ผักเผ็ด


ผักคราดหัวแหวน

ชื่อ
จีนเรียก     อึ้งฮวยเกี้ย  ฉิกชุ่งกิม เชยแอทุ้ย Hypericun japonicum Thunb.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามทุ่งนา ริมทาง ริมคูนํ้าและที่ลุ่ม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสีเขียว มักขึ้นตั้งตรงแต่ไม่แข็ง ต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม สูง 4-5 หุน ใบคู่ รูปกลมรียาว 2-3 หุน ใบขึ้นจากต้นโดยตรงไม่มีก้านใบ มีเอ็นใบ 3 เส้นเห็นชัด ออกดอกสีขาวในฤดูร้อนเข้าฤดูฝน ดอกแตกเป็น 5 กลีบ ก้านเกสรตัวผู้หลายตัว ตัวเมียตัวเดียว ออกลูกเม็ดกลมรูปไข่

รส
ขมเฝื่อนนิดๆ มีกลิ่นหอม ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถใช้แก้ร้อนใน ขับลมกระจายความแน่นคัด ใช้ภายนอกดับพิษ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงตับและม้าม

รักษา
ฟกช้ำภายในทรวงอกสีข้างปวดช้ำ ตับอักเสบ ดีซ่าน เป็นบิด เด็กเป็น
ตาลขโมย ปวดท้องหลังคลอด งูกัด

ตำราชาวบ้าน
1. ทรวงอกสีข้างเจ็บปวดเนื่องจากถูกของแข็ง – ผักคราดหัวแหวน 1 ตำลึง ตำแหลกเอานํ้าผสมเหล้ารับประทาน หรือต้มแล้วชงเหล้ารับประทาน
2. สีข้างเจ็บปวด – ผักคราดหัวแหวนกับเถาใบหอย  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน
3. ตับอักเสบ ดีซ่าน – ผักคราดหัวแหวน เฟินเงิน อย่างละ 1 ตำลึง ต้มกินวันละ 2 ครั้ง
4. เด็กเป็นตาลขโมย – ผักคราดหัวแหวน 1 ตำลึง ตำเอานํ้าชงนํ้าผึ้ง รับประทาน
5. งูกัด -ผักคราดหัวแหวน หญ้าดอกตูบ  ทับทิมนา  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มด้วยกันเอานํ้าชงรับประทาน ส่วนกากใช้พอก
6. ปวดท้องหลังคลอด – ผักคราดหัวแหวน 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมู ชงเหล้ารับประทาน

ปริมาณใช้
สดทั้งต้นไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช