ผักกาดหอมชนิดอื่นๆ (Other Lettuce Crops)


ลักษณะทั่วไป
ผักกาดหอมชนิดอื่นๆ ในที่นี้ได้แก่ พันธุ์เฉพาะ เช่น สลัดใบแดง (Red) สลัดหรือผักกาดแก้ว (Butterhead) และพันธุ์ Cos และ Endive ลักษณะทั่วไปคล้ายกับผักกาดหอมห่อ แต่มีการส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็กเท่านั้น พันธุ์ Cos, Red และ Butterhead ควรปลูกเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน เพราะในฤดูร้อนพืชจะแก่เร็ว ส่วน Endive ปลูกได้ตลอดปี สำหรับข้อมูลอื่นๆ มีให้เฉพาะพันธุ์ Red และ Butterhead
ข้อมูลการผลิต เหมือนกับผักกาดหอมห่อ ยกเว้นข้อแตกต่างบางประการดังนี้


ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนของ Red Lettuce:(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุนผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (พื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
การให้ผลตอบแทนดีในฤดูหนาว ไม่ควรปลูกฤดูร้อน (มี.ค.-ก.ค.) เพราะพืชจะแก่และออกดอกเร็วถ้าขาดน้ำ เกษตรกรจึงรีบเก็บเกี่ยวตั้งแต่ต้นยังอ่อน ทำให้ได้น้ำหนักผลผลิตน้อยเทียบกับการปลูกผักกาดหอมห่อ ในพื้นที่ขนาดเดียวกัน
ผลผลิต
ฤดูหนาวประมาณ 120-140 กก. ได้เกรด A ราว 70-80% ส่วนฤดูฝนเพียง 40-60 กก. และเป็นเกรด B เสีย 70% เนื่องจากปัญหาโรคพืช
ราคาขายของเกษตรกร
ฤดูหนาว 7-9 บาท ฤดูฝน 10-13 บาทหรืออาจสูงกว่านี้ถ้าเป็นเกรด A ราคาค่อนข้างไม่แน่นอน ขึ้นกับปริมาณผักออกสู่ตลาด
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ใช้สารเคมีน้อยมากทั้งสองฤดู ปัญหาหลักคือ โรคใบไหม้ (Tip burn) ซึ่งไม่มีสารเคมี ใช้รักษาป้องกันได้
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ปัญหาผลผลิตไม่ได้เกรดในฤดูฝน เนื่องจากผักไม่งาม
การตลาด
ตลาดค่อนข้างแคบ และจำเพาะสำหรับผู้บริโภคบางประเภท อัตราการทิ้งและเน่าเสียของพืชจากตลาดเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ประมาณ 30-40% เนื่องจากสินค้าล้นตลาดและการปลิดใบเสียทิ้งของซุปเปอร์มาร์เก็ตราคาไม่แน่นอนขึ้นกับปริมาณที่ออกจำหน่าย สูงสุดระหว่าง มิ.ย.-พ.ย. (25-35 บาท/กก.) และต่ำในฤดูร้อน (15-25 บาท /กก.)
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนของ Butterhead Lettuce: (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)

หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุนผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตุเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (พื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ไม่แนะนำให้ปลูกในฤดูร้อน พืชแก่และสร้างเมล็ดเร็ว ได้น้ำหนักผลผลิตน้อยกว่าผักกาดหอมห่อในพื้นที่ปลูกขนาดเดียวกัน
ผลผลิต
ฤดูหนาว 90-100 กก. ฤดูฝน 70-80 กก. ประมาณ 60-70% เป็นเกรด A
ราคาขายของเกษตรกร
ฤดูหนาว 4-6 บาท ฤดูฝน 7-9 บาท
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ต้นทุนต่ำ ไม่ใช้สารเคมีในฤดูหนาวและใช้เล็กน้อยในฤดูฝน
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
เน้นให้เกษตรกรทราบว่าต้องย้ายปลูกก่อน อายุกล้าครบ 25 วัน มิฉะนั้นผักจะไม่ห่อหัวดี และควรพิจารณาว่าพันธุ์ที่จะนำมาส่งเสริมนั้น ควรเหมาะสมกับฤดูและสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ และดูขนาดพื้นที่ของเกษตรกรว่าเหมาะสมหรือไม่ เพื่อลดปัญหาที่จะตามมา เช่น โรค แมลง หรือการขาดน้ำ ตลอดจนการขนส่ง ควรมีการติดตามและแนะนำการปฏิบัติของเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์
การตลาด
ตลาดแคบ ความต้องการจำเพาะเจาะจง ราคาอาจสูงถึง 25 บาท/กก. แต่ผันแปรขึ้นอยู่กับปริมาณออกสู่ตลาด
การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่แปลง 100 ตร.ม.)


ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่