พญาปล้องทอง

พญาปล้องทอง

สมุนไพรแก้อักเสบ เฉพาะที่ แก้แมลงสัตว์กัดต่อย

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ พญายอ เสลดพังพอนตัวเมีย ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องดำ ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง

ชื่ออังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans Lind.

วงศ์ Acanthaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พญาปล้องทองเป็นไม้พุ่มแกมเถา สำต้นกลมเรียบ สีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม ใบยาวเรียว ปลายแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นรอยหยักเล็กน้อย เนื้อในบางมีขนนุ่มตามเส้นใบ ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ออกดอกยาก แต่ละช่อมี 3-6 ดอก กลีบดอกสีแดงส้ม ดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ผลเป็นฝักมี 4 เมล็ด

การปลูก

พญาปล้องทองเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ปลูกโดยใช้ลำต้น

ปักชำ โดยตัดกิ่งยาว 1-2 คืบ ปักชำให้ออกรากดีแล้วย้ายลงไปปลูกในแปลง ดูแลรักษาเช่นเดียวกับพืชทั่วไป

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา

เก็บใบที่สมบูรณ์ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป

สารสำคัญ ใบพญาปล้องทอง มีสารจำพวกฟลาโวนอยด์ (flavo-

noid) เป็นส่วนประกอบ

ประโยชน์ในการรักษา

1. ใช้บรรเทาอาการอักเสบ ปวดบวมจากพิษแมลงกัดต่อย และพิษของพืชบางชนิด (อาการอักเสบที่ไม่มีไข้)

วิธีใช้

ใช้ใบสด 10 – 15 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมเหล้า ขาวพอชุ่ม ใช้น้ำและกากพอกบริเวณที่บวมหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย

2. ใช้แก้แผลไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก

วิธีใช้

ใช้ใบสดตำ เคี่ยวกับนํ้ามันมะพร้าวหรือนํ้ามันงา เอากากพอกแผลที่ถูกนํ้าร้อนลวก หรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง

3. ใช้บรรเทาอาการอักเสบที่เกิดจากเริม และงูสวัด และช่วย ให้เริมหายเร็วขึ้น ปัจจุบันได้มีผู้เตรียมครีมของสารสกัดจากใบพญาปล้องทอง เพื่อใช้รักษาเริมและงูสวัด ใช้ได้ผลดี

วิธีใช้

ใช้เช่นเดียวกับการใช้บรรเทาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัด

ต่อย