ผักเบี้ยแดงลักษณะในการรักษาโรค


ผักเบี้ยดอกเหลือง  ผักเบี้ยใหญ่

ชื่อ
จีนเรียก    อั่งตือบ่อไฉ่  เล่าชือฮี แบคีห่อย  Portulaca oleracea Linn.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามริมคูน้ำ ที่ชื้น ริมถนน เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเหนียวพอสมควร ดอกเป็นกระจุกติดกับดิน มีน้ำเมือกลื่น  ลำต้นกลม สีแดง ยาวประมาณ 6-7 นิ้ว ใบคู่ หนา รูปไข่ คล้ายหอยเบี้ย หน้าใบสีแดง หลังใบสีเขียว ก้านใบสั้นมาก ออกดอกฤดูร้อนและฤดูฝน ออกดอกทั้งปลายก้านและฐานใบ สีเหลือง กลางวันดอกบาน ตอนบ่ายดอกหุบ

รส
รสเปรี้ยวนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ทำให้ลำไส้เย็น ดับร้อนใน ประสะโลหิต ใช้ภายนอกดับพิษ ดับพอง ฤทธิ์เข้าถึงตับและม้าม

รักษา
บิดแดงบิดขาว อุจจาระเป็นเลือด อุจจาระผูก ริดสีดวงทวาร ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ใช้ภายนอกแก้ผิวหนังเป็นตุ่มเป็นตา เด็กผิวหนังเป็นตุ่มพิษ

ตำราชาวบ้าน
1. บิดขาวบิดแดง – ผักเบี้ยแดง 2 ตำลึง ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดง หรือชงน้ำผึ้ง รับประทานติดต่อกัน 4-5 วัน
2. อุจจาระเลือด – ผักเบี้ยแดง 2 ตำลึง ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดง ถ้าอยาก ถ่ายคล่องต้มกินกับน้ำผึ้ง
3. รีดสีดวงเจ็บพอง – ต้มผักเบี้ยแดงล้าง หรือเอาผักเบี้ยแดง 2 ตำลึง ต้มกับผักเบี้ยขาว   1 ตำลึง รับประทาน ถ้าถ่ายเป็นเลือด เติมดอกฝ้าย  3 ดอก
4. อาเจียนเป็นโลหิต ไอเป็นเลือด – ผักเบี้ยแดง 2 ตำลึง ตำเอาน้ำ ตุ๋นกับน้ำตาลกรวด รับประทาน
5. ผิวหนังเป็นตุ่มเป็นตา – ต้มผักเบี้ยแดงกับเนื้อสันหมู กินบ่อยๆ
6. เด็กผิวหนังเป็นตุ่มพิษ – เอาผักเบี้ยแดงและหูปลาช่อน ตำด้วยกันใส่น้ำตาลแดง พอกทา หรือเพิ่ม สายน้ำผึ้ง อีก 1 ตำลึง ต้มด้วยกัน ชงน้ำผึ้ง รับประทาน

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 1-3 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอสมควร

ข้อควรรู้
ไฟธาตุกระเพาะลำไส้อ่อนและหญิงมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช