พังกาหัวสุมดอกขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Bruguiera sexangula Poir.
ชื่อวงศ์ RHIZ0PH0RACEAE
ชื่ออื่น ขลัก (ชุมพร). พังกาหัวสุม (กระบี่, ตรัง) ประสักขาว, ประสักหนู
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. โคนต้นมีพูพอนสูง รากหายใจรูปคล้ายเข่า มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้ง เหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง เปลือกต้นสีเทาเข้มถึงสีนํ้าตาลอมเทา ผิวเปลือกหยาบเป็นสะเก็ด แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่มีน้อย มีเฉพาะที่พูพอน


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน แกมรูปรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-16 ซม. ปลายใบและฐานใบแหลม เส้นใบ 7-11 คู่ ก้านใบยาว 1-5 ซม. หูใบยาว 4-10 ซม. สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียว
ดอก สีเหลืองอมเขียวหรือสีขาว ออกดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ยาว 2.3-4 ซม. ก้านดอกยาว 0.6-1.5 ซม. สีเขียว กลีบเลี้ยง 10-12 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอมเหลือง หรือเขียวอมชมพู หลอดกลีบเลี้ยง ยาว 1-1.5 ซม. มีสัน กลีบดอกยาว 1-1.5 ซม. ขอบกลีบมีขน


ผล ผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น รูปคล้ายลูกข่าง ยาว 2-3 ซม. ผิวเรียบ ลำต้นใต้ใบเลี้ยง หรือ ฝัก รูปซิการ์กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียว มีเหลี่ยมเล็กน้อย โคนสอบทู่ ออกดอกและติดผลเกือบตลอดทั้งปี
นิเวศวิทยา พบมากในเขตป่าชายเลน ที่มีความเค็มของน้ำค่อนข้างตํ่า
การใช้ประโยชน์ ใบ หน่อ ใช้บริโภคเป็นอาหาร
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย