทหญ้า ชอบเกิดในท้องร่อง ริมทาง ที่ลุ่ม เป็นพืชล้มลุก ต้นสีเขียว มีขนปุยขาวขึ้นทั่วลำต้น ต้นสูงประมาณ 1 ฟุต ก้านสีแกมแดงมีรูปเป็นเหลี่ยม ใบคู่ เกิดจากกิ่งโดยตรงไม่มีก้านใบ รูปใบกลมยาวรี ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ปลายใบป้านโคนใบแหลม โคนใบมักแหว่งทั้งสองข้าง ขอบใบเป็นหยักๆ ออกดอกหลังหน้าฝนถึงฤดูหนาว ดอกรวมกันเป็นช่อสีเหลือง สี่กลีบ เมล็ดเป็นฝักคล้ายฝักถั่วเขียว

รส
รสจืดปะแล่ม ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ดับพิษทำให้เลือดเย็น ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและกระเพาะ

รักษา
การไอเพราะปอดร้อน ไอติดโลหิต เสียงแหบ ลงท้องเพราะหวัดร้อน
ปัสสาวะไม่คล่อง ปากลิ้นเปื่อยมีฝ้า เจ็บคอ

ตำราชาวบ้าน
1. ไอเพราะปอดร้อน – ผักกาดนอ 2 ตำลึง ต้มกวยแชะ หรือผักกาดนอ 2 ตำลึง ต้มยอดปอดหมูรับประทาน
2. ปอดร้อนไอเป็นเลือดหรือเสียงแหบ – ผักกาดนอ 1 ตำลึง ต้มใส่น้ำตาลกรวด หรือต้มนํ้าใส่นํ้าผึ้ง
3. ลงท้องเพราะร้อนในหรือหวัดร้อน – ผักกาดนอ น้ำนมราชสีห์ใหญ่
อย่างละ 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน
4. หน้าร้อนปัสสาวะไม่คล่อง – ผักกาดนอ 2 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าตาลแดง
5. ปากลิ้นเปื่อยเพราะร้อนใน – ผักกาดนอ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
6. เจ็บคอ – ผักกาดนอ 2 ตำลึง ตำคั้นน้ำรับประทาน หรือต้มรับประทาน หรือต้มกับอึ้งฮวยเฮียงกี่เช่า  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดง หรือใช้ผักกาดนอ 2 ตำลึง และรากผักบุ้ง 1 ตำลึง ตำเอาน้ำ รับประทาน หรือต้มน้ำรับประทาน

ปริมาณใช้
ดิบไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง

ข้อควรรู้
ผู้ที่ไฟธาตุเย็นอ่อนแอ ตัวไม่ร้อน ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช