ผักปอดนํ้ามีประโยชน์อย่างไร


พังพวย, แพงพวยนํ้า

ชื่อ
จีนเรียก   กวยกังเล้ง กวยตึ่งเล้ง จุยกิมบ๊วย  จุยจี่  ทัวจุยแง่กัง  Jussiaea  repens Linn.

ลักษณะ
พืชเกิดในน้ำ มักขึ้นตามริมหนองน้ำและคูคันนา เป็นพืชหญ้าขึ้นอยู่หลายปี ใบและต้นมักลอยบนน้ำ ต้นและใบเรียบ ส่วนที่ลอยอยูในน้ำมักเกิดมีเมล็ดกลวงสีขาวพยุงกิ่งใบไว้ ใบรูปเรียบยาว ยาวประมาณหนึ่งนิ้ว ปลายทู่ โคนหนา ขอบใบเรียบ ออกดอกในฤดูร้อน สีขาว แต่ก้านสีเหลืองอ่อน ออกดอกห้ากลีบ มีเมล็ดอยู่กลางดอก

รส
รสจืดฝาดนิดๆ ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานแก้ลม แก้ร้อน ประสะเลือดให้เย็นและแก้พิษ ใช้ภายนอก ถอนพิษระงับบวม ฤทธิ์เข้าปอดและม้าม

รักษา
ลงท้องในฤดูร้อน เป็นหวัดเพราะความร้อน ขัดเบา ปวดฟัน เด็กออกหัด
ใช้ทาแก้ผื่นตามตัวเพราะร้อนใน แก้งูสวัด

ตำราชาวบ้าน
1. ลงท้องเพราะร้อนใน – ผักปอดนํ้า ผักเบี้ยแดง  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มใส่น้ำผึ้ง รับประทาน
2. ร้อนในตัวร้อนคอแห้ง – ผักปอดนํ้า ใบบัวบก อย่างละ 1 ตำลึง ต้มใส่นํ้าผึ้ง รับประทาน
3. ร้อนในขัดเบา – ผักปอดนํ้า 2 ตำลึง ต้มชงกับน้ำผึ้ง รับประทาน
4. ปวดฟัน เพราะร้อนใน -ใช้ผักปอดน้ำ 2 ตำลึง ต้มใส่น้ำตาลแดง รับประทาน
5. เด็กออกหัดตัวร้อนระยะแรก -ใช้ผักปอดน้ำ 2 ตำลึง ต้มกวยแชะ รับประทาน หรือผักปอดน้ำและใบดอกเบญจมาศ (เก็กฮวย) อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำตาลแดง รับประทาน
6. แผลอักเสบตัวร้อน – ผักปอดน้ำ ต้นดอกแก้ว โคกกะออม  ตำด้วยกันแล้วทา
7. แก้งูสวัด – ผักปอดน้ำตำแหลกคั้นน้ำ ใส่น้ำส้มที่ทำจากข้าว แล้วทา

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 1 ถึง 2 ตำลึง แห้งครึ่งตำลึงถึง 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอสมควร

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช