ผักโขมขาวรักษาโรค


ผักโขมหนาม
ชื่อ
จีนเรียก   แปะซี่ห่อย  แกห่อย Amaranthus spinosus Linn.

ลักษณะ
พืชประเภทผักขม ชอบขึ้นในสวนทั่วไป เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 1-2 ฟุต ลำต้นกลมเรียบขึ้นตรง ใบคู่ รูปไข่ ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ปลายใบ ค่อนข้างป้าน ส่วนบนใบเรียบแหลม ขอบใบรูปคลื่น มีก้านยาวพอสมควร ออกดอกฤดูร้อนถึงฤดูฝน ดอกเกิดจากปลายก้านบางทีก็ออกตามฐานใบ เป็นรูปคล้ายรวงข้าว ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว เต็มไปด้วยดอกเล็กสีขาว ส่วนเมล็ดเล็กสีดำ

รส
ขมเฝื่อนนิดๆ ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานทำให้สำไส้เย็น แก้บิด แก้พิษ ใช้ภายนอกแก้คัน แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงลำไส้ใหญ่

รักษา
รักษาบิดมูก บิดเลือดได้ผลดี ลงท้อง ริดสีดวงเลือด กิ่งและใบใช้รักษา
โรคผิวหนังเกี่ยวกับตุ่มฝีพุพอง ผื่นพิษ ริดสีดวงทวารเจ็บ รำมะนาด ไซนัส

ตำราชาวบ้าน
1. ลงดำลงแดงบิดเลือด – หัวผักโขมขาว 2 ตำลึง ต้มน้ำใส่น้ำผึ้งรับประทาน หรือต้มใส่น้ำตาลแดง
2. บิดเลือด – หัวผักโขมขาวและว่านกาบหอย  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำชงน้ำผึ้งรับประทาน
3. ลงท้อง – หัวผักโขมขาวและหญ้าขัดมอนอย่างละ 2 ตำลึง ต้มน้ำใส่ นํ้าตาลแดงรับประทาน
4. ริดสีดวงเลือด – หัวผักโขมขาว 2 ตำลึง ต้มน้ำใส่นํ้าตาลแดงรับประทาน หรือหัวผักโขมขาวและเซี่ยติ่งเท้า อย่างละ 1 ตำลึง ต้มกินกับน้ำผึ้ง หรือหัวผักโขมขาว 1 ตำลึงต้มกับผักเบี้ยแดง 2 ตำลึง ชงน้ำผึ้งหรือนํ้าตาลแดงรับประทาน
5. ผิวหนังเป็นตุ่มฝีพุพองบวม – ตำหัวผักโขมขาวแล้วพอก
6. เป็นผื่นพิษคัน – ต้มผักโขมขาว ใช้น้ำล้าง
7. ริดสีดวงทวารเจ็บ – ผักโขมขาวต้ม ใช้ไอรมหรือนั่งแช่ หรือต้มกับ หญ้าฮ่อมเกี่ยว อย่างละ 2 ตำลึง ใส่สารส้ม 3 เฉียนแล้วล้าง
8. รำมะนาด ไซนัส – ใช้กิ่งผักโขมขาวเผาจนเป็นเถ้า ผสมน้ำแล้วทา

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 2 ตำลึง ใช้ภายนอกทั้งต้นหรือกิ่งใบกะพอสมควร

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช