ผีเสื้อนํ้า


รุกกุนิงตาหน่อ

ชื่อ
จีนเรียก   แบเต้ยเฮียง  ตั้งจี่เช่า  ซัวตี่เต่า  Desmodium styracifolium (Osb.) Merr.

ลักษณะ
พืชประเภทตระกูลถั่ว เกิดในที่แจ้งกลางทุ่ง เป็นพืชยืนต้น ต้นกลม โดยมากขึ้นเลื้อยตามดิน ยาวประมาณ  3  ฟุต ลำต้นมีขนเหลือง ใบคู่รูปกลมคล้ายพัดใบลาน บางทีมีใบ 3 ใบขึ้นพร้อมกัน ขอบใบเรียบ หลังใบมีขนขาวแต่หน้าใบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 5-6 หุน ออกดอก หน้าร้อน ดอกรูปปีกผีเสื้อสีม่วง ออกลูกเป็นฝัก

รส
ขมฝาดนิดๆ กลิ่นหอม ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ไล่ลม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ฤทธิ์เข้าถึงลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ

รักษา
นิ่วทราย ขัดเบา ปัสสาวะเลือด บวมนํ้า ลมขึ้นเบื้องสูงปวดศีรษะ ปวด
กระเพาะ ปวดเมื่อยเนื่องจากโรคเก่ากำเริบ

ตำราชาวบ้าน
1. นิ่วทราย – ผีเสื้อนํ้า 1-4 ตำลึง ต้มนํ้าหรือชงน้ำผึ้งรับประทาน หรือต้มกับกวยแชะหรือต้มกับดอกฝ้าย 2 ตำลึง
2.  ปัสสาวะขัด – ผีเสื้อน้ำ 1 ตำลึง ต้มน้ำ
3. ปัสสาวะเลือด- ผีเสื้อน้ำ รากหญ้าคาสด อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำ
4. บวมน้ำ – ผีเสื้อน้ำ องุ่นป่า แปะหมิ่งหง อย่างละครึ่งตำลึง ต้มน้ำ
5. ปวดหัวต้วร้อนเนื่องจากหวัด – ผีเสื้อน้ำ ขี้หนอนเถา อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำตาลทรายแดง
6. ไอเนื่องจากลมร้อน – ผีเสื้อน้ำ 1 ตำลึง ต้มปอดหมู
7. ปวดกระเพาะเนื่องด้วยลมแน่น – ผีเสื้อน้ำ เสือสามขา  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำชงกับเหล้า
8. ปวดเมื่อยเนื่องด้วยโรคเก่า – ผีเสื้อน้ำ 1 ตำลึง ต้มชงเหล้ารับประทาน

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 4 ตำลึง แห้งไม่เกิน 2 ตำลึง

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช