ผักกาดหอมห่อ(Head Lettuce)


ลักษณะทั่วไป
ตลาดมีความต้องการสูง ปลูกได้ทั่วไปและง่ายเป็นที่นิยมของเกษตรกร แต่ช่วงฤดูปลูก มีนาคม-พฤษภาคม ผลผลิตอาจตกต่ำหรือเสียหายควรเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับฤดู และปัญหาโรคพืชมักปรากฏในฤดูฝน
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Summerlake :    ฤดูร้อน    -เหมาะสมในพื้นที่สูงกว่า 1,200 เมตร
ฤดูฝน      -ไม่เหมาะสมในสภาพฝนชุก
ฤดูหนาว  -ไม่เหมาะสม ได้ผลผลิตขนาดเล็ก
King Crown :       ฤดูร้อน     -มักมีปัญหาโรคใบไหม้ (Tip burn)
ฤดูหนาว   -เหมาะสมกับภูมิอากาศ
ฤดูฝน/หนาว    -เหมาะสมในพื้นที่สูงกว่า 800 เมตร
Alpen :                   ฤดูร้อน    -เหมาะสมในพื้นที่สูงกว่า 800 เมตร ใบผักห่อตัวดี
ฤดูฝน    -ไม่เหมาะสมถ้าฝนชุก ใบผักไม่ห่อตัว อาจมีปัญหาโรคใบไหม้
Great Lake 659 :   ตลอดปี    -ไม่ทนต่อสภาพฝนชุก
-เหมาะสมในพื้นที่สูงกว่า 1,100 เมตร ถ้าเป็นฤดูฝน
ความเป็นกรดด่างของดิน 6-7
ชนิดของดิน: ร่วนปนทราย (Sandy loam)
ระยะปลูก (ต้นxแถว) ฤดูร้อน 40×40 ซม.
ฤดูฝน 50×50 ซม.
จำนวนต้น (ตร.ม.) ฤดูร้อน 6.25 ต้น
ฤดูฝน 4 ต้น
ความกว้างของแปลง 1 เมตร
ระยะห่างระหว่างแปลง 50 ซม.
การเตรียมกล้า
ระยะปลูก(ต้นxแถว) 1×10 ซม.
จำนวนต้น(ตร.ม.) 100-250 ต้น ขึ้นอยู่กับอัตราการงอกและการจัดการ
ความกว้างของร่อง 1 เมตร
ระยะเวลาที่เติบโตเต็มที่ 75-90 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตุเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน(พื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต ในฤดูหนาวได้ผลผลิตสูง แต่รายได้เบื้องต้นต่ำ เพราะราคาตลาดต่ำเมื่อเทียบกับฤดูอื่นๆ
ผลผลิต ฤดูหนาว 140-160 กก. ฤดูร้อน 80-100 กก. และฤดูฝน 50-70 กก. ผลผลิตต่ำในฤดูฝนมักเนื่องมาจากเชื้อรา และระดับผลผลิตทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝนขึ้นอยู่กับการใช้พันธุ์และสภาพภูมิอากาศเป็นสำคัญ
เกรด ผลผลิตฤดูหนาวควรได้เกรด A ประมาณ 40-50% สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน ผลผลิตส่วนใหญ่ (50-60%) จะเป็นเกรด B หรือ C เนื่องจากใบไม่ห่อตัวเป็นหัวสวยงาม และมีปัญหาโรคใบไหม้ ใบจุด เชื้อราต่างๆ
ราคาขายของเกษตรกร ฤดูหนาว 2.50-4.00 บาท ฤดูร้อน 5.00-7.00 บาท ฤดูฝน 7.00-12.00 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพ สำหรับผลผลิตเกรด A ในฤดูฝน อาจสูงถึง 15.00-20.00 บาท/กก.
ต้นทุนปัจจัยการผลิต เฉพาะสารเคมีชนิดสเปรย์ต่างกันไปตามฤดู  ในฤดูหนาวแทบไม่จำเป็นใช้ยาฆ่าแมลงและยากำจัดเชื้อรา ส่วนในฤดูร้อน หนักทางยาฆ่าแมลง และฤดูฝนหนักทางยากำจัดเชื้อรา รวมฉีดประมาณ 2-3 ครั้ง ในฤดูร้อนและฤดูฝน
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ปัญหาผลผลิตไม่ได้เกรดในฤดูร้อนและฤดูฝน (หัวไม่สวยเป็นโรค) และยังเน่าเสีย ประมาณ 25% ระหว่างขนส่งจากดอยมายังเชียงใหม่ ควรแนะเลือกพันธุ์ให้เหมาะสม ป้องกันการเสียหายเกิดแก่เกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ เมื่อเห้นว่าได้ราคาต่ำ โดยเฉพาะเมื่อคุณภาพผลผลิตไม่ดี มักไม่ทำการเก็บเกี่ยว หันไปเอาใจใส่พืชอื่นแทน
การตลาด ตลาดกว้างขวาง ราคาที่เกษตรกรได้รับกับราคาขายในตลาดต่างกันมาก  เนื่องจากพืชผลเสียหายระหว่างการขนส่ง เช่น เสียถึง 50% จากเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ราคาในตลาดต่ำสุด ระหว่างธันวาคม-กุมภาพันธ์(10-13 บาท) และสูงสุดระหว่างพฤษภาคม-กรกฎาคม (25-30 บาท) มีเกษตรกรนอกโครงการสนใจที่จะผลิตและจำหน่ายพืชนี้
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช หนอนกระทู้ดำ (Black Cut Worm) และจิ้งหรีด พบในฤดูร้อน (มีนาคม-มิถุนายน) กัดโคนต้นระดับดินทำให้ต้นขาด เกิดหลังย้ายกล้าปลูก ควรกำจัดทันทีเมื่อพบ ป้องกันและแก้ไขโดยปล่อยน้ำท่วมแปลงก่อนเตรียมแปลงปลูกใช้ คูมิฟอส (Kumiphos) หรือลอร์สแบน (Lorsban) เมื่อพบหนอน มด และหนู ปรากฏตลอดปี ทำลายช่วงที่เพาะกล้า ใช้เหยื่อคลุกยากำจัดหนู และใช้คูมิฟอสหรือลอร์สแบนฉีด 2-3 ครั้ง ทุกๆ 5-7 วัน เพื่อควบคุมปัญหามด หนอนกินใบ (Leaf-eating Worm) พบตลอดปีสังเกตได้จากใบถูกหนอนแทะเป็นรู ใช้อโซดริน (Azodrin) หรือ อโกรนา (Agrona) ทุกๆ 7 วัน เมื่อพืชอายุได้ 25 วันแล้วเมื่อพบการระบาด
โรค โรคใบจุด (Leaf Spot) สาเหตุจากเชื้อรา Carcospora Sp. ระบาดมากในช่วงฤดูฝน สังเกตจากใบเป็นจุดค่อนข้างกลม ขอบแผลสีเข้ม กลางแผลสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ป้องกันได้โดยการกำจัดวัชพืชให้พื้นที่แปลงสะอาด และใช้ดาโคนิน (Daconil) แมนโคเซบ (Mancozeb) ไดเทนเอ็ม 45 (Dithane M-45) ฉีดพ่นป้องกันก่อนเกิดโรค เมื่อพบการระบาด ทุกๆ 7-10 วัน โรคต้นเน่า หัวเน่า (Soft Rot) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ระบาดมากช่วงฤดูฝน สังเกตจากต้นเหี่ยวและลำต้นเน่า ใช้โคแมค (Comac) หรือ คูปราวิท(Copravit) พ่นที่โคนดินทุกๆ สัปดาห์เมื่อมีโรคระบาด
โรคใบไหม้ (Tip Burn) เกิดจากการขาดธาตุอาหารในดินและขาดน้ำ สังเกตจากขอบใบไหม้ บางครั้งเกิดภายในหัว ยังไม่มีสารเคมีป้องกันหรือกำจัดปัญหาโรคนี้อาจช่วยบรรเทาได้โดยการให้น้ำสม่ำเสมอ หรือคลุมดินรักษาความชื้น หรือใช้ปูนขาวช่วย ใส่ในดินเมื่อเตรียมแปลงปลูก และพ่นด้วยแคลเซียมคลอไรด์ เมื่อผักเริ่มจะเข้าหัว
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)
ในแต่ละขั้นตอนการผลิต ต้องการชนิดและปริมาณปัจจัย ดังนี้


การใช้แรงงาน (ต่อฤดูปลูก)


ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงเพาะกล้า ขุดเตรียมดิน ทิ้งให้แห้ง 2 สัปดาห์ หว่านปูนขาว ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกผสมกัน ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ขีดร่องเพาะกล้าห่าง 10 ซม. ลึก 0.5-1 ซม. หยอดเมล็ดห่างกัน 1 ซม. แล้วกลบเมล็ด โรยฟูราดาน ป้องกันแมลง พ่นยาคูมิฟอส ป้องกันมด คลุมฟางหรือผ้าเพียง 2 คืน (นานกว่านั้นกล้าจะอ่อนแอและเสียรูป) ช่วงฤดูฝน คลุมด้วยตาข่ายพลาสติคป้องกันฝน ให้น้ำ 2 ครั้งต่อวัน เมื่อย้ายกล้า รดน้ำก่อน 1 ชั่วโมง ใช้เครื่องมือช่วยแซะ ระวังอย่ากระทบกระเทือนราก
ข้อควรระวัง
1. อย่าหยอดเมล็ดมากเกินไป
2. ฤดูร้อนกลบเมล็ดด้วยดินหนา 0.5 ซม. รักษาความชื้นฤดูฝนไม่จำเป็นต้องกลบเมล็ด
3. อย่าเพาะกล้าใต้ร่มเงา แปลงกล้าควรรับแสงแดดเพียงพอ
ช่วงปลูก ขุดดินตากไว้ 4 สัปดาห์ ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-15-15 ปุ๋ยคอก ฟูราดาน และ โบแรกซ์ผสมกัน รองพื้น รดน้ำให้ชุ่ม ย้ายกล้าอายุ 25-30 วัน ระยะปลูก 40×40 ซม. ในฤดูร้อน และ 50×50 ซม.ในฤดูฝน (ห่างกว่าเพื่อป้องกันโรคระบาด)
ถ้าเป็นการปลูกโดยไม่ใช้กล้า หยอดเมล็ด 5-10 เมล็ด หลุมลึก 0.5 ซม. แล้วกลบ
หลังปลูก ใช้ยาคูมิฟอส หรือ แลนเนท ผสมน้ำรด ในช่วงหนอนกระทู้ดำและจิ้งหรีด อาจระบาดตอนต้นฤดูฝน (เม.ย.-มิ.ย.)
ข้อควรระวัง
1. อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึก น้ำอาจขัง ทำให้ผักเน่าเสียหาย
2. อย่าเหยียบหลังแปลง ทำให้ดินแน่น พืชไม่เติบโต
3. ปลูกถี่ในฤดูร้อน ปลูกห่างในฤดูฝนให้อากาศถ่ายเทดี ไม่เป็นโรคง่าย
4. กล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
ช่วงดูแลรักษา หลังปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสม 15-15-15 อย่างละครึ่ง พร้อมกับกำจัดวัชพืช และหลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืชอีก ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย ½ ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ ในฤดูฝน พ่นยาฆ่าแมลง เมื่อผักเริ่มห่อหัว (ราว 25 วันหลังย้ายปลูก) เมื่อโรคและแมลงระบาด ให้พ่นสารเคมี ควรรดน้ำวันเว้นวัน ถ้าปลูกโดยหยอดเมล็ดโดยตรง ควรถอนต้นที่ไม่ต้องการทิ้ง หรือถอนกล้าบางส่วนไปย้ายปลูกเมื่ออายุ 4 สัปดาห์
ข้อควรระวัง
1. การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบกระเทือนต้นหรือราก
2. ฤดูร้อนไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี เมื่อเกิน 25 วันหลังย้ายปลูก ยกเว้นไนโตรเจน
ช่วงเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 40-45 วันหลังปลูก ใช้หลังมือกดดูถ้าหัวแน่นก็เก็บได้ ใช้มีดตัดโดยทิ้งใบนอก 5-6 ใบพร้อมราก หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียก ควรเก็บเกี่ยว ตอนบ่ายหรือค่ำก่อนส่งไปตลาด ผึ่งลมในที่ร่ม รุ่งขึ้นคัดเกรด ป้ายปูนแดงหรือรอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคสู่หัว อย่าล้างผัก บรรจุใส่เข่งหรือกล่องกระดาษ
ข้อควรระวัง
1. ฤดูฝนเก็บเกี่ยว King Crown  ก่อนผักโตเต็มที่ 2-3 วัน เพราะเน่าง่าย
2. หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวเมื่อเปียก
3. อย่าบรรจุหีบห่อข้ามคืน พืชจะเสียหาย
4. งดให้น้ำ 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว
5. กำจัดหรือฝังเศษเหลือของพืชในแปลงปลูก ไม่ให้พืชเน่าเปื่อยและสะสมเชื้อโรคในดิน
ข้อมูลอื่นๆ
1. อย่าปลูกซ้ำพื้นที่เดิม ควรหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว
2. เมื่อพืชอายุแก่จัด จะเน่าและเสียหายเร็ว

ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่