พญาสัตบรรณมีประโยชน์อย่างไร


ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris R. Br.
ชื่ออื่นๆ สัตบรรณ (กลาง เขมร-จันทบุรี) กะโน้ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) จะบัน(เขมร-ปราจีนบุรี) ชบา ตีนเป็ด ตีนเป็ดเจ็ดง่าม (กลาง) ตีนเป็ดขาว (ยะลา) บะซา ปูลา ปูแล (มลายู ปัตตานี) ยางขาว (ลำปาง) หัสบรรณ (กาญจนบุรี)
ชื่ออังกฤษ Dita, Devil Tree, White Cheesewood, Blackboard Tree, Devil’s Bark.
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงกว่า 30 เมตร ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทาดำ มีนํ้ายางสีขาวเหมือนนํ้านมทุกๆ ส่วน กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยวออกรอบข้อ 5-8 ใบ แต่ละใบย่อยรูปไข่กลมยาว ปลายใบมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย เส้นใบถี่ขนานกัน ใบกว้าง 4-6 ซ.ม.ยาว 7-15 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ก้านของช่อดอกยาว 5-10 ซ.ม. แตกกิ่งช่อดอกออกรอบๆ ข้อ 5-8 ช่อ ก้านของช่อดอกนี้จะยาวเกือบเท่ากัน แลซ้อนกันเหมือนฉัตร 2-3 ชั้น ช่อดอกจึงใหญ่มาก ดอกแต่ละดอกเล็ก กลีบรองกลีบดอกขนาดเล็กมี 5 กลีบ มีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลืองนวล โคนเป็นหลอดปลายแยก 5 กลิ่น หอมหวาน จนเวียนศีรษะ ผลเป็นฝัก ออกเป็นคู่ๆ รูปร่าง ขนาด เหมือนถั่วฝักยาว กว้าง 2.5-3.5 ม.ม. ยาว 25-30 ซ.ม. ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเมื่อฝักแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปแบนๆ ยาวประมาณ 1 ซ.ม. ปลายทั้งสองข้างมีขนสีนวลเป็นกระจุก
ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น
สารสำคัญ ในเปลือกมีอัลคาลอยด์ unsaturated lactones, 2-deoxysugar, steroidal nucleus, saponin และ flavonols. นักวิทยาคาสตร์ได้ทำการวิจัย สรุปผลว่าพบอัลคาลอยด์จากเปลือกต้นพญาสัตบรรณ
a. The akuammicine group.
b. 4-akuammigine, picrinine, picralinal.
c. Echitamine and Nb-dimethylechitamine.
d. Akuammidine.
ประโยชน์ทางยา ยาขมเจริญอาหาร แกไข้ หลอดลมอักเสบ แก้บิด
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ