พังแหรใหญ่

(Peach Cedar)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trema orientalis (L.) Blume
ชื่อวงศ์ ULMACEAE
ชื่ออื่น ปอหู ปอแหก ปกแฮก (เหนือ) ตะคาย (กลาง), ตายไม่ทันเฒ่า, พังแกรใหญ่ (ยะลา). พังแหร (แพร่)
ลักษณะทั่วไป ไม้ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 4-10 ม.
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมหัวใจกว้าง 3-5 ซม. ยาว 8-10 ซม. โคนใบเบี้ยว สองข้างไม่เท่ากัน ผิวใบสากคาย


ดอก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบรวมสีเขียวอ่อน
ผล ผลเมล็ดเดียวแข็งและกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.4 ซม. เมื่อสุกสีดำ
นิเวศวิทยา เป็นไม้เบิกนำ พบตามที่โล่งแจ้ง และตามชายป่าดงดิบ ที่ระดับความสูง 600-1,500 ม.
การใช้ประโยชน์ ไม้ใช้ในการสร้างโรงเรือนขนาดเล็กที่ไม่ต้องการ ความแข็งแรงมากนัก ใช้ทำอุปกรณ์ในทางเกษตร
ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือกต้น เคี้ยวอมไว้นาน 30 นาที แก้ปากเปื่อย แก่นหรือราก ฝนนํ้ากินเป็นยาเย็นแก้ร้อนในกระหายนํ้า
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย